15 ก.ค. 2021 เวลา 10:23 • สุขภาพ
BioNTech ปัดดีลนำเข้า Pfizer 20 ล้านโดส กับ รพ.ธนบุรี
รอยเตอร์เผยข่าวดีลนี้ทำหุ้นบริษัทพุ่ง 13%
1
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า บริษัท BioNTech ของประเทศเยอรมนีปฏิเสธว่ากำลังมีการเจราจาเพื่อนำเข้าวัคซีน กับบริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่ก่อนหน้านี้กล่าวว่ามีการเจรจาข้อตกลงนำเข้าวัคซีน Pfizer จำนวน 20 ล้านโดส มายังประเทศไทย
1
ก่อนหน้านี้ บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป เปิดเผยว่าจะลงนามในคำสั่งซื้อสำหรับวัคซีน Pfizer-BioNTech ซึ่งข่าวดังกล่าวส่งผลทำให้ราคาหุ้นของผู้ประกอบการโรงพยาบาลพุ่งขึ้นมากกว่า 13%
BioNTech ตอบอีเมลกลับมาที่สำนักข่าว Reuters ถึงคำถามการเจรจานี้ว่า
"เราไม่ได้อยู่ในการเจรจากับ บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป" นอกจากนี้ยังกล่าวปฏิเสธในอีเมลว่าเป็นการเจรจากับหน่วยงานของไทย
2
ก่อนหน้านี้ นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป หรือ THG บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า จะมีการลงนามในข้อตกลงในนี้กับ BioNTech บริษัทสัญชาติเยอรมันที่ร่วมกันพัฒนาวัคซีน mRNA กับ Pfizer แต่เมื่อถามถึงการที่ทางบริษัทเยอรมันปฏิเสธ นพ.บุญ กล่าวว่า “เราไม่ได้ทำโดยตรง”
ทั้งนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงโครงการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นจำนวนมาก และกำลังดิ้นรนเพื่อระงับการติดเชื้อไวรัสร้ายแรงนี้
2
ซึ่งวัคซีนหลักที่ใช้คือ AstraZeneca และ Sinovac เป็นจำนวนมาก แต่ก็มีความต้องการเพิ่มขึ้นสำหรับวัคซีนแบบ mRNA หลังจากเกิดความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ขณะที่วัคซีนแบบ mRNA ส่วนใหญ่ที่สั่งซื้อจะไม่มาถึงประเทศไทยในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้
2
นพ.บุญกล่าวว่า ผู้นำเข้าที่ได้รับอนุญาตจะทำการประกาศข้อตกลง “ผมอยากให้มันจบลงในสัปดาห์นี้หรือปีหน้า”
อย่างไรก็ตามจากข่าวดังกล่าวทำให้หุ้นของกลุ่มโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นมากถึง 13.45% โดยดัชนีอ้างอิงจาก SET INDEX ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.62% จากข่าวในรายงานแผนก่อนหน้านี้
🔵 ทำความเข้าใจรูปพื้นที่การกระจายวัคซีน Pfizer ทั่วโลก
เว็บไซต์ของ BioNTech ระบุอย่างชัดเจนถือพื้นที่การกระจายวัคซีนของบริษัทที่มีสิทธิืในการทำตลาด โดยระบุว่า
BioNTech will hold the regulatory authorization in the U.K., and, if granted, in the U.S., the EU, Canada and other countries. Pfizer will have the commercialization right worldwide with the exception of China, Germany and Turkey.​
1
BioNTech ได้รับสิทธิ์ในการอนุมัติวัคซีนใน สหราชอาณาจักร และหากได้รับอนุญาต ในสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป แคนาดา และประเทศอื่นๆ
ส่วนบริษัท Pfizer มีสิทธิ์ในเชิงพาณิชย์ทั่วโลก ยกเว้น 3 ประเทศ คือ จีน เยอรมนี และตุรกี
1
ดังนั้น BioNTech จะมีสิทธิ์ทางการตลาดในประเทศเยอรมนี และประเทศตรุกี
ส่วนประเทศจีนได้ร่วมมือกับบริษัท Fosun Pharma ทำตลาดได้เฉพาะใน ไต้หวัน มาเก๊า ฮ่องกง เท่านั้นเหมือนกัน
สรุปอีกทีคือ...
🇩🇪 Biontech - เยอรมนี ตุรกี​
🇨🇳 Fosun Pharma - จีน ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน
🇺🇸 Pfizer – ทุกประเทศนอกเหนือจาก 3 ประเทศ​
​​.
ดังนั้นในประเทศไทยก็มีเพียง Pfizer เท่านั้นที่สามารถทำตลาดได้ ผ่านการดีลกับหน่วยงานภาครัฐที่ก่อนหน้านี้มีการทำสัญญาตกลงกันไว้แล้วก็คือ องค์การเภสัชกรรม และกรมควบคุมโรก ที่จะต้องรอการจัดส่งตามคิวในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้
🔵 หมอบุญโต้ สัญญารอเซ็น 2 ทุ่มวันนี้
นพ.บุญ ได้ออกมาตอบโต่ถึงข่าวดังกล่าวที่ออกมาว่า ผ่านการให้สัมภาษณ์ทางเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจว่า เป็นเรื่องปกติที่ฝ่ายนั้นต้องปฎิเสธ เพราะเป็นเรื่องทางกฎหมาย ห้ามเปิดเผยข้อมูลการเจรจาระหว่างกัน จนกว่าจะมีการเซ็นสัญญาเกิดขึ้น
"ส่วนของผมที่ออกมาเปิดเผยถือว่าปากหมาเอง แต่ไม่เป็นไรเพราะทำเพื่อประเทศ ที่ต้องช่วยคนไทยด้วยกัน กระบวนการที่แจ้งไว้ยังเหมือนเดิม"
4
พร้อมกับยืนยันเพิ่มเติมว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาสัญญาที่จะเซ็นกันจำนวน 40 หน้า และมีฝ่ายกฎหมายพิจารณาสัญญาไปพร้อมกัน
"ถ้าไม่มีอะไรติดขัดก็สามารถเซ็นสัญญาได้และนำเข้าตามที่ระบุไว้ คือ ก.ค.นี้"
🔵 4 ตัวเลือกหน่วยงานรัฐฯ ที่หมอบุญมีโอกาสดีลด้วย
**เนื้อหาส่วนนี้จะเป็นเพียงความคิดเห็นของผู้เขียน**
ประเด็นนี้ถือว่าน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะสิ่งที่ นพ.บุญ บอกกับสื่อว่า กลุ่มโรงพยาบาลธนบุรีฯ จะไม่ได้ดีลเอง แต่จะมีตัวกลางเป็นหน่วยงานรัฐเข้ามาช่วยประสาน
ซึ่งหน่วยงานรัฐในประเทศไทยที่มีสิทธิ์จะดีลวัคซีนกับผู้ผลิตได้นั้นมีด้วยกัน 4 องค์กรคือ
🔹️องค์การเภสัชกรรม
🔹️กรมควบคุมโรค
🔹️ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
🔹️สภากาชาดไทย
สำหรับหน่วยงานหลักในการดีลกับบริษัทวัคซีนคือองค์การเภสัชกรรม และกรมควบคุมโรค ก็มีการดีลกับ Pfizer ไปแล้ว ซึ่งวัคซีนจะมาไตรมาส 4 ของปีนี้อย่างที่กล่าวไป
และประเด็นคือ องค์การเภสัชกรรม ออกแถลงการณ์แจ้งความเอาผิด นพ.บุญ และนายลอย ชุนพงษ์ทอง ในข้อหา "หมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณา อันเป็นเหตุให้องค์การเภสัชกรรมได้รับความเสียหาย เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 จากการเผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อวัคซีนโมเดอร์นาอันเป็นเท็จ ซึ่งถ้าพูดภาษาชาวบ้านคือคงไม่มาญาติดีกัน จับมือกันดีลวัคซีนแน่ๆ เพราะ นพ.บุญก็ขู่จะแฉหลักฐานกลับในชั้นศาลเช่นกัน
1
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ก็มีการดีลวัคซีนซิโนฟาร์มมาแล้ว และมีปัญหาเรื่องกำลังการบริหารจจัดการมีไม่เพียงพอเนื่องจากแค่ภารกิจของหน่วยงานก็ล้นมือแล้ว ซึ่งทำให้การดีลวัคซีนเข้ามาทำได้เพียงทีละน้อยเท่านั้น และวัคซีนซิโนฟาร์มเป็นวัคซีนทางเลือกที่ต้องจ่ายเงินถึงจะได้ฉีด
สภากาชาดไทย ที่ล่าสุดวันนี้ก็ออกมาแถลงถึงดีลวัคซีนโมเดอน่า 1 ล้านโดสฟรีให้กับประชาชน ซึ่งขั้นตอนการเจรจาเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ขั้นตอนการนำเข้าจะอยู่ที่องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้รับผิดชอบ จึงขึ้นอยู่กับองค์การเภสัชกรรมจะนำเข้ามาได้เมื่อใด
2
ซึ่งก็ต้องดูว่าจะเป็นสภากาชาดหรือไม่ที่จะเป็นผู้ดีลกับ Pfizer แต่กระนั้นมันจะทับซ้อนกับดีลเดิมที่เซ็นสัญญากันไปแล้วหรือเปล่า เพราะสุดท้ายก็อยู่ในมือขององค์การเภสัชฯ อยู่ดี
1
ดังนั้นจะมีตัวละครตัวไหนโผล่มาอีกกับสัญญานำเข้า Pfizer ซึ่งรอเปิดเผยสัญญาอยู่เหมือนกัน ถ้า นพ.บุญมีสัญญาอย่างที่พูดไว้จริงๆ ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไป
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
โฆษณา