19 ก.ค. 2021 เวลา 05:05 • สิ่งแวดล้อม
Impact Investing การลงทุนแบบที่สร้างการเปลี่ยนแปลง
แม้ว่าปัจจุบัน เราอาจจะยังต้องเผชิญกับวิกฤตโรคระบาด COVID19 อยู่ แต่ว่าหลังจากนี้อาจจะยังมีวิกฤตอื่นที่รอการประทุอยู่ หนึ่งในนั้นก็คือวิกฤตปัญหาโลกร้อนหรือ climate change
Impact Investing คืออะไร?? จริงๆแล้ว Impact investing คือกลยุทรการลงทุนรูปแบบหนึ่ง ที่มีเป้าหมาย หรือจุดประสงค์ ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม หรือด้านสิ่งแวดล้อม ให้เห็นได้ชัดเจนและวัดได้จริง ทั้งนี้ Impact Investing อาจจะไม่ได้มีผลตอบแทนเป็นกำไรหรือผลตอบแทนทางการเงินก็ได้
1
ESG ย่อมาจาก Environmental, Social, & Governance นับว่าเป็นอีกหนึ่ง Meta trend ในยุคนี้ ที่เราสามารถเจอได้จากสินค้าทางการเงิน หารบริจาค หรือ การลงทุน ที่มีให้เลือกมากมายและจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ จากภาคเอกชน
อีกหนึ่ง trend ที่สำคัญ และได้รับการสนับสนุนอย่างแพร่หลายทั้วโลก ก็คือ Sustainable Development Goals ของ สหประชาชาติ (UN's SDGs) ที่สอดคล้องไปไปกับ ESG trend
Impact investing นั้นมีอยู่ได้ในหลายๆ sector เช่น ด้านสาธารณสุข(healthcare), การศึกษา(education), เกษตรกรรม(agriculture), หรือด้านพลังงาน(clean energy) และสามารถสร้าง impact ได้ในหลากหลายรูปแบบต่างกันออกไป เช่น เงินลงทุน 1 ล้าน US ดอลล่า เดียวกันนี้ อาจจะสามารถซื้อ COVID19 วัคซีนได้ 100,000 โดส หรือ เงินจำนวณเดียวกันนี้ สามารถสร้างโรงไฟฟ้า Solar rooftop ที่สามารถลดการปล่อย CO2 ได้เท่ากับ 20,000 ตัน
1
Impact investing ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การสร้าง impact ให้กับคนจำนวณมาก หรือสร้าง impact ให้กับสังคมจากตัวเลขหรือผลลัพธ์ที่วัดได้จริง หรือแม้กระทั่งการสร้างผลตอบแทนทางการเงินจากการลงทุนในรูปแบบนี้
Impact investing
ใครบอกว่า Impact Investing จะต้องขาดทุนเสมอไป??
ใครบอกว่า Impact Investing ไม่สามารถทำเงินได้??
Impact Investing บางประเภทไม่สามารถทำเงินหรือสร้างผลตอบแทนได้ แต่ในบาง sector เช่นด้านพลังงาน การลงทุนในรูปแบบนี้สามารถสร้างได้ทั้ง environmental impact ด้านสิ่งแวดล้อม และ financial impact ให้กับสังคมได้ ในรูปแบบของการลดการปล่อย CO2การสร้างงานให้กับชุมชน และผลตอบแทนจากพลังงานสะอาดในรูปแบบของตัวเงิน
ปัจจุบันนี้ พลังงานสะอาดอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV) นั้น มีต้นทุนที่ต่ำกว่าพลังงานรูปแบบเดิมๆที่ใช้การเผาไหม้ (fossil based energy) โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีศักยภาพสูง จึงทำให้ Impact investing ในด้านพลังงานสะอาด เกิดผลตอบแทนได้ดี และน่าดึงดูดให้นักลงทุนหันมาสนใจในธุรกิจกลังงานที่ช่วยสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แถมยังได้ผลตอบแทนทางการเงินที่น่าพอใจอีกด้วย
ในบางประเทศที่มีต้นทุนการลงทุนใน Solar ต่ำ และมีต้นทุนพลังงานไฟฟ้าดั้งเดิมที่แพง จึงทำให้เหมาะมากที่จะนำการใช้พลังงานสะอาดอย่าง Solar PV เข้ามาใช้ เช่นประเทศไทย ซึ่งการลงทุนโดยตรงไปยัง Solar PV เช่นระบบ Solar rooftop นั้น นอกจาก impact ทางด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถได้ผลตอบแทนทางการเงินได้สูงถึง 15-20% ต่อปี โดยพลังงานสะอาดส่วนใหญ่ มีข้อดีคือ การบำรุงรักษาต่ำ อายุการใช้งานยาวนาน(Solar rooftop มีอายุการใช้งานมากกว่า 25 ปี) และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงที่สิ้นเปลืองและไม่ปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม
โดยการสร้าง impact investing ที่ช่วยลดการปล่อย CO2 จากพลังงานสะอาด Solar PV นี้ มีปัจจัยอะไรกันบ้างนั้น มาดูกัน
1. ต้นทุนของพลังงานสะอาดที่ผลิตได้จากต้นทุนการลงทุน คิดตลอดอายุการใช้งาน คิดเป็น USD/kWh หรืออาจจะคิดเป็น บาทต่อหน่วย (THB/kWh) โดยปัจจุบัน ต้นทุนตรงนี้ จะถูกกว่าพลังงานที่เราซื้อจากการไฟฟ้าอยู่แล้ว
2. พลังงานไฟฟ้า (kWh) ที่พลังงานสะอาดเหล่านี้ผลิตได้ ที่นำมาทดแทนจากการซื้อไฟฟ้าดั้งเดิม โดยอาจจะนับเป็นหน่วย kg of CO2/kWh หรือ กิโลกรัมของคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยไฟฟ้า โดยจะขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ หรือพื้นที่ใช้พลังงานไฟฟ้านั้น เช่น
- การซื้อไฟฟ้าดั้งเดิมที่มาจากระบบผ่านสายส่ง จะมีการปล่อย CO2 เท่ากับ 1kg ต่อทุกๆหน่วยไฟฟ้า(kWh)
- หากระบบ Solar ของเราที่ผลิตได้เท่ากับ 500 หน่วย(kWh) ต่อวัน จะหมายความว่า เราลดการใช้พลังงานดั้งเดิมลงไป 500 หน่วย และนั้นก็คือการลดการปล่อย CO2 ไป 500kg ต่อวันด้วยนั่นเอง
3. ปัจจัยอื่นๆ เช่น การลงทุนในระบบสายส่ง, การสูญเสียในระบบ(system loss), ต้นทุนการดูแลรักษาระบบ, พฤติกรรมการใช้ไฟ, ระบบไฟฟ้า และ ตำแหน่งบนพื้นโลก
สุดท้ายจากปัจจัยทั้งหมด เราจะสามารถได้ตัวเลขนึงขึ้นมา เป็นหน่วย kg CO2 / USD หรือ kg CO2 / THB หรือ ปริมาณ CO2 ที่ช่วยลดได้ต่อบาท จึงทำให้สามารถสรุปได้ว่าการที่จะทำให้เกิด impact สูงสุด หรือ มีการลดการปล่อย CO2 ใหม่มากที่สุดจากการลงทุนแบบ impact investing เราต้องทำให้ทุกปัจจัยมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อให้ได้ impact kg CO2 / THB สูงที่สุด
การลงทุนไปยังโครงการพลังงานสะอาดที่มีทั้งผลตอบแทนทางการเงิน(THB/kWh) และ ผลตอบแทนทางด้านสิ่งแวดล้อม(kg CO2 / THB) ที่ดีที่สุด
โครงการอย่าง Solar farm ขนาดใหญ่ อาจจะได้ต้นทุนต่อหน่วยทางการลงทุนที่ถูกกว่า แต่ก็มีข้อจำกัดมากเช่น ใช้พื้นที่มหาศาล เวลาพัฒนาโครงการที่ยาวนาน การลงทุนในระบบสายส่ง การเมือง และปัจจัยอื่นๆ
ส่วนโครงการอย่าง solar ตามบ้าน ที่อยู่อาศัยนั้น ต้นทุนต่อหน่วยที่ทำได้ยังถือว่าสูงอยู่ และก็มีข้อจำกัดมากเช่นกัน อย่างเช่น การเปลี่ยนเจ้าของที่อยู่อาศัย พฤติกรรมการใช้ไฟที่ไม่แน่นอนและไม่ค่อยเหมากับ Solar การบำรุงรักษาที่ทำยากและต้นทุนสูงกว่า
โครงการ solar ในภาคธุรกิจเช่น อาคาร โรงงาน ต่างๆของภาคเอกชนจึงเหมาะแก่แนวทาง impact investment มากที่สุด และยัง อีกทั้งภาคธุรกิจ จริงๆแล้วก็คือลูกค้าผู้ใช้ไฟที่ใหญ่ที่สุดอีกด้วย จึงทำให้เกินการขยายและ economy of scale ได้ดีกว่า
แบ่งเป็นปัจจัยหลักๆสำหรับ impact investing ใน solar for business สำหรับภาคธุรกิจ มีปัจจัยหลักๆดังนี้
- การลงทุนที่ไม่สูงมาก สมเหตผลกับต้นทุนต่อหน่วย (THB/kWh) และสามารถขยายให้เกิด economy of scale ได้
- บริการจัดการและดูแลระบบที่ทำได้ง่ายกว่า
- ประสิทธิภาพโดยรวมสูงที่สุด เพราะไม่จำเป็นต้องลงทุนในระบบสายส่งไฟฟ้าอย่าง solar farm พลังงานที่ผลิตได้ สามารถนำมาใช้ได้ในที่ผลิตนั้นๆได้เลย
- มีความต้องการในการใช้ไฟ และพฤติกรรมสม่ำเสมอกว่า เหมาะกับพฤติกรรมการผลิตไฟฟ้าจาก solar
Solar สำหรับภาคธุรกิจจึงนับว่าเป็นการลงทุนที่ลงตัวที่สุด สามารถใช้ประสิทธิภาพของเงินลงทุนให้เกิดทั้งผลตอบแทนทางการเงินและผลตอบแทนด้านสิ่งแวดล้อมได้สูงสุด
Maximize both financial and environmental return! Maximize your money and CO2 saving with ENERGY-BANK
คุณก็สามารถเข้าไปดูโครงการพลังงานสะอาด Solar rooftop จากภาคธุรกิจที่เราสามารถช่วยผู้ประกอบการ ลดต้นทุน ลดการปล่อย CO2 และยังได้ผลตอบแทนเพื่อเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยื่นได้ https://app.energy-bank.co/projects
โครงการปัจจุบันทั้งหมดของเรา ยังสามารถสร้าง impact ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีตัวเลขอยู่ที่ >1kg of CO2 saving per THB และเรายังพัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้ได้ผลที่ดีขึ้นไปเรื่อยๆอีกด้วย
Real effective impact investing case from ENERGY-BANK.co(see https://app.energy-bank.co/clean-energy-investment)
โฆษณา