19 ก.ค. 2021 เวลา 11:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
จุดเปลี่ยนการส่งออก เมื่อโลกเริ่มไม่สนใจไทยอีกต่อไป
5
จับสัญญาณไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
4
ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยถูกกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโควิด-19
ตัวเลขเศรษฐกิจที่หดตัวแรงและผลกระทบเฉพาะหน้าอาจบดบังภาพความอ่อนแอระยะยาวของเศรษฐกิจไทยไป
3
KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร เคยตั้งคำถามว่าทำไมต่างชาติเริ่มขายหุ้นไทยมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2015 ซึ่งสะท้อนความสนใจที่ลดลงต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในระยะยาว
4
สาเหตุสำคัญเกิดจากผลตอบแทนที่ต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ ตามทิศทางเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลง
12
ในวันนี้ประเมินว่านอกเหนือจากการเทขายหุ้นยังมีสัญญาณอื่น ๆ ที่สะท้อนปัญหาเศรษฐกิจและความน่าสนใจของไทยในตลาดโลกที่ลดลง
2
ไม่ว่าจะเป็นการย้ายฐานการผลิตออกจากไทย การเข้ามาลงทุนที่ลดลง และความต้องการสินค้าส่งออกของไทยที่ชะลอลง
2
ทั้ง 3 สัญญาณสะท้อนว่าต่างชาติกำลังเมินประเทศไทยและอาจจะเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่บอกว่าไทยกำลังสูญเสีย “ความสามารถในการแข่งขัน”
13
ซึ่งจะเป็นอีกประเด็นที่สำคัญมากที่สุดสำหรับเศรษฐกิจไทยในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อหลังฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19
4
ไม่ใช่แค่หุ้น . . . แต่ไทยกำลังเสียความน่าสนใจทั้งในการเป็นฐานการผลิตและ
สินค้าส่งออก
6
KKP Research พบว่าในช่วงที่ผ่านมาไม่ใช่แค่เพียงการขายหุ้นออกจากตลาดหุ้นไทยแต่สัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศลดลงต่อเนื่องเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
3
โดยสัดส่วนการเข้ามาลงทุนในไทยเมื่อเทียบกับมาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ลดลงเหลือเพียงประมาณ 10% เท่านั้น
3
ในช่วงปี 2016-2019 จากที่เคยสูงเกินกว่า 30% ในช่วงปี 2004-2007 สิ่งที่น่าสนใจ คือ โครงสร้างการลงทุนทางตรงในไทยตามประเภทธุรกิจก็เปลี่ยนแปลงไปมากเช่นกัน
2
การลงทุนในภาคการผลิตซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตระยะยาวมากที่สุดเพราะเอื้อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยีและความสามารถในการผลิตมาสู่ไทยมีสัดส่วนลดลงค่อนข้างมาก
3
ในขณะที่การลงทุนในภาคบริการทางการเงิน และการก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้น ในระยะหลังและเริ่มมีการย้ายฐานการผลิตออกจากไทย
3
ยิ่งไปกว่านั้น KKP Research พบว่าแม้การส่งออกไทยในปี 2021 จะเติบโตได้ดีเนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวแรง
3
แต่ตัวเลขการส่งออกของไทยในช่วงที่ผ่านมาเติบโตช้ากว่าหลายประเทศทั่วโลกมาก
2
การฟื้นตัวที่ช้าเป็นสัญญาณว่าเรากำลังสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับประเทศอื่นซึ่งอาจเกิดจากความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง หรือเป็นสัญญาณว่าสินค้าที่เราส่งออกในวันนี้อาจเริ่มจะเป็นที่ต้องการน้อยลงสำหรับตลาดโลก
7
คนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศในปี 2021 แล้วกว่า 3 แสนล้านบาท
2
ไม่ใช่แค่ต่างชาติที่เริ่มหนีออกจากไทยแต่การออกไปลงทุนในต่างประเทศของทั้งธุรกิจและนักลงทุนไทยเองก็มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
3
การออกไปลงทุนต่างประเทศส่วนหนึ่งสะท้อนภาพตลาดการเงินระหว่างไทยกับต่างประเทศที่มีการเปิดเสรีมากขึ้น
แต่การออกไปลงทุนที่เร่งตัวขึ้นในระยะหลังก็เป็นภาพสะท้อนความอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยที่ทำให้นักลงทุนในไทยเองหันไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
3
โดยเฉพาะตัวเลขในปี 2021 ที่นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศสูงที่สุดในรอบ 10 ปีมูลค่ากว่า 300,000 ล้านบาทในไตรมาส 1 ปี
7
ยิ่งไปกว่านั้นการลงทุนทางตรงในต่างชาติจากบริษัทไทยก็เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน
3
โดยตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นจาก 4 % ของ GDP ในปี 2006 เป็น 34% ของ GDP ในปี 2020 ในขณะที่การลงทุนในตลาดการเงินที่สูงขึ้นจาก 2% ในปี 2006 เป็น 16% ในปี 2020
7
ทำไมต่างชาติถึงเมินไทยในทุกมิติ?
5 ประเด็นปัญหาความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของไทย
1
KKP Research ประเมินว่าสัญญาณการหนีออกจากไทยในหลายมิติทั้งตลาดหุ้น การลงทุนทางตรง และตลาดสินค้าส่งออก
เป็นผลมาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยที่ยังไม่มีการปรับตัวและพัฒนา และถือเป็นเครื่องตอกย้ำให้เห็นถึงความน่ากังวลของปัญหาความสามารถในการแข่งขันที่ยากที่จะเปลี่ยนแปลงในเร็ววัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความท้าทายต่อภาคการส่งออกที่เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทยมาโดยตลอด และมีมูลค่าถึงประมาณ 60% ของเศรษฐกิจในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
2
ปัญหาความสามารถในการแข่งขันส่วนหนึ่งเกิดจากโครงสร้างเศรษฐกิจที่ยังเป็นเศรษฐกิจแบบเก่า
7
เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างการส่งออกย้อนหลังตั้งแต่ปี 1996-2019 จะพบว่าไทยมีโครงสร้างการส่งออกที่ไม่สอดคล้องกับเทรนด์ของโลกยุคใหม่ การพัฒนาการส่งออกของไทยย้อนหลังไปกว่า 25 ปี
9
ในภาพรวมจะพบการพัฒนาที่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่ม resource-based manufacture รวมถึงกลุ่มอาหารและอุตสาหกรรมเกษตร และสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลางเฉพาะการส่งออกรถยนต์
1
ในขณะที่การพัฒนาการส่งออกในกลุ่มที่เป็นสินค้าประเภทเทคโนโลยีระดับสูง (high technology) มีสัดส่วนน้อยและไม่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
1
ซึ่งสะท้อนชัดเจนผ่านตัวเลขสัดส่วนการส่งออกของไทยเมื่อเทียบกับโลกในสินค้ากลุ่มนี้ที่คงที่มาตลอด 25 ปี
ในขณะที่ความต้องการสินค้าเทคโนโลยีเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่อาจทำให้ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันโดยไม่รู้ตัว
จากข้อมูลความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (revealed comparative advantage) ที่สะท้อนความสามารถการแข่งขันของไทย
2
พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศลำดับของความได้เปรียบในการส่งออกของสินค้าไทยกำลังสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับตลาดโลกมากถึง 37% ของมูลค่าการส่งออกสินค้า
4
โดยเมื่อพิจารณาในแต่ละอุตสาหกรรมพบว่ากลุ่มสินค้าที่เราสูญเสียส่วนแบ่งตลาดไปมากที่สุดอยู่ในกลุ่มสินค้าที่เรามีความถนัดสูง คือ ภาคเกษตรได้แก่ ข้าว ยาง และประมง
1
เป็นสัญญาณว่ากลุ่มสินค้าเดิมที่เคยส่งออกได้ดีของไทยก็เผชิญกับความท้าทายจากคู่แข่งที่มีความสามารถมากขึ้นเช่นกัน
2
ในขณะที่สินค้าในกลุ่มรถยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดมีความสามารถในการแข่งขันที่ดีขึ้น
1
อย่างไรก็ตามแม้ว่าการส่งออกไทยมีการขยายตัวในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นกลาง แต่ส่วนใหญ่ไทยเป็นเพียง”ผู้รับจ้างผลิต”และไม่ใช่เจ้าของเทคโนโลยี
6
ความน่ากังวล คือ โดยส่วนใหญ่ในการส่งออกสินค้าทั้งกลุ่มเทคโนโลยีขั้นกลาง โดยฉพาะรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ไทยไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเองและรับหน้าที่เป็นเพียงผู้ประกอบสินค้าเท่านั้น
2
และนโยบายไม่เอื้อให้เกิดกระบวนการถ่ายโอนเทคโนโลยีมาสู่บริษัทไทยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในช่วงที่ผ่านมาอย่างชัดเจน สะท้อนจากสัดส่วนมูลค่าเพิ่มต่อมูลค่าส่งออกในสินค้ากลุ่มนี้ที่ค่อนข้างคงที่มาตั้งแต่ปี 2005
2
เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับ 5 ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทำให้ความสามารถในการแข่งขันอ่อนแอลง
1. ถึงแม้ว่าความสามารถในการแข่งขันของไทยในภาพรวมไม่ได้แย่มากนักแต่ยังน่ากังวลในมิติสถาบันเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน และคุณภาพแรงงาน
2
แม้ในภาพรวมความสามารถในการแข่งขันของไทยจะอยู่ในลำดับที่ 40 จาก 137 ประเทศ ในปี 2019
1
ตามรายงานของ World Economic Forum แต่สิ่งที่น่ากังวล คือ ไทยยังมีปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นต่อเนื่องและยังไม่มีนโยบายแก้ไขที่ชัดเจน
เช่น การผูกขาดของตลาดสินค้าในประเทศ ภาษีการค้าระหว่างประเทศที่ยังสูง บทบาทของสถาบัน โครงสร้างพื้นฐาน ทักษะแรงงาน ยิ่งไปกว่านั้นในระยะหลังประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามมีการพัฒนาในหลายหัวข้อแต่ไทยยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน
2. โครงสร้างการผลิตสินค้าของไทยยังมีสัดส่วนของสินค้า High-tech ที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง และมีการพัฒนาที่ล่าช้า
1
ไทยยังมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าในกลุ่ม high technology เมื่อเทียบกับการส่งออกทั้งหมดต่ำกว่าภูมิภาคและประเทศในระดับรายได้ใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีความต้องการสูงจากตลาดโลกในช่วงที่ผ่านมา
1
โครงสร้างการส่งออกสินค้าของไทยในปัจจุบันยังขาดสินค้าในกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูง หากเปรียบเทียบสินค้าส่งออกกับประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามจะเห็นภาพชัดว่าเวียดนามมีการพัฒนาการผลิตสินค้าไปในกลุ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ มากขึ้น
2
โดยเฉพาะโทรศัพท์แบบเครื่องและพกพา ที่เป็นที่ต้องการในตลาดโลกและไทยยังแทบไม่มีการผลิตสินค้ากลุ่มนี้
1
ยิ่งไปกว่านั้นการเติบโตของการส่งออกไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมายังเน้นการโตในสินค้ากลุ่ม medium technology
2
ทำให้สินค้าส่วนใหญ่ยังพึ่งพาแรงงานทักษะต่ำ และการพัฒนาสินค้ากลุ่ม High technology ช้ากว่าประเทศคู่แข่ง
1
เมื่อเทียบกับภูมิภาคหรือประเทศในกลุ่มรายได้ปานกลางด้วยกันจะพบว่ามีการเน้นการเติบโตการส่งออกในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีระดับสูงมากกว่าไทยซึ่งอาจทำให้ไทยโดนทิ้งห่างด้านความสามารถในการแข่งขันในอนาคต
2
3. ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องส่งผลสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันระยะยาว ในช่วงที่ผ่านมาไทยมีอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำมากจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
12
และทำให้ไทยมีช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุนที่สูง เป็นเหตุผลสำคัญที่อธิบายค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันมากว่า 5 ปีหรือแข็งขึ้นกว่า 20% และส่งผลกระทบต่ออัตรากำไร (margin) ของธุรกิจส่งออก
3
รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงห้าปีที่ผ่านมา แม้จะเป็นเครื่องจักรสำคัญที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทย
2
แต่ก็บดบังปัญหาความสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม และส่งผลทำให้เกิดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดกดดันค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอีก
3
ซึ่งเป็นปรากฏการณ์คล้ายกับภาวะ Dutch disease ที่รายได้ต่างประเทศจากการค้นพบก๊าซธรรมชาติในเนเธอร์แลนด์ทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น
และทรัพยากรไหลเข้าไปในภาคปิโตรเลียม จนกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในระยะยาว
2
4. ไทยเคยได้ประโยชน์จากค่าแรงราคาถูก ที่ดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทย ความน่ากังวลในวันนี้คือ
1
หากดูตัวเลขค่าแรงของไทยจะพบว่าค่าแรงเริ่มปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ผลิตภาพยังไม่ถูกพัฒนาไปมากทำให้ไม่สามารถดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนสูงได้
2
5. เศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกำลังจะเข้าสู่สังคมสูงอายุ และยังไม่มีแผนการลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ชัดเจน
3
ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยกำลังจะเผชิญความท้าทายจากโครงสร้างประชากรที่มีแนวโน้มเปลี่ยนไปเป็นสังคมสูงอายุเต็มตัวในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จะส่งผลให้แรงงานของประเทศลดลง ขนาดของตลาดในประเทศเล็กลง
1
ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจ (potential growth) ต่ำลง เมื่อตลาดขยายตัวได้ช้าความน่าสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในไทยก็ลดน้อยลงไป
ที่น่ากังวลไปกว่านั้นคือการลงทุนและการพัฒนาด้าน R&D ของไทยที่จะช่วยเพิ่มผลิตภาพยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
1
สินค้าส่งออกหลักของไทยกำลังเผชิญความท้าทายอย่างหนัก… ?
KKP Research ประเมินว่าในช่วงหลังจากนี้ไปสินค้าส่งออกหลักของไทยกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายจากปัจจัยในประเทศ เทคโนโลยีใหม่ โครงสร้างการบริโภคที่เปลี่ยนไป และการแข่งขันจากต่างประเทศ
ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ช้าลง โดยประเมินความท้าทายใน 5 กลุ่มสินค้าสำคัญ ดังนี้
1. การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไทยส่วนใหญ่เป็น Hard disk drive ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่
1
นอกเหนือจากสัดส่วนการส่งออกสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูงของไทยที่อยู่ในระดับต่ำแล้ว
เมื่อดูในรายละเอียดจะพบว่าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ไทยส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าในกลุ่ม storage ที่ใช้เพื่อการจัดเก็บข้อมูล เช่น hard disk drive ซึ่งไทยส่งออกมากเป็นอันดับที่สองของโลกรองจากจีน
ในขณะที่ไทยไม่มีการพัฒนาการผลิตไปสู่สินค้ากลุ่มเทคโนโลยีใหม่ เช่น semiconductor ที่เติบโตได้มากและใช้ประโยชน์ในการผลิตสมาร์ทโฟนและเทคโนโลยี 5G และ solid-state drive (SSD)
ซึ่งอาจกำลังเข้ามาแทนที่การใช้ hard disk drive ในการเก็บข้อมูลเพราะมีประสิทธิภาพที่สูงกว่า และไทยยังไม่มีแผนปรับโครงสร้างการส่งออกไปสู่สินค้ากลุ่มเหล่านี้ที่ชัดเจน
1
2. ประเทศไทยได้รับอานิสงส์จากการเข้ามาลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลง ประเด็นที่น่ากังวลคือเราเริ่มเห็นสัญญาณทั้งการลงทุนทางตรงจากญี่ปุ่นโดยเฉพาะในภาคการผลิตที่ชะลอตัวลง
และการย้ายฐานการผลิตออกจากไทยของบางบริษัทในช่วงที่ผ่านมา เช่น พานาโซนิก ข้อมูลที่น่าสนใจจาก Jetro survey สะท้อนภาพว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นมีแผนขยายกิจการในไทยลดลง และน้อยกว่าทั้งเวียดนามและค่าเฉลี่ยในภูมิภาคอาเซียน
โดยมีเหตุผลสำคัญที่เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจในไทย คือ ยอดสั่งซื้อที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ ค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น คุณภาพของแรงงาน และการเจรจาข้อตกลงการค้าใหม่ ๆ ที่ล่าช้า
2
เช่น ข้อตกลง CPTPP หรือข้อตกลการค้าเสรีกับกลุ่ม EU ที่เวียดนามสามารถเจรจาได้สำเร็จแล้วแต่ไทยยังไม่สามารถทำได้จะเป็นอีกแรงผลักให้เกิดการย้ายฐานการผลิตเร็วขึ้น
2
ยิ่งไปกว่านั้นบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าในญี่ปุ่นกำลังเผชิญหน้ากับการแข่งขันและแรงกดดันอย่างมากจากคู่แข่ง เช่น เกาหลี ทำให้รายได้และกำไรลดลงไป ทำให้บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งจะเติบโตได้ไม่ดีเท่าในอดีต
3. การส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบที่เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในกำลังจะถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV
2
อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์และส่วนประกอบไทยมีความสำคัญเป็นลำดับต้นต่อเศรษฐกิจไทย
2
หล่อเลี้ยงการจ้างงานถึงกว่า 8 แสนตำแหน่ง บนโซ่การผลิตที่แข็งแกร่ง และมีมูลค่าส่งออกสูงมากกว่า 17% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย
ความเข้มข้นดังกล่าวสะท้อนถึงความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยบนการแข่งขันของโลก โดยในปัจจุบันไทยถือเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลก
1
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาเราเห็นสัญญาณการเปลี่ยนผ่านสู่ EV ที่ชัดเจนขึ้นทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยกำลังเผชิญความเสี่ยงใหญ่
ยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงปลายทศวรรษที่ผ่านมา และยังเติบโตได้ถึง 43% ในปี 2020
ประเด็นที่น่ากังวลคือ ในขณะที่การผลิตรถยนต์แบบเก่าของไทยกำลังถูกท้าทายจาก EV การนำเข้ารถยนต์ EV ทั้งคันจากจีนยังไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน
2
ในทางกลับกันการนำเข้าชิ้นส่วนมาผลิต EV ในประเทศมีต้นทุนภาษีที่สูงกว่าทำให้หากผู้ผลิตต้องการผลิตเองจะต้องเผชิญการแข่งขันด้านราคาที่อาจเสียเปรียบกว่าตั้งแต่เริ่มต้น
1
และการพัฒนาไปเป็นฐานการผลิต EV แทนที่รถยนต์แบบเก่าจะทำได้ยาก เป็นความเสี่ยงว่าเราอาจกลายเป็นผู้นำเข้ารถยนต์ EV ในอนาคต
1
4. สินค้าเกษตรกำลังเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้นจากต่างประเทศ
1
สินค้าเกษตรถือเป็นสินค้าส่งออกหลักสำคัญของไทย โดยเมื่อดูในรายละเอียดจะพบว่าไทยส่งออกข้าว ยาง มันสำปะหลัง ผลไม้เป็นส่วนใหญ่
อย่างไรก็ตามสินค้าเหล่านี้กำลังเผชิญความท้าทายจากการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อดูส่วนแบ่งตลาดของสินค้าเกษตรสำคัญของไทยโดยเฉพาะข้าวจะพบว่ามีส่วนแบ่งตลาดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
1
สะท้อนความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงอย่างมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากผลิตภาพของเกษตรกรที่ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง
1
และการขาดแผนพัฒนาผลิตภาพจากภาครัฐอาจทำให้เราต้องสูญเสียส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเติมอีกในอนาคต
1
5. ปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
เคยมีข้อได้เปรียบจากต้นทุนที่ต่ำอาจไม่เหมือนเดิม ในอดีตเรามีต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่ต่ำเพราะมีการค้นพบจากแหล่งผลิตในอ่าวไทย
1
อย่างไรก็ตาม ในอนาคตเรากำลังจะเจออีกความท้าทายที่ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีปริมาณลดลง
หากไม่มีการพบก๊าซธรรมชาติแหล่งอื่น ๆ จะทำให้ไทยต้องพึ่งพาการนำเข้ามากขึ้น
สิ่งที่เกิดตามมา คือ ไทยจะมีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงราคาในตลาดโลกมากขึ้นหากราคาก๊าซธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นจะทำให้มูลค่าการนำเข้าและต้นทุนการผลิตของไทยเพิ่มสูงขึ้นได้มากกว่าเดิม
2
ยิ่งไปกว่านั้นจะกระทบต่อการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงดุลการค้าที่จะเกินดุลน้อยลง
1
เศรษฐกิจไทยถึงจุดเปลี่ยน . . . ถ้านโยบายไม่เปลี่ยนแปลง
ประเทศไทยมีการเกินดุลทั้งในฝั่งการค้าและบริการส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอยู่ในระดับสูง และทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา
ในอีกมุมหนึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้กำลังสะท้อนปัญหาว่าเรามีการออมที่สูงกว่าการการลงทุนในประเทศมากเพราะการลงทุนต่ำเกินไป
หรือหมายความว่าการนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคและการลงทุนอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม KKP Research มองว่า
“เศรษฐกิจไทยในวันนี้อาจกำลังถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดจากปัญหาความสามารถในการแข่งขันที่จะทำให้การส่งออกของไทยชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญ เศรษฐกิจชะลอตัวลง ดุลการค้าจะเกินดุลลดลง และมีความเสี่ยงที่จะเปลี่ยนทิศเป็นขาดดุลหากปัญหารุนแรงกว่าที่คาด"
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ผลกระทบต่อดุลการค้าในกรณีที่การส่งออกในสินค้าหลักของไทยค่อย ๆ ลดหายไปจะทำให้ดุลการค้ามีแนวโน้มเกินดุลลดลง
อย่างไรก็ตามการส่งออกที่ลดลงจะทำให้การนำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตสินค้านั้นๆ ลดลงไปด้วย ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อดุลการค้าลงบางส่วน
3
KKP research มองว่าในระยะข้างหน้าดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังคงเกินดุลอยู่จากนักท่องเที่ยวที่กลับมาและเศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงชะลอตัว
1
แม้ว่าการส่งออกที่ชะลอตัวลงอย่างช้า ๆ จะส่งผลให้ดุลการค้าของไทยค่อย ๆ ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามยังมีความเสี่ยงที่ปัญหาความสามารถในการแข่งขันอาจรุนแรงและเร็วกว่าคาด
เช่น การเปลี่ยนแปลงของความต้องการซื้ออย่างรวดเร็วไปสู่รถยนต์ EV ซึ่งจะทำให้การส่งออกหดตัวลงรุนแรง
2
ในขณะที่ไทยอาจต้องนำเข้าสินค้าหลายชนิดเพื่อทดแทนการผลิตในประเทศ KKP Research ประเมินว่าหากสมมติให้มูลค่าการนำเข้าและท่องเที่ยวเท่ากับก่อนการระบาดของโควิด -19 การลดลงของการส่งออกใน 5 กลุ่มสินค้าหลักที่ระดับ 15% จากมูลค่าปี 2019
จะเริ่มทำให้ดุลการค้ากลับทิศทางเป็นขาดดุล และการลดลงที่ระดับ 25% จะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเปลี่ยนทิศทางเป็นขาดดุลได้
ซึ่งเหตุการณ์ที่การส่งออกลดลงรุนแรง ยังถือเป็นกรณีเลวร้ายที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยแต่ยังต้องจับตามอง เพราะ จะสร้างผลกระทบรุนแรงต่อทั้งรายได้ของคนในประเทศ และอาจสร้างแรงกดดันให้ค่าเงินบาทเปลี่ยนทิศจากแข็งค่าเป็นเป็นอ่อนค่าลงได้
ข้อควรระวังสำหรับทั้งนักธุรกิจและภาครัฐ คือ ความคุ้นชินกับการแข็งค่าของเงินบาทที่อาจทำให้มองข้ามประเด็นการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันที่อาจเกิดขึ้นเร็วและรุนแรง
ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจส่งออก นักลงทุน หรือ ผู้ดำเนินนโยบายภาครัฐอาจคุ้นชินกับบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่ามาโดยตลอด และอาจทำให้เกิดความชะล่าใจ
อย่างไรก็ตามปัญหาความสามารถในการแข่งขันและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอาจทำให้ค่าเงินบาททกลับเป็นทิศเป็นอ่อนค่าในระยะยาวได้
ภาคธุรกิจจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ตรวจสอบสถานะสกุลเงินต่างประเทศ และมีการปิดความเสี่ยงผ่านตราสารทางการเงินที่เหมาะสมก่อนการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึง
ภาคส่งออกไทยควรพัฒนาอย่างไร ?
คำถามสำคัญ คือ โครงสร้างอุตสาหกรรมไทยต้องมีการพัฒนาไปสู่สินค้าที่มีโอกาสในการเติบโตสูงขึ้นและสร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงขึ้นกว่าเดิมได้หรือไม่ ?
งานศึกษาของ Growth lab : Center for International Development at Harvard University
แสดงให้เห็นว่าประเทศที่จะมีการเติบโตรายได้ต่อหัวสูงมักจะมีค่าดัชนีความซับซ้อนของสินค้าที่สูง
2
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นสินค้าเหล่านั้นใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงตามมาทำให้รายได้ของคนสูงขึ้นตามไปด้วย
1
เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความซับซ้อนของเศรษฐกิจ (Economic Complexity Index) ไทยอยู่ในลำดับที่ 22 ของโลกในปี 2018
1
ซึ่งสะท้อนว่าสินค้าเดิมของไทยในหลายหมวดมีการใช้เทคโนโลยีบ้างแล้วบางส่วนและน่าจะมีโอกาสที่จะขยายตัวและต่อยอดได้เพิ่มเติม
2
ข้อมูลโครงสร้างการส่งออกเปรียบเทียบกับดัชนีความซับซ้อนของสินค้าสะท้อนว่าสินค้าส่งออกหลักของไทยมีค่าดัชนีความซับซ้อนที่สูงอยู่แล้วและมีสัดส่วนการส่งออกต่ำกว่าในกลุ่มสินค้าที่ความซับซ้อนต่ำ
หรือการพัฒนาอุตสาหกรรมในไทยอยู่ในระดับที่พอใช้ได้ โดยส่วนใหญ่สินค้าในกลุ่มยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เครื่องจักร และเคมีภัณฑ์
อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่าแม้ไทยจะมีการส่งออกสินค้ากลุ่มที่มีความซับซ้อนสูงในสัดส่วนมาก
1
แต่ในหลายกรณีไทยเป็นเพียงฐานการผลิตให้กับบริษัทข้ามชาติและโครงสร้างการผลิตสินค้าเป็นลักษณะที่เน้นการประกอบ หรือเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ
3
ตัวอย่างเช่น การผลิต hard disk drive ที่ต้องอาศัยการออกโครงสร้างผลิตภัณฑ์ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงแต่ไทยยังไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตนเองและทำหน้าที่หลักเป็นเพียงผู้ประกอบชิ้นส่วนเท่านั้น
3
การพัฒนาในระยะต่อไปจึงต้องพยายามให้ไทยพัฒนาไปสู่การผลิตในทั้งห่วงโซ่อุปทานที่จะทำให้ผู้ผลิตสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงได้
นอกจากนี้การอาศัยความรู้ หรือเทคโนโลยีการผลิตที่ไทยมีอยู่แล้วแต่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนให้มีการเติบโตในปัจจุบันต่อยอดสู่สินค้าใหม่ ๆ
จะช่วยเป็นตัวเร่งให้เกิดการปรับโครงสร้างการส่งออกให้มีน้ำหนักสินค้าที่มีความซับซ้อนสูงมากขึ้นได้
1
จากการที่ไทยมีการผลิตสินค้าที่มีความซับซ้อนสูงอยู่บ้างแล้ว โดยเฉพาะสินค้าในหมวด chemicals, machinery และ manufactures
ในระยะต่อไป ไทยจำเป็นต้องมองหาสินค้าอื่นที่มีความซับซ้อนสูงขึ้นเพื่อพัฒนาไปเป็นการส่งออกสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูง
1
และที่เป็นความต้องการของตลาดโลก การพัฒนาอุตสาหกรรมต้องอาศัยการพัฒนาแบบเป็นขั้นตอน คือ ต้องมีการต่อยอดจากอุตสาหกรรมเดิม
โดยจำเป็นต้องพิจารณาใน 3 เรื่องในการเลือกอุตสาหกรรมใหม่เพื่อเติบโตในระยะข้างหน้า คือ
1) สินค้าใหม่ที่สามารถอาศัยเทคโนโลยีที่มีอยู่ปัจจุบัน หรือเป็นสินค้าที่อาศัยวัตถุดิบกลุ่มเดียวกันเพื่อพัฒนาต่อยอดจากอุตสาหกรรมเดิมของไทยไปสู่อุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
2) สินค้าที่ผลิตใหม่ควรเป็นสินค้าที่มีความซับซ้อนสูงซึ่งจะสร้างรายได้ที่สูงกว่าให้กับแรงงาน และ
3) สินค้ากลุ่มใหม่มีโอกาสการเติบโตในอนาคตจากการเปิดโอกาสให้สามารถต่อยอดไปสู่สินค้าที่ความซับซ้อนสูงได้
1
ข้อมูลจาก Center for international Development มีการสรุปกลุ่มสินค้าที่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อ
หรือสามารถพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมใหม่ให้กับไทยได้ซึ่งจะเป็นทางออกหนึ่งที่จะนำประเทศไทยไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงขึ้นในระยะยาว
1
อะไรคือสาเหตุที่แท้จริง…และรัฐควรทำอะไร
สินค้าส่งออกยังไม่พัฒนาไปเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง และเจอปัญหาความสามารถในการแข่งขัน ไม่สามารถอาศัยเฉพาะการปรับตัวของภาคเอกชน
ประเด็นเหล่านี้เป็นปัญหาที่มีต้นตอมาจากปัญหาเชิงนโยบายของไทยที่ขาดการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเองไม่ว่าจะเป็น ปัญหาด้านกฎระเบียบ ที่ไม่เอื้อให้เกิดการลงทุนและการถ่ายโอนเทคโนโลยีขั้นสูงมาสู่ผู้ผลิตไทย
1
ปัญหาด้านคุณภาพแรงงาน ที่แรงงานยังไม่ถูกพัฒนาไปเป็นแรงงานที่มีทักษะสูง และไม่พร้อมที่จะทำงานร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ และการวิจัยและพัฒนาการผลิตด้วยคนไทยเอง
ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่ภาครัฐในไทยยังไม่ให้ความสำคัญในการมีโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่พร้อมเพื่อดึงดูดการลงทุน
ปัญหาด้านสถาบันเศรษฐกิจและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะประเด็นคอร์รัปชัน การเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง ทำให้ไม่คุ้มค่าที่ธุรกิจจะลงทุนใน R&D
และสุดท้าย ปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัว จากหลายปัจจัยเชิงโครงสร้างและนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่ส่งเสริมการเติบโตจากภายในทำให้บริษัทต่างชาติไม่อยากเข้ามาลงทุนในไทย
1
KKP Research ประเมินว่าเพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีได้
ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน แต่รัฐก็มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทาง ส่งเสริม และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญใน 4 ด้าน คือ
1. การพัฒนาคุณภาพปัจจัยการผลิต (Endowment) ประเทศกำลังพัฒนาต้องพยายามดึงดูดการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศผ่านนโยบายสนับสนุนการลงทุน ลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ
เพิ่มการเข้าถึงตลาดการเงินโดยเฉพาะตลาดทุนกับบริษัทขนาดกลางและเล็กมากขึ้น
พัฒนาการศึกษาและคุณภาพแรงงานให้มีทักษะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ โดยเฉพาะการใช้และพัฒนานวัตกรรม
และเปิดรับเอาทักษะใหม่ ๆ หรือแรงงานจากต่างประเทศเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพตลาดแรงงานในประเทศ
2
2. การเข้าถึงตลาดและเพิ่มขนาดของตลาด (Market Size)
1
ซึ่งหมายถึงการเข้าถึงทั้งในมิติของปัจจัยการผลิตผ่านการลดภาษีการค้าระหว่างประเทศและการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี
และในมิติการเข้าถึงตลาดเพื่อขายสินค้าผ่านการทำข้อตกลงการค้าเสรี (Trade agreement)
ซึ่งหนึ่งในข้อตกลงการค้าที่สำคัญ คือ CPTPP เพื่อเพิ่มความได้เปรียบซึ่งอาจรวมถึงการเปิดเสรีการลงทุนและภาคบริการ
ท้ายที่สุดการเข้าถึงตลาดจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปรับกฎเกณฑ์ให้เข้ากับมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ
อย่างไรก็ตามประเด็นสำคัญ คือ ไทยต้องพัฒนาเศรษฐกิจและสินค้าในประเทศที่ตรงกับความต้องการของตลาดโลกและนักลงทุนควบคู่กันไปด้วยซึ่งจะเป็นทางออกของปัญหาในระยะยาว __________________________________
1
3. โครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ทันสมัย (Infrastructure)
เพื่อสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศจะต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่หลากหลาย ทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ เช่น การขนส่ง
และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เช่น การปรับปรุงกฎระเบียบด้านภาษีและการใช้สิทธิทางภาษีให้ธุรกิจวางแผนและเข้าใจได้ง่าย การเตรียมความพร้อมด้าน ICT และ High speed broadband เพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน
4. สถาบันเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ (Institutions)
ปัจจัยเชิงสถาบันที่ดี ทั้งสถาบันการเมืองที่มีเสถียรภาพ ส่งเสริมการแข่งขันที่เสรี ปราศจากการคอร์รัปชัน มีทิศทางนโยบายที่ชัดเจนสำหรับนักลงทุน
1
และที่สำคัญที่สุดต้องมีกลไกการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้มาตรฐานซึ่งจะช่วยทั้งดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมในประเทศ
KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร มองว่าแม้ว่าไทยจะสามารถต่อยอดการผลิตสินค้าจากเทคโนโลยีเดิมที่มีอยู่แล้วได้บ้าง
แต่เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วทำให้รัฐไทยต้องมองหาโอกาสใหม่ ๆ โดยเฉพาะการออกนโยบายเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ
สินค้าหลายอย่างที่เป็นเทคโนโลยีใหม่และเติบโตได้ดีมากในช่วงทีผ่านมาเช่น semiconductor เป็นสินค้าที่ไทยไม่มีเทคโนโลยีการผลิตมาก่อน
และการจะเริ่มผลิตสินค้ากลุ่มนี้ได้ต้องอาศัยเทคโนโลยีจากต่างชาติ นอกเหนือจากการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทั้ง 4 ข้อแล้วรัฐจำเป็นต้องดำเนินโยบายเชิงรุกมากขึ้นเพื่อพูดคุยและทำความเข้าใจความต้องการของนักลงทุน
และออกนโยบายเพื่อดึงดูดการลงทุนต่างชาติรายใหม่ ๆ ที่ตรงจุดเพื่อสร้างจุดเริ่มต้นให้ไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ได้
การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอาจใช้เวลายาวนานกว่าจะเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตามมา
อย่างไรก็ตามในเวลานี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในภาวะวิกฤตในหลายเรื่องทั้งจากผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และโลกหลังโควิด-19 ที่จะเปลี่ยนแปลงไป
หลายประเทศทั่วโลกมีการปรับนโยบายเตรียมความพร้อมสำหรับโลกที่จะมีหน้าตาไม่เหมือนเดิม
1
ประกอบกับปัญหาความสามารถในการแข่งขันของไทยที่กำลังจะลดลงไปเรื่อยๆ ในอนาคต
1
การไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจและหวังพึ่งพาเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจเดิมๆ อาจไม่ใช่คำตอบสำหรับวันนี้และถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจก่อนที่จะสายเกินแก้
1
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม คลิก >>>>
#KKP #KiatnakinPhatra #KKPResearch #การส่งออก #ความสามารถในการแข่งขัน #เศรษฐกิจ #การลงทุน #นักลงทุน
โฆษณา