15 ก.ค. 2021 เวลา 09:08 • ไลฟ์สไตล์
ทฤษฎีซาเทียร์
1
ประสบการณ์การเรียน Satir model 3 วัน กับ เสมสิขาลัย
Satir model ทฤษฎีของ virginia Satir เป็นศาสตร์ของการพัฒนาตนเอง เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น โดยมี Iceberge แบ่งเป็นชั้น เพื่อใช้เป็นแผนที่ตามหาขุมทรัพย์ yearning/self ใต้ภูเขาน้ำแข็ง
การเรียนการสอนของเสมสิขาลัย ทำเป็นกิจกรรมกลุ่ม มีกระบวนกร อ.แอน อ.น้อง คอยถ่ายทอดความรู้ และทำ กิจกรรมเป็นช่วงๆ
ขอแบ่งเป็น 3 part
1. Set goal,หาข้อดีของตัวเอง
2. เรียนรู้ ทฤษทีซาเทียร์ Iceberge การนำไปใช้
3. Coping การรับมือของแต่ละสถานการณ์
ใดๆคือไม่ได้ โลกสวย ทุกอย่าง base ตามเหตุและผล และพัฒนาตัวเองหาทางเลือกที่ดีกว่า เพื่อผลลัพธ์ ที่ win - win
Part 1
1.1 กระบวนกรให้เรา set เป้าหมายของการเข้ากิจกรรมครั้งนี้ ลอง set เล่นๆดูก็ได้น้า
>>ตอนนั้นเราตั้งไว้ว่า เอามาใช้จัดการอารมณ์ตัวเองได้ ใช้แก้ปัญหาสุขภาพในชุมชน และนำมาเผยแพร่ความรู้ต่อ
1.2 ชอบอะไรในตัวเอง 10 อย่าง
ลอง list เป็นของตัวเองดูนะ เอานามธรรม ไม่เอารูปธรรม( สวย หล่อ รวยงี้ ) จากนั้นก็ให้เดินแลกเปลี่ยนกับเพื่อนใน class
นึกข้อดีในตัวเองออกมั้ยคะ เดี๋ยวเราลองมาเทียบกันนะ
ของเราชอบตัวเองที่ : active , มี growth mindset, กตัญญู, ซื่อสัตย์, รักครอบครัว, ชอบออกกำลังกาย, มีน้ำใจ, ใจอภัยตัวเองได้, มีความรับผิดชอบ
ผลคือ มีอะไร หลายๆอย่าง ที่เราคิดข้อดีในตัวเองไม่ออก แต่พอแชร์กับเพื่อน พบว่าจริงๆแล้ว เราก็มีอะไรดีๆ หลายๆอย่างแบบเพื่อน แต่เรามองข้ามไป เราjudge ตัวเอง กดดัน/เฆี่ยนตีตัวเองแบบไม่ได้ตั้งใจ
= เรามีความดีพื้นฐานไม่ได้ต่างกัน
=>> อย่าดูถูกตัวเอง เรามีดี เราจึงยังสามารถทำให้ตัวเองมีลมหายใจอยู่ได้จนทุกวันนี้
1.3 กระบวนการซาเทียร์ ไว้ใช้ คลี่คลายปัญหา(ยังไง)
1.3.1 รู้ทันความรู้สึกของตัวเอง
1.3.2 เชื่อมโยงที่มา ของปัญหา และเหตุการณ์
1.3.3. ทุกอย่างที่เกิดในชีวิต เราเป็นผู้รับผิดชอบชีวิตตัวเอง เพราะใจ(จิต)อยู่ในตัวเราเอง อารมณ์ที่เกิดเราจึงต้องเป็นคนรับผิดชอบเอง เราเลือกได้ทั้งอารมณ์ การกระทำ คำพูด ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง
เค้าโกรธ/ด่าเรา ลองวิเคราะห์ตัวเองก่อน ถ้าผิดก็ยอมรับผิดและแก้ไขตัวเอง แต่ถ้าเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง ก็ปล่อยผ่าน ทำตัวเองให้ดีขึ้น เค้าโกรธ/ด่าเรา ก็เรื่องของเค้า ไม่ได้เกี่ยวกับเราแล้ว
เปลี่ยนใจตัวเองง่ายกว่า เปลี่ยนคนอื่น>>ยาก
1.3.4.หาวิธีเพิ่มพลังบวกให้ตัวเอง ลงถึง ความต้องการที่แท้จริง(yearning) ตัวเราเอง (self)
1.3.5 ลงมือทำ พัฒนาตัวเอง ตรวจสอบตัวเอง บ่อยๆ
Part 2
2.1 ว่าด้วยการเกิด ของมนุษย์ เกิด 3 ครั้ง
-1. เกิดจาก EGG +SPERM
-2. คลอดจากครรภ์มารดา
-3. เกิดเป็นตัวของเราเอง ที่เลือกและรับผิดชอบที่คำพูด การกระทำ ความรู้สึกตัวเอง
2.2 เป้าหมายหลักของการเปลี่ยนแปลง
-1. เพื่อการมีตัวเองเป็นที่พึ่งมากขึ้น ตาม อายุ
ภาพ กราฟ น้อยๆ ความรับผิดชอบในตัวเราเอง
แกน x >>เวลา อายุ แกน Y>> ภาระงานความรับผิดชอบ
โดยธรรมชาติ เมื่อเราโตขึ้น เรามีความสามารถมากขึ้น เราจะรับผิดชอบชีวิตตัวเองมากขึ้น บทบาทของพ่อแม่/ผู้ปกครอง ที่เคยดูเองรับผิดชอบตัวเรา จะลดลง
ในกรณีที่ พ่อแม่ ไม่ปล่อย ยังดูแลเท่าเดิม serve ให้ เหมือนๆเดิม อาจจะทำให้เกิดปัญหา เช่น เราอาจอึดอัด เราอาจทำอะไรเองไม่เป็นในสิ่งที่วัยนั้นควรทำได้
อีกตัวอย่าง ถ้ายังยึดติดกับความเป็นเด็ก ที่ต้องมีพ่อแม่คอยโอ๋ อาจจะทำให้เราหงุดหงิดพ่อแม่ ประชด โดยไม่พูดความต้องการที่แท้จริง ไปซะงั้น
ความเห็นส่วนตัว จริงๆ เราโตมากับความสามารถในการสื่อสาร การใช้ภาษา อะไรที่เราอยากได้ ต้องการ เราควรพูดออกมา อย่างน้อยจะได้รู้ว่าฝ่ายตรงข้าม serve เราได้หรือไม่ได้
-2.เพื่อเลือกสิ่งที่ดีกว่าให้ตัวเอง
รักตัวเอง ไม่ได้เท่ากับ เห็นแก่ตัว >>คนละเรื่องกัน
การเลือก ทิ้ง ปรับ เก็บ คืน ทุกอย่างในชีวิต เป็นหน้าที่ของเราที่จะทำให้ตัวเอง เช่น การเลือกอาหารที่มีประโยชน์ เลือกออกกำลังกาย เลือกเก็บ/ทิ้งอารมณ์ให้ตัวเอง อะไรที่ไม่ใช่เรา ก็ทิ้งๆ คืนๆ เค้าไป
-3. รู้วิธีว่าทำอย่างไร จะเติมพลังใจให้ตัวเองไว้ได้
-4. ทำทุกอย่างให้ลงตัว ทั้ง 3 ส่วน
จากภาพในวงกลม มี 3 ส่วน คือตัวเราเอง(self) คนอื่น(other) บริบท(context) ระหว่าง ตัวเรา กับตัวเรา มี intrapsychic,interactive บางทีเรายังทะเลาะกับตัวเองเลย ระหว่างตัวเรา กับคนอื่นๆ/บริบท เชื่อมโยงกันทำให้เกิดประสบการณ์
บางที แค่ฝนตก อากาศเปลี่ยนแปลง ก็ทำให้หงุดหงิดได้
2.3 ทำความรู้จักภูเขาน้ำแข็ง(ซะที) เครื่องมือใช้ตามรู้ใจตัวเอง
จากภาพ
-ท้องฟ้า เมฆเบาๆ คือเรื่องราวต่างๆนานาที่เกิดขึ้น : ในชั้นเราแค่พอรู้เรื่องราวพอ ใคร อะไร ยังไง
-ชั้นภูเขาเหนือน้ำ : คือพฤติกรรม ทั้ง วัจนภาษา(verbal) และอวัจนภาษา(non-verbal) เป็นผลจากกระบวนการ/แรงขับเคลื่อนที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง
ทั้งชั้น intrapsychic(ลูกศรแดง) : feeling, feeling about feeling,perception, expectation
และชั้นuniversal spiritual (ลูกศรเขียว) เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนมีเหมือนๆกัน : Yering ,self
- ชั้นความรู้สึก feeling ทั้งความรู้สึกทางบวกและลบ เป็นตัวบอกสภาวะแห่งใจ เหมือนเป็น alarm เรารู้ตัว มีไว้ให้รู้ ไม่ได้มีไว้ให้เก็บ พอไม่มีสิ่งกระตุ้น ความรู้สึกนั้นก็จะหายไป เกิด ตั้งอยู่ และดับไป
จริงๆทุกความรู้สึกที่เกิดขึ้นมีความหมาย เช่น
กลัว - บอกได้ถึงความไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย
โกรธ - ทำให้รู้ว่า เราถูกล้ำเส้น
ซึมเศร้า ไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นภาวะ/อาการ ปัญหาคือ อะไรที่ทำให้รู้สึกเศร้า อาจเป็นเพราะเรายังติดอยู่ที่ชั้นของการรับรู้ ชั้นความคาดหวัง หรือชั้นพฤติกรรม
- ชั้นความรู้สึกต่อความรู้สึก feeling about feeling เป็นความรู้สึกที่อยู่นาน เช่น กลัวเข็มฉีดยา (feeling) บางคนยังรู้สึก โกรธ!!! ตัวเอง ที่กลัวเข็มฉีดยา (โกรธ > feeling about feeling อยู่นาน ต่อให้เอาเข็มฉีดยาออกไปไกลตา ก็ยังโกรธตัวเองได้อยู่ดี อารมณ์ค้าง)
- ชั้นการรับรู้ ความเชื่อ perception เป็นชั้นที่เราใช้อธิบายเหตุผลให้พฤติกรรมของเรา สิ่งเหล่านี้เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ในอดีตที่ผ่านสัมผัสทั้ง 5 แล้วเก็บไปเป็นประสบการณ์ เอามาใช้กับเหตุการณ์ปัจจุบัน ทฤษฎี ข้อมูล
เช่น ปฏิเสธ แปลว่า ไม่ดี ไม่ได้รับการยอมรับ ไม่มีค่า
หรือ เค้าบอกว่า............... ซึ่ง เค้าเป็นใคร มีตัวตนจริงๆมั้ยไม่มีใครรู้ เค้าอาจจะอยู่มาหลายร้อยปี ซึ่งข้อมูลบางอย่างในอดีตไม่สามารถเอามาตัดสินทุกอย่างที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้
อดีตที่สอนกันบดกล้วยในกินตอนทารกอายุ 3 เดือน คือดี ณ เวลานั้น แต่ตอนนี้มีองค์ความรู้ใหม่แล้ว ข้อมูลเก่าจึงตกไป
บดกล้วยหรือให้อาหารใดๆ นอกจากนมไม่ได้นะคะ เพราะเอนไซม์ในลำไส้ยังไม่พร้อมที่จะย่อยอาหารอย่างอื่นนอกจากนม การกินอาหารอย่างอื่นเข้าไปอาจจะทำให้เด็กเกิดภาวะลำไส้เน่าในทารกได้คร่า(NEC: Necrotizing enterocolitis)
>>>>> บางคนก็แก้ยาก ส่วนตัวคือมองให้เป็นปัจจุบัน มองเหตุผลแวดล้อม สภาพความจริงในปัจจุบัน
- ชั้นความคาดหวัง (expectation) ทั้งอยาก และไม่อยาก กับตัวเอง คนอื่น บริบท คิดว่าคนอื่นคาดหวังกับตัวเรา
เช่น แพทย์ อยากรักษาผู้เบาหวานที่ระดับน้ำตาลไม่ดี ให้ดีขึ้น (คาดหวังว่าต้องดี) จึงแนะนำต่างๆนานา สุดท้ายคนไข้ไม่ดีขึ้น ก็ .ผิดหวัง โกรธ หงุดหงิด (feeling)รู้สึกผิดกับตัวเอง(feeling about feeling) คิดวนในชั้นลูกศรสีแดง จนเกิด พฤติกรรมด่าทอคนไข้ได้ (เห็นภาพตัวเอง)
- ชั้นความต้องการที่แท้จริง (Yerning) เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ที่ทุกคนต้องการเหมือนๆกัน ได้แก่
ความรัก การยอมรับจากตัวเองและคนอื่น ความปลอดภัย ความมั่นคง อิสระของตัวเอง ความสงบสุข คุณค่า ความภูมิใจ
yerning เป็นเชื้อเพลิงพลังบวก สีเขียว ถ้าใจสัมผัสถึง yearning เราจะปล่อยว่างได้มากขึ้น
สำคัญที่เราจะแปลผลพฤติกรรมให้ลงมาถึงชั้นนี้ได้ยังไง >> ฝึกแปลบ่อยๆ
- ชั้นความเป็นตัวตน พลังชวิต self : แหล่งพลังงานสำคัญในการขับเคลื่อนภูเขาน้ำแข็ง (เติมได้) ด้วย self mandala
ชั้น yerning กับ self จะทำงานขับเคลื่อนไปพร้อมๆกัน
ข้อสำคัญของ Satir รู้ทัน เปลี่ยนแปลง ปรับวิธีคิด ตั้งโจทย์ใหม่
Ex: ต้องการเงิน 100 ล้าน เพื่อความั่นคง (perception ว่ารวยมากๆคือมั่นคง)จึงเกิดพฤติกรรมขยัน ทำงานหนักเรื่อยๆ (behavior) ทำให้รู้สึกท้อแท้ เหนื่อย เครียด (feeling เหล่านี้เป็น alarm เตือนว่าสิ่งที่เกิด คือ ไม่โอเค)
แก้โดยตั้งโจทย์ใหม่ : โดยอิงความความเป็นจริง กลับมามองที่ปัจจุบัน ปัจจุบัน มีข้าวกิน มีปัจจัย 4 ครบ ก็สามารถตอบโจทย์ความมั่นคงได้แล้ว(จริงๆเรามีความมั่นคงแล้ว ณ ปัจจุบัน เรายังจะดิ้นรนทุกข์อยู่ ดีแล้วหรอ) ส่วนความมั่นคงในอนาคตเป็นprocess ที่เราจัดทำขึ้นเพิ่มเติม หาความรู้วางแผน รอคอยให้งอกเงย
หลายคนถามหาความหมายของชีวิต ทำให้เหนื่อยล่ากับวนอยู่ในชั้น expect perception feeling
แต่ถ้าตั้งโจทย์ใหม่เป็น ใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความหมาย อาจจะทำให้เห็นคำตอบมากขึ้น
part 2
ภาษารัก มี 5 วิธีสื่อสาร แต่คนมีวิธีอ่าน/รับสารไม่เหมือนกัน ถนัดส่งไม่เหมือนกัน
1.บอกรัก
2.บริการ service คอยรับส่ง หาเงินมาให้ใช้
3.ของขวัญ ของฝาก
4. สัมผัสทางกาย
5.เวลาคุณภาพ (Quality time) เวลาดีๆที่เราได้อยู่กับคนที่เรารัก ถึงไม่พูดก็ดีต่อใจ
เด็ก ภาษารักคือ สัมผัส บอกรัก Quality time
part 3
Coping stance กลไกป้องกันตนเอง /รูปแบบพฤติกรรมที่เจอปัญหา (เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ของเรา)4 แบบ
1. เจ้าเหตุผล super resonable
สนใจแต่ บริบท ไม่มีชั้น ไม่มีเธอ
เป็นท่าทาง 2 คน กอดอกใส่กัน เหมือนจะดี สุดท้ายปัญหาก็ไม่ได้ถูกแก้ไข
1
2. เฉไฉ irrelevant
ไม่สนบริบท ไม่สนชั้น ไม่สนเธอ (บ่สนใจหยัง)
>> จน เครียด กินเหล้า , พรุ่งนี้จะสอบ แต่ยังนั่งเล่นเกม
จริงๆ ลึกๆ คนเหล่านี้ หงุดหงิดตัวเอง แต่แก้ปัญหาไม่ถูกจุด
เราอาจพบเคยพบข่าวดาราตลก ฆ่าตัวตาย
3. ยอมทุกอย่าง (placating)
สนบริบท สนคนอื่น ไม่สนใจตัวเอง
เป็นท่าคนนั่งคุกเข่า ถูกชี้ >> ยิ่งถูกชี้ ยิ่งไม่เห็นค่าตัวเอง ยิ่งเหนื่อย
แก้ โดย กลับมาดูแลตัวเอง ไม่ต้องยอมเว่อ ปฏิเสธบ้างก็ได้ (ไม่มีเราเค้าไม่ตายหรอก)
4.บงการ Blaming ดุ บ่น เสียงดัง ด่า
เป็นท่ายืนชี้ใส่กัน (ใน class ได้ลองทำท่าต่างๆ ยืนชี้นานๆคือ เมื่อย ปัญหาไม่หาย แถมอาจจะอยากปะทะกับคนที่ชี้เราตอบด้วย)
แก้โดย ยอมรับตัวเองให้มากขึ้น
coping ทั้ง 4 ทำเพื่อความอยู่รอด
สุดท้ายเราต้องหาวิธีรับมือที่ลงตัวต่อสถานการณ์ congruent win-win ทั้ง 2 ฝ่าย
โกรธให้รู้ว่าโกรธ นับ1- 10 ,หรือออกมาจากเหตุการณ์ที่รู้ว่าอาจจะปะทะ ตั้งสติ แล้วเลือกวิธีดีๆ
เราหาวิธีเลี่ยงการปะทะได้
หายใจลึกๆ ,นับ 1-10 ทำเองบ่อย
การเติมพลังใจนั้น ติดตามโพสต์ต่อไปนะคะ 😁
ปล. อ่านเพิ่มได้จาก หนังสือ ซาเทียร์ จิตบำบัดและการพัฒนาตนเอง ของ อ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ
ขอบคุณที่อ่านจบนะคะ หวังว่าจะเป็นเนื้อหาที่เป็นประโยชน์แก่ทุกท่านที่เข้ามาอ่าน และกำลังมีความทุกข์อยู่คร่า
ฝากกดติดตามและเป็นกำลังใจให้เราหน่อยนะคะ 😚
โฆษณา