17 ก.ค. 2021 เวลา 01:42 • การเมือง
14 วัน อันตราย
เมื่อสึนามิโควิดระลอก 3 ถล่มประเทศไทยอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ทำให้ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นักรบเหรียญรามาฯ ต้องตัดสินใจแหกด่านมฤตยูของข้าศึกที่ไร้ตัวตน ด้วยการประกาศ “ล็อกดาวน์” 10 จังหวัดในพื้นที่สีแดงเข้ม พร้อมลดแรงเสียดทานด้วยการประกาศไม่รับเงินเดือนเป็นเวลา 3 เดือน หวังกอบกู้วิกฤติศรัทธา
2
แม้ดูเหมือนว่าจะพยายามหลีกเลี่ยงการ “ล็อกดาวน์” มาตลอดด้วยหวั่นผลกระทบต่อประชาชนโดยเฉพาะต่อระบบเศรษฐกิจที่ “เจ็บแล้วไม่จบ” ทว่าไม่มีทางออกอื่นใดในที่สุดก็ต้อง งัด “ยาแรง”ออกมาใช้ เพียงแต่มาการล็อกดาวน์ในห้วงเวลานี้ ก็เป็นที่จับตาว่า มาทันเวลาหรือไม่ หากครบห้วงเวลา 14 วันตามกำหนด แล้วจะ“เอาอยู่” หรือไม่ และหาก “เอาไม่อยู่” จะเอาอย่างไรต่อไป?
3
เมื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในเชิงบวก คือ “เอาอยู่” หากตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลง หรืออยู่ในวงจำกัดที่ระบบสาธารณสุขสามารถรองรับได้ ไม่มีปัญหารอเตียงอย่างเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ แม้จะดูยากแต่หากทำได้ก็ถือว่าโล่งไปหนึ่งเปราะ สามารถประคับประคองสถานการณ์ไปได้ต่อ
อีกทางหนึ่งคือในเชิงลบคือ คือ “เอาไม่อยู่” ด้วยมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าระยะเวลาเพียงแค่ 2 สัปดาห์ ประกอบกับรูปแบบการแก้ไขปัญหาด้วยการล็อกดาวน์เฉพาะพื้นที่ ทำได้แค่ชะลอการแพร่ระบาดเท่านั้น ไม่เหมือนกับ “ล็อกดาวน์เมษา 63” ที่อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติกันทั้งประเทศ ซึ่งสามารถหยุดโควิดระลอกแรกได้ อีกทั้งการระบาดระลอกนี้ต้องเผชิญกับเจ้าเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ “เดลตา” ที่ติดง่าย และตายง่าย!
2
“จะได้ผลในเชิงการชะลอเท่านั้น แต่ไม่สามารถตัดวงจรการระบาดได้ จะมีโอกาสระบาดซ้ำซ้อนไปเรื่อยๆ มาตรการที่ควรทำคือ การทำ Full national lockdown (ล็อกดาวน์ทั้งประเทศ)ซึ่งมักต้องใช้เวลาในการล็อกนานระดับเดือนขึ้นไป” รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอความเห็นผ่านเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว
1
ทำให้มีการคาดการณ์กันว่า หาก 14 วันยังไม่สามารถกดตัวเลขลงมาได้ หรือระบบสาธารณสุขยังไม่สามารถกลับมารองรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ โอกาสที่จะขยายระยะเวลาล็อกดาวน์ออกไปก็มีสูงเป็น 1 เดือน หรือมากกว่านั้น ในเฟส 2 พร้อมกับยกระดับมาตรการให้เข้มข้นขึ้นไปอีก ตามยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลเดินมาตลอด คือ “เบาไปหาหนัก” และรอให้มีเสียงเรียกร้องจนสุกงอมจึงขับเคลื่อน หากไม่ได้ผลก็จะต่อเวลาออกไปเรื่อยๆ เฟส 3 เฟส 4
แต่ปัญหาก็คือ ถ้า “เจ็บแล้วไม่จบ” และ “เจ็บซ้ำซ้อน” ความอดทนของประชาชนจะถึงขีดสุดเมื่อไหร่ และทนได้แค่ไหน!! 14 วันล็อกดาวน์ จึงเป็น 14 วันอันตราย หัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศไทย
1
ยิ่งในห้วงที่ “บิ๊กตู่” บอบช้ำเสียรังวัดอย่างต่อเนื่อง จากหลายประเด็นที่ขยับอะไร ก็กลายเป็น “ดรามา” แม้กระทั่งภาพติดบนผนังบ้าน ขณะเวิร์คฟรอมโฮมก็ยังถูกนำมาเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์จนต้องเปลี่ยนภาพพื้นหลังใหม่
1
ที่น่าสนใจ ก็คือท่าทีของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่ออกรายงานผลการประเมินกลางเทอมของรัฐบาลประยุทธ์ 2 จัดทำโดย โดยประเมินเฉพาะ ผลงานด้านการควบคุมโรคโควิด-19 และการบริหารจัดการวัคซีน ที่ไม่ต่างอะไรกับการ “ทิ้งบอมบ์”ใส่รัฐบาล ทำเอาคอการเมืองหวนคิดคำนึงถึงเมื่อครั้ง ทีดีอาร์ไอ เคยเตือนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากปมจำนำข้าวก่อนรัฐบาลจะอวสาน
4
“เมื่อมองย้อนกลับไป มีหลายกรณีที่ ชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลน่าจะตัดสินใจผิดพลาด เช่น ประเทศไทยมีโอกาสจำกัดวงการแพร่กระจายของโรคในช่วงต้นของการระบาดรอบที่สาม แต่รัฐบาลกลับตัดสินใจให้มี วันหยุดยาวในช่วงสงกรานต์ ทำให้เกิด การระบาดในวงกว้างขึ้นไปสู่จังหวัดต่างๆ อีกทั้งรัฐบาลก็ยังไม่สามารถประสานการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ อย่างเป็นเอกภาพ โดยเฉพาะปัญหาการทำงานที่ไม่ลงรอยระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและ กทม. ...
1
....แม้ประเทศไทยเคยประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดในระลอกก่อนหน้า แต่เมื่อกรัฐบาลดำเนินการผิดพลาดในการควบคุมโรคและการบริหารจัดการวัคซีน ประเทศก็กลับเข้าสู่วิกฤติด้านสุขภาพและด้านเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่ง จนสูญเสียโอกาสในการฟื้นตัวสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็ว และ สูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันในเวทีโลก
กรณีผิดพลาดนี้สมควรต้องมี ผู้ที่ต้องรับผิดชอบ และสมควรมีการแสวงหาข้อเท็จจริงและวิเคราะห์ในเชิงลึก โดยคณะกรรมการที่เป็นอิสระคล้ายกับ คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ (ศปร.) ที่ตั้งขึ้นหลังวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 เพื่อถอดบทเรียนและป้องกันความผิดพลาดซ้ำอีกในอนาคต”บางช่วง บางตอนจากรายงานของทีดีอาร์ไอ
ท่ามกลางพายุอารมณ์ของบรรดาคนดังที่เดือดดาลพลุ่งพล่านในโลกโซเชียล เขม็งเกลียวขึ้นทุกขณะ รอจังหวะโบ๊ะบ๊ะสุกงอม วัดใจสงครามในโลกออนไลน์ จะขยายผลสู่โลกจริงหรือไม่ เมื่อม็อบ 3 นิ้วเอา “บันได”มาพาดรอไว้ ด้วยนัดหมายลงถนน “บวกเป็นบวก” กันในวันที่ 18 กรกฎาคม ถ้าจุดติดก็มีโอกาสได้ไปต่อ แต่ถ้าจุดไม่ติด หรือติดโควิดก็จะกลายเป็นคลัสเตอร์ใหม่
ด้วยจับอาการของ “อาจาร์ป๊อก”ปิยบุตร แสงกนกกุล ที่บินเงียบไปฝรั่งเศส เหมือนส่งสัญญาณ “ม็อบแรง” อีกทั้งรหัสนัยที่เจ้าตัวส่งผ่านบทความเรื่อง “ความไม่แน่นอนในการปฏิวัติ” ประหนึ่งเหมือนตีปลาหน้าไซ กระแสข่าวลือในตลาดการเมือง
2
ขณะที่คนแดนไกล “พี่โทนี่ วู้ดซัม” หรือ ทักษิณ ชินวัตร ก็รอชุบมือเปิบประกาศกลับมาประเทศไทยในเร็วๆนี้ ปลุกผีกองเชียร์ให้คึกคัก
กระนั้น “บิ๊กตู่”กลับไม่หวั่นแม้วันมามาก ส่งสัญญาณไม่ยอมแพ้ จะสู้จนกว่าจะชนะ!!
โฆษณา