15 ก.ค. 2021 เวลา 02:50 • สุขภาพ
รู้จัก FUBITAI วัคซีนจีน ที่ผลิตด้วย เทคโนโลยี mRNA
2
ช่วงที่ผ่านมา วัคซีนแบบ mRNA ซึ่งเป็นวัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ กำลังเป็นที่พูดถึงและเป็นที่ต้องการกันมากขึ้น
1
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะมีหลายการศึกษาที่ชี้ว่า วัคซีนแบบ mRNA มีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์ใหม่ ๆ ได้ดีกว่า วัคซีนแบบเชื้อตาย (Inactive Virus Vaccine)
2
และหากเราพูดถึงวัคซีนจากจีน แน่นอนว่าหลายคนจะนึกถึง วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อตายของไวรัส อย่างเช่น Sinovac ที่คนไทยรู้จักกันดี
1
แต่ถ้าถามว่า จีน มีวัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี mRNA ไหม ?
คำตอบก็คือ “มี” ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ วัคซีนที่ชื่อว่า “FUBITAI” ที่เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงยังไม่เคยได้ยินชื่อวัคซีนตัวนี้
1
รายละเอียดของเรื่องนี้เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
1
ถ้าให้แบ่งประเภทของวัคซีนคร่าว ๆ เราก็จะแบ่งได้เป็นหลายรูปแบบ คือ
แบบแรก คือวัคซีนที่ผลิตโดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่เรียกกันว่า mRNA
โดยวัคซีนประเภทนี้ เมื่อฉีดวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย จะสั่งการให้เซลล์ร่างกายผลิตหนามโปรตีนที่ใกล้เคียงกับไวรัสขึ้นมา ตามข้อมูลสารพันธุกรรม mRNA ของเชื้อโควิด 19
2
และโปรตีนที่ผลิตในส่วนนี้เอง จะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Antigen) ให้ร่างกายรู้จักกับเชื้อโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกัน (Antibody) เพื่อมาต่อสู้กับเชื้อไวรัส
1
โดยวัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีแบบนี้ ก็อย่างเช่น Pfizer-BioNTech (หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า Pfizer) และ Moderna
2
แบบที่สอง คือวัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีแบบเก่าหรือแบบดั้งเดิม โดยการอาศัยการนำเชื้อไวรัสมาเพาะเลี้ยงให้โต แล้วทำให้ตายด้วยอุณหภูมิสูง แล้วนำมาพัฒนาเป็นวัคซีน
1
วัคซีนในกลุ่มนี้ก็อย่างเช่น Sinovac ที่คนไทยคุ้นเคยกันดี
นอกจาก 2 ประเภทนี้แล้ว ก็ยังมีวัคซีนประเภทอื่นอีก เช่น วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral Vector) คือตัดต่อสารพันธุกรรมที่จะสร้างเป็นโปรตีนหนามให้ไวรัสอีกชนิดเพื่อนำเข้าสู่ร่างกาย
วัคซีนในกลุ่มนี้ก็อย่างเช่น AstraZeneca
ซึ่งถ้าพูดถึงวัคซีนที่วิจัยและผลิตขึ้นในจีน เราก็จะรู้กันดีว่า วัคซีนหลัก ๆ อย่าง Sinovac และ Sinopharm นั้น อาศัยเทคโนโลยีใช้เชื้อตายมาพัฒนาเป็นวัคซีน
1
อย่างไรก็ตาม ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2020 หลังโควิด 19 เริ่มระบาดหนัก
Fosun Pharma ซึ่งเป็นบริษัทยาอันดับต้น ๆ ของจีน ได้ร่วมทุนกับบริษัทไบโอเทคสัญชาติเยอรมันชื่อคุ้นหู อย่าง “BioNTech”
ซึ่ง BioNTech ก็คือ บริษัทที่ไปร่วมทุนวิจัยและผลิตวัคซีนป้องกันโควิด 19 กับบริษัท Pfizer จากสหรัฐอเมริกา จนกลายเป็นวัคซีน Pfizer-BioNTech หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่าวัคซีน Pfizer นั่นเอง
4
การร่วมทุนครั้งนี้ ใช้งบประมาณกว่า 4,300 ล้านบาท เพื่อทำการวิจัยผลิตวัคซีนต้านโควิด 19 แบบใช้เทคโนโลยีสารพันธุกรรม mRNA
2
สิ่งที่บริษัท Fosun Pharma ได้รับจากการลงทุนในครั้งนี้คือ วัคซีนชนิด mRNA ที่ผลิตโดย BioNTech ที่มีชื่อทางการว่า “BNT162b2” หรือชื่อภาษาจีนคือ “FUBITAI” จำนวนขั้นตํ่า 100 ล้านโดส
โดยได้มีการจัดสรรบางส่วนให้กับเกาะฮ่องกงไปแล้วเป็นการเร่งด่วน ในช่วงเดือนมีนาคม 2021
3
ที่น่าสนใจก็คือ Fosun Pharma จะสามารถทำการผลิตและจัดจำหน่ายวัคซีนในประเทศจีนได้ ภายในสิ้นปีนี้
โดยมีการตั้งโรงงานผลิตวัคซีนชนิดนี้ ที่เขตจินซาน ในนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งคาดว่าจะมีกำลังการผลิตมากกว่า 1,000 ล้านโดสต่อปี
4
ท่ามกลางสถานการณ์การกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด 19 ที่ส่งผลให้วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีผลิตแบบอาศัยเชื้อตาย เริ่มอ่อนประสิทธิภาพลง
เรียกได้ว่า FUBITAI ก็ได้กลายเป็นหนึ่งวัคซีนความหวังของจีน ในการช่วยแก้ปัญหาการระบาดของโควิด 19 ในอนาคต
1
ทั้งนี้เมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เกิดการระบาดของโควิด 19 ที่เมืองกวางโจว ซึ่งทางการจีนก็สันนิษฐานว่า อาจเป็นการระบาดของโควิด 19 สายพันธุ์เดลตา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่จะส่งผลให้วัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีแบบเก่า อย่าง Sinovac และ Sinopharm ด้อยประสิทธิภาพลงไปมาก
1
Cr.techsauce
ตั้งแต่ปลายปี 2020 ที่ผ่านมาทางรัฐบาลจีนใช้วัคซีน Sinopharm และ Sinovac ระดมฉีดให้กับคนในประเทศ โดยบริษัทที่ผลิตวัคซีนทั้งสองตัวมีกำลังการผลิตประมาณ 2,000 ล้านโดสต่อปี
2
ข้อมูลล่าสุดจาก Chinese National Health Commission ระบุว่า ณ สิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จำนวนปัจจุบันของประชากรจีนที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว อยู่ที่ประมาณ 630 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 45% ของจำนวนประชากรในประเทศ
1
และมีการวางแผนภายในปี 2021 จะต้องให้ประชากรจีนฉีดวัคซีนครบทั้งสองเข็ม ให้ได้มากกว่า 1,000 ล้านคน หรือมากกว่า 70% ของประชากร
1
และมีแผนต่อไปว่า ประชาชนจะได้รับวัคซีนแบบ mRNA จากโรงงานของ Fosun Pharma เป็นเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต่อสู้กับเชื้อไวรัสที่กลายพันธุ์
3
สำหรับวัคซีนของ Sinovac และ Sinopharm นั้น
เมื่อคนจีนได้รับการฉีดจนมากเพียงพอแล้ว
จีนก็จะทยอยส่งออกไปให้กับประเทศต่าง ๆ ที่ยังขาดแคลนหรือมีความต้องการเพิ่มอย่างเร่งด่วน
ซึ่งก็จะถือเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ในทางอ้อมด้วยนั่นเอง
4
ส่วน FUBITAI วัคซีนจีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ก็น่าสนใจติดตามต่อไปเหมือนกันว่า จะมีผลการทดสอบประสิทธิภาพออกมาชัด ๆ เป็นอย่างไร
และจะดีพอ ๆ กับ วัคซีน mRNA ชื่อดังอย่าง Pfizer หรือ Moderna หรือไม่..
โฆษณา