19 ก.ค. 2021 เวลา 11:04 • ประวัติศาสตร์
ความตายที่น่าสยดสยองของ “เบนิโต มุสโสลินี (Benito Mussolini)”
“เบนิโต มุสโสลินี (Benito Mussolini)” อดีตผู้นำอิตาลี ถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ.1945 (พ.ศ.2488)
2
หากแต่การตายของเขายังไม่ใช่จุดจบ โดยเมื่ออดีตผู้นำอิตาลีเสียชีวิต ศพของเขาก็ยังถูกนำมาประจาน ประชาชนที่โกรธแค้นจำนวนมากได้หยาม นำศพของเขามาประจานอย่างรุนแรง
แต่ทำไมชาวอิตาลีถึงได้โกรธแค้นชิงชังเขาถึงขนาดนี้? ลองมาหาคำตอบกันครับ
3
“เบนิโต มุสโสลินี (Benito Mussolini)” เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ.1883 (พ.ศ.2426) ที่ประเทศอิตาลี
เขาเป็นเด็กที่ฉลาดและช่างซักถาม โดยช่วงแรกนั้น เขาตั้งใจจะเป็นอาจารย์ ก่อนที่จะเปลี่ยนใจในภายหลัง
1
มุสโสลินีในวัยเด็ก
เมื่ออยู่ในวัย 20 กว่า มุสโสลินีได้ออกหนังสือพิมพ์ของตนเอง โดยเน้นไปที่การโปรปากันด้า โฆษณาชวนเชื่อ และถ่ายทอดแนวคิดทางการเมือง อีกทั้งยังสนับสนุนความรุนแรงเพื่อการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย
1
มุสโสลินีถูกจับและคุมขังในเวลาต่อมา เนื่องจากเขาเป็นผู้ส่งเสริมและปลุกระดมให้เกิดความรุนแรงในเวทีต่างๆ อีกทั้งยังสนับสนุนการประท้วงหยุดงานของคนงานในสวิตเซอร์แลนด์เมื่อปีค.ศ.1903 (พ.ศ.2446)
2
มุมมองทางการเมืองของมุสโสลินีก็รุนแรงสุดขั้ว มากซะจนแม้แต่พรรคสังคมนิยมเองก็ยังไล่เขาออกจากพรรค
2
ปลายปีค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เริ่มต้นขึ้น มุสโสลินีก็ได้ออกหนังสือพิมพ์ที่ชื่อว่า “The People of Italy”
1
หนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีเพื่อเผยแพร่ปรัชญาทางการเมืองของลัทธิชาตินิยมและลัทธิทหาร รวมทั้งลัทธิการปกครองโดยความรุนแรง
2
ภายหลังจากทำงานเป็นนักข่าวและมือปืนในกองทัพในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มุสโสลินีก็ได้ก่อตั้ง “พรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ (National Fascist Party)” ในปีค.ศ.1921 (พ.ศ.2464)
1
สัญลักษณ์ของพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์
ผู้คนจำนวนมากได้เข้าร่วมและสนับสนุนพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ อีกทั้งมุสโสลินีก็ตั้งกองกำลังที่มีเครื่องแบบเป็นเสื้อสีดำ ทำให้มุสโสลินีเริ่มโด่งดัง เป็นที่รู้จักจากสปีชที่เผ็ดร้อนและมุมมองทางการเมืองที่รุนแรง
1
กลุ่มเชิ้ตดำก็กระจายไปทั่วทางภาคเหนือของอิตาลี และได้วางเพลิงสถานที่ราชการต่างๆ รวมทั้งสังหารศัตรูของมุสโสลินีอีกนับร้อย
2
ค.ศ.1922 (พ.ศ.2465) มุสโสลินีได้เรียกให้มีการประท้วงหยุดงานของคนงาน และเดินขบวนสู่กรุงโรม
3
กองกำลังฟาสซิสต์กว่า 30,000 คนได้เข้ามาถึงกรุงโรม และเรียกร้องให้เกิดการปฏิวัติ ทำให้ผู้นำอิตาลีไม่มีทางเลือกนอกจากมอบอำนาจให้พรรคของมุสโสลินี
1
29 ตุลาคม ค.ศ.1922 (พ.ศ.2465) “พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี (Victor Emmanuel III of Italy)” พระประมุขแห่งอิตาลี ได้ทรงแต่งตั้งมุสโสลินีเป็นนายกรัฐมนตรี
4
มุสโสลินีวัย 39 ปีกลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุด และก็มีฐานผู้สนับสนุนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
1
พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี (Victor Emmanuel III of Italy)
ช่วงกลางยุค 30 (พ.ศ.2473-2482) มุสโสลินีได้หาทางขยายอำนาจของอิตาลี โดยในปีค.ศ.1935 (พ.ศ.2478) กองทัพของมุสโสลินีได้เข้ารุกรานเอธิโอเปีย และศึกนี้ก็จบลงด้วยชัยชนะของอิตาลี และประกาศให้เอธิโอเปียเป็นอาณานิคมของอิตาลี
1
ห้าปีหลังการบุกเอธิโอเปีย มุสโสลินีก็จับตาดู “อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler)” ผู้นำพรรคนาซีเยอรมัน ซึ่งกำลังรุกรานฝรั่งเศส
1
มุสโสลินีคิดว่าผู้ที่ควรจะได้บุกฝรั่งเศสควรเป็นอิตาลี หากแต่กองทัพเยอรมันนั้นใหญ่กว่า แข็งแกร่งกว่า อาวุธก็ทันสมัยกว่า
3
สิ่งที่ทำได้ คือเข้าเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี และทำสงครามต่อศัตรูของเยอรมนี
มุสโสลินีและฮิตเลอร์
ยิ่งนานวัน อิตาลีก็ยิ่งถลำลึก เป็นศัตรูกับแทบทุกประเทศทั่วโลก มีเพียงเยอรมนีที่คอยหนุนหลัง
มุสโสลินีก็เริ่มตระหนักว่ากองทัพของตนนั้นอ่อนด้อย หากอยากครองอำนาจในฐานะเผด็จการ เขาจำเป็นต้องมีกองทัพที่เข้มแข็ง
1
ในไม่ช้า อิตาลีก็ได้ใช้กำลังทางทหารรุกรานกรีซ หากแต่คราวนี้ไม่ประสบความสำเร็จและไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน
1
ในเวลานั้น ผู้คนจำนวนมากในอิตาลีนั้นตกงานและอดอยาก เริ่มต่อต้านรัฐบาล และหากไม่ได้กองกำลังของฮิตเลอร์ช่วยเหลือ ก็น่าจะเกิดรัฐประหาร
1
ด้วยแรงกดดันจากหลายฝ่าย ทำให้มุสโสลินีถูกปลดออกจากตำแหน่งในปีค.ศ.1943 (พ.ศ.2486) อีกทั้งกองทัพสัมพันธมิตรก็ได้ยึดคืนแอฟริกาเหนือจากอิตาลี รวมทั้งซิซิลีก็ตกอยู่ในมือของสัมพันธมิตร
4
กองกำลังขององค์กษัตริย์ได้จับกุมตัวมุสโสลินี และนำไปคุมขังในโรงแรมบนภูเขาอบรุซซี
1
กองทัพเยอรมัน ในทีแรกก็ไม่คิดจะช่วยมุสโสลินี หากแต่ก็เปลี่ยนใจ ส่งกองกำลังมาช่วยมุสโสลินีออกไป และให้มุสโสลินีนั่งเครื่องบินกลับมายังมิวนิก เยอรมนี เพื่อพูดคุยกับฮิตเลอร์
2
ฮิตเลอร์เสนอให้มุสโสลินีก่อตั้งรัฐฟาสซิสต์ในบริเวณภาคเหนือของอิตาลี โดยใช้มิลานเป็นศูนย์บัญชาการ ซึ่งจะทำให้มุสโสลินียังคงครองอำนาจ และมีฮิตเลอร์เป็นพันธมิตร
2
มุสโสลินีทำตาม และก็ได้รับชัยชนะ และได้ทำการกวาดล้างศัตรู
2
สมาชิกพรรคฟาสซิสต์ได้ทำการทรมานและฆ่าคนที่เห็นต่าง อีกทั้งยังขับไล่ชาวต่างชาติ โดยทั้งหมดนี้ กองทัพเยอรมันคอยให้การสนับสนุน
2
วันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ.1944 (พ.ศ.2487) พรรคฟาสซิสต์ได้ทำการกวาดต้อนกลุ่มผู้ต่อต้านฟาสซิสต์จำนวน 15 คน กวาดต้อนมายัง Piazzale Lereto ซึ่งเป็นจัตุรัสในเมืองมิลาน และยิงผู้ต่อต้านฟาสซิสต์ทั้ง 15 คนจนเสียชีวิต
1
ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ.1945 (พ.ศ.2488) สงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรปได้จบลง โดยอิตาลีนั้นพ่ายแพ้ และหลายคนก็โทษว่าเป็นความผิดของมุสโสลินี
1
แต่การจะจับมุสโสลินีก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรเสี่ยง ถึงแม้ว่าฮิตเลอร์จะพ่ายแพ้ แต่หลายคนก็ยังเกรงฮิตเลอร์อยู่
1
25 เมษายน ค.ศ.1945 (พ.ศ.2488) มุสโสลินีตกลงที่จะพบกับกลุ่มผู้ต่อต้านฟาสซิสต์ในมิลาน และครั้งนี้ เขาก็ได้รู้ว่าเยอรมนีได้เริ่มต่อรองให้มุสโสลินียอมแพ้ สร้างความโกรธแค้นให้มุสโสลินีเป็นอย่างมาก
5
มุสโสลินีได้พา “คลารา เพทัคชี (Clara Petacci)” ผู้ซึ่งเป็นชู้รักของเขา มุ่งขึ้นเหนือ ไปต่อขบวนเรือ มุ่งไปยังชายแดนสวิตเซอร์แลนด์
2
มุสโสลินีคิดว่าอย่างน้อย การที่เขาหลบหนีออกจากอิตาลี เขาก็จะได้ใช้ชีวิตที่เหลืออย่างสงบ
2
แต่ความหวังของมุสโสลินีก็ไม่อาจเป็นจริง โดยขณะอยู่บนเรือ มุสโสลินีซึ่งได้ปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่นาซี ด้วยการนำหมวกและเสื้อโค้ตนาซีมาใส่ แต่ก็ไม่เป็นผล เนื่องจากมีคนจำเขาได้ เนื่องจากที่ผ่านมา ผู้คนล้วนคุ้นหน้าเขาผ่านโปสเตอร์โฆษณาโปรปากันด้า
1
กลุ่มผู้ต่อต้านซึ่งได้บทเรียนจากคราวที่นาซีบุกมาช่วยเหลือมุสโสลินี ตัดสินใจกุมตัวมุสโสลินีและเพทัคชี และนำตัวไปยังหมู่บ้านห่างไกล
วันต่อมา มุสโสลินีและเพทัคชีถูกสั่งให้หันหน้าเข้าหากำแพง ก่อนที่กลุ่มผู้ที่จับกุม จะยิงปืนใส่มุสโมลินีและเพทัคชีจนทั้งคู่ขาดใจตาย
1
ศพของมุสโสลินีและเพทัคชี
แต่ถึงมุสโสลินีจะตายไปแล้ว กลุ่มต่อต้านก็ยังไม่พอใจ
ได้มีการจับตัวผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นสมาชิกฟาสซิสต์ และทำการสังหาร
ไม่เพียงแค่นั้น ค่ำคืนหลังจากที่มุสโสลินีถูกสังหาร ก็ได้มีรถบรรทุกวิ่งเข้ามายังลานกลางเมืองมิลาน และเทศพจำนวน 18 ศพลงมาจากหลังรถ โดยศพทั้งหมดนั้น คือครอบครัวมุสโสลินี ครอบครัวเพทัคชี และผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกฟาสซิสต์
1
ที่สำคัญก็คือ บริเวณนี้คือจุดเดียวกับที่มุสโสลินีสังหารผู้ต่อต้านฟาสซิสต์ในปีค.ศ.1944 (พ.ศ.2487)
ประชาชนซึ่งกำลังโกรธแค้น ต่างเอาผักเน่ามาเทลงบนศพ และถีบ เตะศพอย่างโกรธแค้น โดยหญิงรายหนึ่ง ยิงปืนใส่หัวของศพมุสโสลินีอีกห้านัด โดยแต่ละนัดนั้นแทนลูกชายแต่ละคนที่เธอต้องสูญเสียไปในสงครามที่ไม่ได้เรื่องของมุสโสลินี
3
แต่เท่านี้ยังไม่สะใจ ได้มีการนำศพแต่ละศพมามัดขา และแขวนไว้กับคาน ท่ามกลางเสียงเชียร์ของประชาชน
1
ศพที่ถูกประชาชนแขวน
ข่าวการตายที่น่าสังเวชของมุสโสลินีหลุดไปถึงฮิตเลอร์ ทำให้ฮิตเลอร์ถึงกับกล่าวว่า
“เรื่องแบบนี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นกับฉัน”
2
สุดท้ายแล้ว กองทัพอเมริกันก็ไปนำศพลงมา และจัดการฝังให้เรียบร้อย
1
การตายของมุสโสลินี สะท้อนอะไรหลายๆ อย่าง
จากจุดที่รุ่งเรืองที่สุดในชีวิต เป็นผู้นำคนทั้งประเทศ หากแต่ด้วยการบริหารและตัดสินใจที่ผิดพลาด รวมถึงการไม่ยอมรับความผิดพลาดของตน ก็ทำให้จุดจบของเขา กลายเป็นศพที่ห้อยอยู่กับคาน ไม่ต่างอะไรจากสัตว์ในโลงเชือด และเต็มไปด้วยเสียงก่นด่าสาปแช่งของ “ประชาชน”
2
โฆษณา