17 ก.ค. 2021 เวลา 03:52 • ปรัชญา
20 ลักษณะนิสัย "ผู้นำที่ดี" ที่ควรปกครองบริหารบ้านเมืองอย่างแท้จริง
วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องผู้นำที่ดีกันบ้าง ทุกวันนี้การที่เราจะมีผู้นำที่ดีนั้นแทบหายากกันจริงๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีเลยนะครับมันก็มีแหละแต่เราดูออกกันยากมากๆสำหรับบางคน วันนี้เรามาดูลักษณะของคนที่ควรเป็น "ผู้นำที่ดี" ที่ควรปกครองบ้านเมืองกันมีอะไรกันบ้างมาดู
1. ผู้นำที่ดีนั้นจะต้องซื่อสัตย์ต่อตนเองและหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมาย
2. ผู้นำที่ดีนั้นควรมีเหตุและผลที่ชัดเจนในการตัดสินใจ ไม่ควรใช้อารมณ์เป็นตัวตัดสิน
3. ผู้นำที่ดีนั้นควรดูแลเอาใจใส่ลูกน้องและคนอื่นๆได้เป็นอย่างดี
4. ผู้นำที่ดีนั้นควรวางตัวเป็นกลางและมีความยุติธรรมอย่างชัดเจน ไม่ควรเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายนึงเป็นพิเศษ
5. ผู้นำที่ดีนั้นควรจะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
6. ผู้นำที่ดีนั้นไม่ควรดูถูกผู้ที่ด้อยกว่าไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นใครก็ตาม
7. ผู้นำที่ดีนั้นควรมีมารยาทที่ดี ไม่ควรมีอารมณ์ฉุนเฉียวกระฟัดกระเฟียดใส่ผู้อื่น
8. ผู้นำที่ดีนั้นจะต้องมีระเบียบวินัยที่ดีไม่ย่อหย่อนต่อหน้าที่ของตนเอง
9. ผู้นำที่ดีนั้นควรพูดจาด้วยถ้อยคำที่สุภาพ ไม่ควรพูดจาหยาบคาย
10. ผู้นำที่ดีนั้นจะต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้ด้วยเหตุและผล เมื่อมีความเห็นที่ไม่พึงพอใจไม่ควรแสดงกิริยาท่าทางที่หยาบกระด้างหรือมีอารมณ์โกรธ
11. ผู้นำที่ดีนั้นควรมีความสามารถในการปกครองอย่างแท้จริง ไม่ควรไร้ประสิทธภาพในการบริหาร
12. ผู้นำที่ดีนั้นไม่ควรเย่อหยิ่ง จองหองหรืออวดดี
13. ผู้นำที่ดีนั้นจะต้องไม่เกียจคร้านต่อหน้าที่ของตน
14. ผู้นำที่ดีนั้นควรดีทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่ควรคดโกงหรือเอาเปรียบผู้อื่น
15. ผู้นำที่ดีนั้นควรมีความเมตตาและมีความเสียสละต่อผู้อื่น
16. ผู้นำที่ดีนั้นจะเป็นห่วงผู้อื่นกว่าตนเองเสมอ
17. ผู้นำที่ดีนั้นควรมีการวางแผนงานอย่างชัดเจนโดยไม่มีข้อผิดพลาด
18. ผู้นำที่ดีนั้นเมื่อตนเองกระทำความผิดก็กล้าทำกล้ารับ ไม่ปกปิดการกระทำของตนเอง
19. ผู้นำที่ดีนั้นมีความฉลาดอย่างเดียวยังไม่พอควรมีความรอบคอบที่ดีในการบริหารงานด้วย
20. ผู้นำที่ดีนั้นเมื่อลูกน้องหรือคนอื่นๆมีเรื่องเดือดร้อนอะไรก็ตามควรช่วยเหลือ
"ทศพิธราชธรรม ๑๐"
หรือ ราชธรรม 10 คือจริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้คือ
๑. ทาน (ทานํ) คือ การให้
๒. ศีล (สีลํ) คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ
๓. บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อความสุขส่วนรวม
๔. ความซื่อตรง (อาชฺชวํ) คือ การสุจริตต่อหน้าที่การงานของตน ต่อมิตรสหาย ต่อองค์กรหรือหลักการของตน
๕. ความอ่อนโยน (มทฺทวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน
๖. ความเพียร (ตปํ) คือ ความเพียรพยายามในการทำความสุขเพื่อส่วนรวม
๗. ความไม่โกรธ (อกฺโกธํ) คือ การไม่แสดงอาการโกรธ
๘. ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ การดำเนินชีวิตไปตามทางสายกลาง การผลิต การบริโภคที่สมดุลโดยไม่เน้นประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันแย่งชิงจนเป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นและทำลายสิ่งแวดล้อม
๙. ความอดทน (ขนฺติ) คือการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นไม่หวั่นไหว
๑๐. ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนํ) คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก
นี้แลคือหลักในการบริหารปกครองบ้านเมืองอย่างแท้จริงโดยสมบูรณ์
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่านนะครับขอบคุณสำหรับการติดตามอ่านนะครับ ขอบคุณครับ😊🙇"
เรียบเรียงเนื้อหา/นำเสนอบทความโดย :
"สาระหลากด้าน"
โฆษณา