2 ส.ค. 2021 เวลา 12:11 • สุขภาพ
ถาม-ตอบเกี่ยวกับAstraZeneca เข็มที่ 2
3
เนื่องจากข้อกังวลถึงหลายๆคนที่ได้เริ่มต้นฉีด AstraZeneca dose แรกเมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน ตอนนี้ได้มีการเลื่อนนัดเข้ามาเป็นเร็วๆนี้แล้ว มีความกังวลว่าอาการจะรุนแรงกว่าครั้งแรกไหม
3
หลังจากมีคนออกมาบอกว่ามีอาการไข้ หนาวสั่น เยอะมาก รวมทั้งมีข่าวออกมามากมายถึงผู้ที่เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน
วันนี้เลยทำการสรุปข้อมูลเรื่องของการเกิดลิ่มเลือดจากวัคซีน หรือที่เรียกว่า vaccine-induced thrombotic thrombocytopenia, or VITT (คล้ายๆ heparin) สั้นๆ ให้กับคนที่กังวลและเพื่อประกอบการตัดสินใจค่ะ
3
🍀หากได้รับวัคซีน AstraZeneca COVID-19 เป็นครั้งแรก ควรกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือไม่?
ต้องบอกก่อนว่าวัคซีนทุกตัวมีความเสี่ยงหากเป็นครั้งแรกที่ได้รับวัคซีน ตราบใดที่มีความเสี่ยงก็ควรตระหนักว่าอาจเกิดขึ้นได้แม้ว่าจะมีน้อยมากค่ะ อัตราประมาณ 1ใน 55,000 สำหรับการฉีดครั้งแรกในเรื่องของการเกิดลิ่มเลือด ( มักพบในผู้ที่อายุน้อยกว่า 54 ปีและเป็นเพศหญิง)
1
แต่ว่าตอนนี้ทางการแพทย์มีความเข้าใจที่ดีขึ้นมากเกี่ยวกับวิธีการวินิจฉัยและรักษาการแข็งตัวของเลือดจากวัคซีนโควิด-19 ที่เรียกว่า ภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่เกิดจากวัคซีน หรือ VITT ( vaccine-induced thrombotic thrombocytopenia)
6
แม้ว่าอัตราการเสียชีวิตในผู้ที่มีประสบการณ์ VITT อยู่ที่ 20 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจุบันอาการดังกล่าวสามารถรักษาได้หากมาโรงพยาบาลทันท่วงทีค่ะ
3
**เน้นย้ำว่าการฉีดวัคซีนเป็นการกระทำที่สำคัญที่ไม่เพียงแต่ปกป้องตัวเองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชุมชนด้วย ประโยชน์ยังมีมากกว่าข้อเสีย
2
🍀ควรฉีดแอสตร้าเซเนก้าเข็มที่สองหรือไม่ ?
1
จากข้อมูลปัจจุบันถ้าหากไม่มีข้อห้ามในการฉีดควรทำการฉีดเข็มที่ 2 (การแพ้ที่รุนแรง อาการข้างเคียงรุนแรง เกิดลิ่มเลือดอุดตัน) หรือนอกเหนือจากว่ามีทางเลือกเป็น mRNA vaccines ซึ่งจะให้ผลด้านภูมิคุ้มกันที่เยอะกว่า ก็ควรได้รับเข็มที่ 2 เป็นตัวเดิม
3
โดยการได้รับวัคซีนครั้งที่สองมีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นการกระตุ้นความจำของการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น จากการที่ฉีดครั้งแรกไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อทั้งหมด และป้องกันการเสียชีวิตจากการติดเชื้อน้อยมากเมื่อเทียบกับครบ 2 เข็ม ยิ่งตอนนี้เชื้อเดลต้ากลายพันธุ์ AstraZeneca ที่มีถือว่าช่วยให้อาการน้อยลงได้ แต่การป้องกันการติดน้อย
10
อย่างไรก็ตามหากมีโอกาสได้รับวัคซีนก็ควรจะฉีดค่ะ (สามารถพิจารณาข้อดีข้อเสียตามเหตุผลส่วนบุคคลได้ค่ะ)
5
🍀มีความเสี่ยงอาการแตกต่างกันสำหรับอาการไม่พึงประสงค์(ลิ่มเลือดอุดตัน)หรือไม่สำหรับการฉีดครั้งที่ 1 และ 2?
6
ความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดหลังการได้รับวัคซีนครั้งที่สองคือประมาณ 1 ใน 600,000 ซึ่งเป็นความเสี่ยงน้อยกว่า 10 เท่าของการแข็งตัวของเลือดหลังของการได้วัคซีนครั้งแรก
(ครั้งแรกอัตราส่วนจะอยู่ที่ 1:50,000- และพบน้อยมากในชาวเอเชีย อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่มักให้ในผู้อายุมากกว่า 50 ปีค่ะ)
5
ดังนั้นหากได้วัคซีนครั้งแรกแล้วไม่มีอาการผิดปกติอะไรก็ควรไปรับวัคซีนครั้งที่ 2 แต่ก็ควรรู้อาการที่เกี่ยวข้องกับลิ่มเลือดที่เกี่ยวกับวัคซีนด้วยเช่นกันค่ะ เพราะเกิดน้อยไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิดเลย
5
🍀เช็คภาวะการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
ปวดศีรษะเฉียบพลัน
หายใจลำบาก
ชาแขนขาข้างเดียว
ไม่มีแรง
มีจ้ำเลือด
ขาบวม
5
หรือมีค่าออกซิเจนปลายนิ้วมือต่ำกว่า 96% (Osat drop)
4
หากอาการเหล่านี้ต้องรีบไปโรงพยาบาล
หวังว่าบทความนี้จะช่วยลดความกังวลของการได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 นะคะ
ส่วนใครที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนก็ขอให้ได้ฉีดในเร็วๆนี้ค่ะ
Ref
1
โฆษณา