18 ก.ค. 2021 เวลา 01:07 • การเมือง
รายงานทางวิชาการ
เรื่อง ตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ใช่ศาล
(ศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่ศาล)
 
รายงานทางวิชาการ เรื่อง ตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ใช่ศาล ฉบับนี้ มิได้มีความมุ่งหมาย หรือต้องการทำลายบุคคลและคณะบุคคลใด มิได้มีเจตนาที่จะไปทำลายความน่าเชื่อถือ ของสถาบัน ตุลาการที่เราเคารพ หรือของกระบวนการยุติธรรมแต่ประการใด แต่จัดทำขึ้นตามหลักวิชาที่ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อชี้ให้เห็น ทางออกของการแก้ปัญหาของประเทศไทยเป็นสำคัญ เหตุที่กระผมต้องกล่าวเช่นนี้ ก็เพราะว่าการที่เราจะคิดแก้ปัญหาใดๆก็ตาม
ถ้าเราเคารพหลักการและหลักวิชาอย่างเคร่งครัด และ แก้ปัญหาเหล่านี้นั้นให้ถูกต้องตามหลักวิชา ปัญหาทุกอย่างก็จะสามารถแก้ตกได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าหากเรา ไม่เคารพหลักวิชา แก้ปัญหาโดยคิดเอาผลประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้ง หรือที่เรียกว่า “อวิชชา” ก็จะทำให้เกิดปํญหาหนักยิ่งขึ้น คือ ยิ่งแก้ยิ่งยุ่ง เหมือน ลิงแก้แห หลงเวียนว่ายอยู่ใน วัฏฏสงสาร หาทางออกไม่ได้ ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “สุวิชาโน ภะวัง โหติ - ทุวิชชาโน ปราภโว” แปลว่า ผู้รู้วิชาเป็นผู้เจริญ - ผู้ไม่รู้วิชาเป็นผู้ฉิบหาย
 
“หลักวิชา” กำหนดขึ้นมาจาก กฎของความจริงแท้ (Reality Laws) ที่ดำรงอยู่จริง (Existence) ย่อมมีความแน่นอนและถูกต้องตลอดไป หลักวิชาจึงเรียกอีกนัยหนึ่งว่า สัจธรรม (Truth) หลักวิชา ทุกอย่างจึงกำหนดขึ้นมาจาก ภววิสัย (Objective) ไม่ใช่ อัตวิสัย (Subjective) และ “วิชา” ก็คือ ภาพสะท้อนของความสัมพันธ์ภายในของสรรพสิ่งซึ่งมาจากหลักวิชา แต่นักวิชาการและ นักการเมืองบ้านเรามักถือเอาผลประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้ง จึงแก้ปัญหาตามอำเภอใจ โดยไม่เคารพต่อหลักวิชา
ยิ่งแก้รัฐธรรมนูญก็ยิ่งผิดหลักวิชาการมากขึ้น แก้กันจนชาติบ้านเมืองหาทางออกไม่ได้ มาจนทุกวันนี้ ก็เพราะฝีมือของนักวิชาการและนักการเมืองทั้งสิ้นครับ
 
พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ นายกราชบัณฑิตยสภาพระองค์แรก ท่านเป็นนักวิชาการที่เชื่อถือได้คนหนึ่งของไทย ทรงประทานอรรถาธิบาย หลักการและหลักวิชาการ ของ “ระบบรัฐสภา” (Parliamentary System) หรือที่เรียกกันว่า “ระบบรวมอำนาจ” (Fusion of Power) ไว้ว่า “เสถียรภาพของระบบรัฐสภา ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจอธิปไตยทั้งสาม โดยมีรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี อยู่ในฐานะที่คานกันและถ่วงดุลกัน และมีศาลเป็นอิสระ โดยสิ้นเชิง จึงทำให้เกิดดุลยภาพ และยังผลให้เกิดเสถียรภาพของระบบรัฐสภา ถ้าหลักการเหล่านี้ถูกทำลาย ก็คือ การทำลายเสถียรภาพของระบบรัฐสภา”
 
หมายความว่า “ระบบรัฐสภา” ซึ่งเป็น “รูปการปกครอง” (Form of Government) อันเป็นองค์ ประกอบอันหนึ่งคู่กับ “หลักการปกครอง” (Principle of Government)
ของ “การปกครองแบบ ประชาธิปไตย”
(Democratic Government) นั้น
ระบบรัฐสภาจะดำรงอยู่ได้ ต้องมีองค์ประกอบที่ สำคัญ 2 ประการ คือ
1) มีสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ถือดุลของระบบรัฐสภา
2) มีศาลเป็นผู้ถือดุลในดุลของระบบรัฐสภา
ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ถือดุลได้ และศาลก็ไม่สามารถทำหน้าที่เป็น ผู้ถือดุลได้ ระบบรัฐสภาก็จะล้มเหลวโดยสิ้นเชิง และนำไปสู่ “Failed State”
 
ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้ศาลทำหน้าที่เป็นผู้ถือดุลในดุลของระบบรัฐสภาได้ มาตรา 58 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก จึงได้ บัญญัติไว้ว่า “การพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ท่านว่าเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ” และมาตรา 60 บัญญัติว่า
“ผู้พิพากษาย่อมมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี” นี่คือ การทำให้ศาลเป็น
ผู้ถือดุล ในดุลของระบบรัฐสภา
รัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475
ซึ่งในทางวิชาการถือกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญ
ที่ได้ทำ การเปลี่ยน ระบอบประชาธิปไตย (เพียงหลักการ) เป็นระบอบเผด็จการะบบรัฐสภา ไปแล้วก็ตาม แม้ว่าจะมีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 59 ว่า “บรรดาศาลทั้งหลาย จัดตั้งขึ้นได้แต่โดยพระราชบัญญัติ” ก็ตาม แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นมีการทำลายความเป็นอิสระของศาลมากนัก จนเมื่ออาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ได้ขึ้น มารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2489 หลังจาก นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ได้ลาออกหลังแพ้มติในรัฐสภาแล้ว จึงได้มีการทำลายความเป็นอิสระของศาลขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489 ซึ่งมีอาจารย์ปรีดีฯ เป็นหลักในการยกร่างนั้น ได้มีการทำลาย ความเป็นอิสระของศาล เกิดขึ้น โดยรัฐธรรมนูญบัญญัติให้มี “ศาลตุลาการ รัฐธรรมนูญ” ซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ดังปรากฏในมาตรา 88 ของรัฐธรรมนูญว่า “ในการที่ศาลจะใช้กฎหมายบังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นว่าบทกฎหมายนั้น ต้องบทบัญญัติ มาตรา 87 ก็ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นไว้ชั่วคราว แล้วรายงานความเห็นเช่นว่านั้น ตามทางการไปยังคณะตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยแล้วให้แจ้งให้ศาลทราบ
 
คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้ถือเป็นเด็ดขาดและให้ศาลปฏิบัติตามนั้น”
อาจารย์ปรีดีฯ ท่านบอกว่ารัฐธรรมนูญของท่านเป็นประชาธิปไตยที่สุด ซึ่งความจริงแล้ว อย่า ว่าแต่จะเป็นประชาธิปไตยเลย เอาแค่เป็น “ระบบรัฐสภา” ก็ไม่ได้เสียแล้ว เพราะได้ทำลายความเป็น อิสระของศาลอย่างรุนแรง โดยเอา อำนาจนิติบัญญัติ ไปขี่คอ อำนาจตุลาการ ซึ่งผิดหลักวิชาการ อย่างร้ายแรง กระทั่งเอา
สภาทำหน้าที่เป็นศาล ไปเลยคือ ให้ศาลปฏิบัติตามนั้น และ คำวินิจฉัยของ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้ถือเป็นเด็ดขาด
 
ระบบรัฐสภาในระบอบเผด็จการโดยทั่วไป ก็ยังไม่เคยมีประเทศไหนเขาทำกันอย่างนี้ ยิ่งระบอบประชาธิปไตยด้วยแล้ว ยิ่งต้องถือเอา ความเป็นอิสระของศาลเป็นองค์ประกอบสำคัญ เลยทีเดียว ดังนั้น การที่อาจารย์ปรีดีฯ เอาสภาไปขี่คอศาล แบบนี้จึงไม่ถูกต้อง เพราะ อำนาจตุลาการ นั้น เขายึดถือ “หลักนิติธรรม”
(Rule of Laws) แต่ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ นั้นเป็นเพียงกลไกของ อำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งมีสมาชิกเป็นนักการเมืองที่ยึดถือเอา นโยบายของพรรคการเมือง (Platform) คือ ยึดถือผลประโยชน์ของนักการเมืองเป็นสำคัญ และรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ก่อให้เกิดความแตกแยก ในคณะราษฎรอย่างรุนแรง จนทำให้เกิดการทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ถือได้ว่าเป็น การสิ้นสุดยุคของอาจารย์ปรีดีฯ
ซึ่งนอกจากจะเป็นต้นตำรับของ การทำรัฐประหาร และทำ การสร้าง ประชาธิปไตยด้วยรัฐธรรมนูญ แล้ว ท่านยังเป็นต้นตำรับของนโยบายเศรษฐกิจ สังคมนิยมเพ้อฝัน และต้นตำรับให้มี พรรคการเมืองภายใต้กฎหมาย รวมทั้งยังเป็นต้นตำรับของ การเอาอำนาจนิติบัญญัติ ไปขี่คออำนาจตุลาการ อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติว่าด้วย ต้นตำรับต่างๆ ภายใต้อำนวยการ ของอาจารย์ปรีดีฯ นั้นก็หาได้จบตามไปกับคณะราษฎรด้วยไม่ เพราะคณะอื่นพรรคอื่น ซึ่งครองอำนาจ อธิปไตยของคนส่วนน้อยต่อมานั้น ต่างก็เห็นดีเห็นชอบนำเอาต้นตำรับเหล่านั้น มาใส่ไว้ใน
รัฐธรรมนูญของตนตลอดมา
 
รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2521 เป็นรัฐธรรมนูญที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจัดทำขึ้น ซึ่งได้รับ ฉายาว่า “รัฐธรรมนูญฉบับหมาเมิน” ก็เพราะด้านหนึ่งได้กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับ การสังกัดพรรค และการสมัคร ส.ส. ร้ายแรงกว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 ที่บังคับให้ผู้สมัคร ส.ส. ต้องสังกัดพรรค การเมือง ซึ่งเรียกกันว่า
รัฐธรรมนูญฉบับต้อน ส.ส. “เข้าคอก” แล้ว อีกด้านหนึ่งก็คือ การทำลาย ความเป็นอิสระของศาล อย่างเป็นรูปธรรม
 
อาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เจ้าของความคิด “นโยบาย 66/23” ที่กองทัพบกนำไปใช้ใน การยุติสงครามกลางเมืองได้สำเร็จ ท่านได้พูดถึงการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับหมาเมิน ไว้ว่า “ในโลกนี้มีประเทศไทยประเทศเดียวเท่านั้น ที่มัววุ่นวายอยู่แต่กับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่เป็นไร ดอกครับ ผมคำนวณดูแล้วนักการเมืองบ้านเรายัง “ตลกอยู่กับรัฐธรรมนูญ” โดยไม่ต้องทำอะไรไปได้ อีกนาน ประเทศอื่นนักการเมืองมีหน้าที่แก้ปัญหา มิฉะนั้น บ้านเมืองพัง แต่บ้านเรานักการเมืองสบาย มาก เพราะไม่ต้องแก้ปัญหา สามารถใช้เวลาของรัฐสภาทำตลกในเรื่องรัฐธรรมนูญและเรื่องอื่นๆ กัน ได้ตามอัธยาศัย... ตลกนานๆ เข้าชาวบ้านก็เกลียดขี้หน้านักการเมืองไปเอง แล้วนักการเมืองก็จะหลอก ชาวบ้านไม่ได้อีกต่อไป...
 
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นรัฐธรรมนูญระบบกึ่งรัฐสภา (Semi-Parliamentary System) ซึ่ง อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการเป็นอิสระต่อกัน และตัวบทใน มาตรา 169 ก็บัญญัติไว้ว่า “การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล...” แต่มาตรา 191 กลับเอาอำนาจ นิติบัญญัติไปครอบอำนาจตุลาการ และบังคับให้ศาลต้องขึ้นต่อรัฐสภาทางตุลาการรัฐธรรมนูญ หมายความว่า ถ้ามีปัญหาว่า กฎหมายจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ศาลต้องหยุดพิจารณาก่อน และ ดำเนินการให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญชี้ขาดก่อน แม้ศาลจึงจะพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดนั้น อิสระของอำนาจตุลาการอยู่ที่ไหนครับ มาตรา 173 เขียนว่า “ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการ พิจารณาพิพากษาอรรถคดี...” แต่ มาตรา 191 เขียนว่า “ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย บังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 5 ให้ศาลรอการ
พิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว แล้วส่งความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการ เพื่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ จะได้พิจารณาวินิจฉัย” แล้วยังบัญญัติไว้ใน มาตรา 192 ด้วยว่า “คำวินิจฉัยของคณะตุลาการ รัฐธรรมนูญให้ถือเป็นเด็ดขาด”
 
หมายความว่า ศาลต้องหยุดก่อน ฟังคำวินิจฉัยเด็ดขาดจากรัฐสภาทางคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เห็นไหมครับ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ขัดกับหลักของระบบรัฐสภา และมาตรา 191 และ 192 โอละพ่อกับ มาตรา 169 และมาตรา 173 แต่ถึงรัฐธรรมนูญจะเขียนตลกสักแค่ไหน เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังใช้ อยู่ก็ต้องปฏิบัติกัน แต่ควรรู้ไว้ว่ามันตลก
 
สมัยก่อนเรื่อง “ตลก” แบบนี้ในรัฐธรรมนูญไม่มีครับ ผมเห็นศาลเขาเป็นอิสระตามที่เขียนไว้ ในรัฐธรรมนูญ คือ รัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2475 มาตรา 58 บัญญัติไว้ว่า
“การพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ท่านว่าเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ” มีคำว่า “
โดยเฉพาะ” นะครับ แต่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2521) ตัดคำว่า “โดยเฉพาะออกเสีย” เหลือเพียง “การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจ ของศาล” (มาตรา 169)
 
การที่เอาโดยเฉพาะออก ก็เพราะ แบ่งอำนาจของศาลไปให้กับรัฐสภาเสียบ้าง คือ เอาคณะ ตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นศาลเสียบ้าง ความเป็นอิสระของศาลที่ผมเคยเห็นจึงถูกทำลายลงไปมาก”
 
นี่คือสิ่งที่อาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ได้เคยพูดไว้เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ แต่ถ้าหาก ท่านยังมีชีวิตอยู่และมาเห็นในขณะนี้ “ตลกสุดขีด” คือ ตุลาการรัฐธรรมนูญ นั้น ปัจจุบันได้ยกฐานะ ขึ้นเป็น “ศาล” จริงๆ ไปแล้ว เรียกว่า “ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” เป็นศาลแบบศาลจริงๆ แล้ว ยังให้ ศาลมีอำนาจไปเล่นงานพรรคการเมืองและนักการเมืองได้อีกด้วย และรัฐธรรมนูญในปัจจุบันก็ยังได้ แบ่งปัน อำนาจบริหาร ไปให้อำนาจตุลาการเสียบ้างอีกด้วย โดยให้
ผู้พิพากษาทำหน้าที่เป็นผู้ออก กฎหมายจับกุมโจรผู้ร้าย และก็ยังได้แบ่งปัน อำนาจบริหาร ให้แก่รัฐสภาอีกด้วย โดยในการทำ สนธิสัญญาใดๆ ระหว่างประเทศจะต้องขออนุญาตจากสภาเสียก่อน เป็นต้น จึงเรียกว่า ตลกสุดขีด โดยเริ่มจากรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา โดยเฉพาะก็ยังมีพรรคการเมืองบาง พรรค ไปหลอกประชาชนว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพราะเป็น “รัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน”
ดูข้อมูลต่อในเฟสบุ๊ค
Paiboon Sthapanavisuth
ไพบูลย์ สถาปนาวิสุทธิ์
โฆษณา