18 ก.ค. 2021 เวลา 02:48 • บ้าน & สวน
“จงทำสวนของเรา”
1
วันนี้ “บ้านสีเขียว” ขอยืมวลีเด็ดที่ว่า “จงทำสวนของเรา” (‘Il faut cultiver notre jardin’) มาจากวรรณกรรมคลาสสิกแนวปรัชญาเรื่อง “ก็องดิดด์” (Candide) ของวอลแตร์ (Voltaire) นักประพันธ์และนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสในยุคคริสต์ศตวรรษที่สิบแปด
1
หนังสือชื่อ ก็องดิดด์ ของวอลแตร์นี้ นับว่าเป็นหนึ่งในหนังสือที่มีอิทธิพลต่อโลกยุคใหม่มากเป็นอันดับต้นๆ เขียนเป็นนิยาย ความยาวประมาณ 300 หน้ากระดาษพ็อคเก็ตบุ๊ค แปลเป็นไทยโดย วัลยา วิวัฒน์ศร สำนักพิมพ์ผีเสื้อ พิมพ์ครั้งที่สอง (ปกอ่อน) เดือนกันยายน พ.ศ. 2538
นัยยะที่วอลแตร์เสนอก็คือ ให้ทุกคนทำงานโดยไม่มัวแต่พร่ำเพ้อหรือคาดหวังอะไรจากใครอื่น แม้แต่ในระดับรัฐหรือพระเจ้า เพราะเขาคิดว่ามนุษย์เกิดมาเพื่อกระทำมิใช่เพื่อพูดพร่ำ วอลแตร์เชื่อว่ามนุษย์เรานี่ต่างหากที่เป็นผู้กำหนดทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตัวของตัวเองโดยการลงมือทำ
รอยยิ้มแห่งความสุขของคุณลุงชาวสวนที่ลงมือลงแรงทำสวนลำไยที่เชียงใหม่
ในบทสรุปของหนังสือเล่มนี้ วอลแตร์ได้เสนอคำพูดที่ว่า ‘Il faut cultiver notre jardin’ ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า “จงทำสวนของเรา” เพื่อเรียกร้องเชิญชวนให้ทุกคนทำงานในส่วนของตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยควรเริ่มจากครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม
1
จาก 1 เป็น 2...จาก 2 เป็นสวน!
เมื่อแต่ละคนทำหน้าที่ของตัวเองแล้ว ผลแห่งการทำงานนั้นย่อมส่งครอบคลุมเผื่อแผ่ไปยังหน่วยของสังคมที่ใหญ่ขึ้น เช่น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ไปสู่สังคมใหญ่ต่อไป
จากสวนของแต่ละคน หลายๆ คน กลายเป็นผืนดินที่ร่มรื่น หล่อเลี้ยงหลายๆชีวิตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจครัวเรือนและชุมชน
เหตุที่ “บ้านสีเขียว” หยิบยกเอาหนังสือเรื่อง “ก็องดิดด์” ของท่านวอลแตร์มาพูดถึงในครั้งนี้ ก็เพราะแนวคิดในหนังสือเล่มนี้แสนจะโดนใจและตรงกับเจตนารมย์ของเพจ "บ้านสีเขียว" ยิ่งนัก
นี่คือผลงานจาก “สวนมะเขือเทศ” ในกระถางน้อยๆ ที่คนตัวน้อยๆ ลงมือปลูกที่ “บ้านสีเขียว” (อวดค่ะ)
“บ้านสีเขียว” จึงขอเชิญชวนเพื่อนพ้องน้องพี่นักอ่านทุกท่าน "จงทำสวนของเรา" ทั้งในนัยยะตรงและนัยยะแฝงถึงภารกิจอื่นๆ ของเราด้วยเช่นกัน
1
ขอบคุณภาพและบทสรุปเรื่องย่อของหนังสือที่เรียบเรียงจากเว็บไซต์ต่างๆ ดังนี้ค่ะ
โฆษณา