20 ก.ค. 2021 เวลา 03:12 • การศึกษา
ออมเท่าไรถึงจะพอใช้ในวัยเกษียณ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้สำรวจข้อมูลประชากร พบว่าคนเรามักจะเริ่มวางแผนเกษียณตอนอายุ 40 ปี ดังนั้น ภายใต้สมมติฐานว่าเราอยากเกษียณตอนอายุ 60 ปี และมีอายุขัยถึง 80 ปี สรุปได้ว่าเราจะต้องใช้เวลาในการสะสมเงินออมเป็นระยะเวลา 20 ปี (60-40) เพื่อใช้จ่ายเงินหลังเกษียณเป็นระยะเวลา 20 ปี (80-60)
คำถามต่อมา คือ เราควรจะจัดสัดส่วนเงินออมอย่างไรเพื่อที่จะพอใช้ในยามเกษียณ สมมติว่าตอนอายุ 40 ปี เรามีรายได้เดือนละ 100,000 บาท เราควรจัดสัดส่วนเงินออมโดยการออม 50,000 บาท (50% ) และใช้จ่ายอีก 50,000 บาท (50%) เพื่อที่จะสามารถใช้ในยามเกษียณได้อีก 20 ปี เป็นเงินเดือนละ 50,000 บาท ภายใต้เงื่อนไขที่ยังไม่มี “เงินเฟ้อ” มาบั่นทอนเงินออมของเรานะคะ
คราวนี้เราลองมาตั้งเป้าหมายทางการเงินกันใหม่นะคะ สมมติว่าในช่วงเกษียณอายุเรามีภาระค่าใช้จ่าย 40,000 บาท/เดือน หรือ 480,000 บาท/ปี หรือประมาณ 5 ล้านบาท/10 ปี หรือประมาณ 10 ล้านบาท/20 ปี เมื่อคำนวณรวมเงินเฟ้อเป็นระยะเวลา 20 ปี เท่ากับว่าเราต้องออมเงินเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หรือ 20 ล้านบาทนั่นเองค่ะ
ชีวิตหลังเกษียณเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การเริ่มเตรียมตัววางแผนการเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้เรารับมือการเกษียณได้อย่างมั่นใจ หากใครยังไม่แน่ใจว่าวางแผนเกษียณเริ่มอย่างไร และเริ่มเมื่อไหร่ ทักมาคุยกันได้นะคะ เพื่อชีวิตหลังเกษียณที่มีคุณภาพค่ะ
โฆษณา