21 ก.ค. 2021 เวลา 11:57 • สุขภาพ
ข่าวดี !! วัคซีน mRNA ของจุฬาฯจะเสร็จสิ้นการทดลองเฟสหนึ่งในมนุษย์ เดือนกรกฎาคม 2564
จากสถานการณ์โควิดระบาดระลอกที่สาม มีผู้ติดเชื้อในประเทศไทยกว่า 400,000 คน และเสียชีวิตเกือบ 4000 คนนั้น
1
ทำให้การควบคุมการระบาดเป็นไปด้วยความยากลำบากมาก เพราะ มาตรการ Lockdown จะกระทบกับวิถีชีวิตและมิติทางด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
1
ส่วนความหวังของการที่จะคุมการระบาดให้ได้ นอกจากมาตรการล็อกดาวน์ซึ่งเป็นเรื่องชั่วคราวแล้ว
จะต้องเน้นไปที่วัคซีน โดยเร่งฉีดให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่เร็วที่สุด จะเป็นคำตอบสำคัญในการควบคุมการระบาด
1
การที่วัคซีนขาดแคลนทั่วโลก ทำให้เกิดการแย่งชิง และจองซื้อวัคซีนล่วงหน้าข้ามปี พร้อมเสี่ยงวางเงินมัดจำที่จะไม่ได้คืนถ้าวัคซีนล้มเหลว
1
รวมทั้งจะได้วัคซีนไม่ตรงตามกำหนดเวลาอีกด้วย เป็นปัญหาอุปสรรคของทุกประเทศทั่วโลก ในการควบคุมโรคระบาด
การมีวัคซีนของไทยเราเอง จึงเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่จะทำให้การควบคุมการระบาดเป็นไปได้ตามที่เราต้องการ
ขณะนี้ประเทศไทย มีวัคซีนที่อยู่ในขั้นก้าวหน้าอย่างน้อย 4 ชนิดด้วยกัน ได้แก่
ทีมวิจัย คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ
1) เทคโนโลยี mRNA ของคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4
2) เทคโนโลยีเชื้อตาย ขององค์การเภสัชกรรมร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ
6
3) เทคโนโลยีโปรตีนเป็นฐาน ของบริษัทใบยาไฟโตฟาร์ม สตาร์ทอัพของคณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7
4) เทคโนโลยี DNA ของบริษัทไบโอเนทเอเชีย ร่วมกับมหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย (U.of Sydney และ U.of Adelaide)
วันนี้เราจะมาติดตามข่าวดี และความคืบหน้าของวัคซีนเทคโนโลยี mRNA ของคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยศูนย์วิจัยวัคซีนของคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ เป็นหน่วยงานสำคัญในการพัฒนาวัคซีนซึ่งใช้ชื่อว่า ChulaCov19
1
เริ่มต้นจากศาสตราจารย์นายแพทย์เกียรติ รักรุ่งธรรม ไปศึกษาและทำวิจัยต่อที่ต่างประเทศ และได้พบกับคุณหมอนักวิจัยที่สำคัญคือ Professor Drew Weissman มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก ซึ่งคาดว่าจะได้รับการเสนอชื่อให้รับรางวัลโนเบล จากเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยี mRNA
1
ด้วยความใกล้ชิดสนิทสนมกับคุณหมอเกียรติและคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4
จึงเป็นที่มา ของการเริ่มพัฒนาวัคซีนของจุฬาฯ ดังกล่าว
โดยได้ผ่านการทดลองในหนูและในลิงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
และด้วยการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล ร่วมกับงบประมาณของคณะแพทยศาสตร์จุฬาเอง รวมทั้งเงินบริจาค
ทำให้มีความคืบหน้า จนเข้าสู่การทดลองในมนุษย์ โดยได้เริ่มทดลองเฟสหนึ่งในอาสาสมัคร 72 คน (14 มิถุนายน 2564)
แบ่งเป็นอายุ 18-55 ปี 36 คน
และอายุ 65-75 ปี 36 คน
โดยเป็นการทดสอบหาขนาดวัคซีนที่เหมาะสมกับคนไทย ระหว่าง 10 , 25 และ 50 ไมโครกรัม เปรียบเทียบกับวัคซีนของ Pfizer ที่ขนาด 30 ไมโครกรัมและ Moderna ที่ 100 ไมโครกรัม
1
การสรุปผลวิจัยเฟสหนึ่งจะเสร็จสิ้นในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้
และจะเริ่มวิจัยเฟสสองต่อเนื่องกันไปในเดือนสิงหาคม คาดว่าจะจบการวิจัยได้ในปลายเดือนตุลาคม
ใช้อาสาสมัครจำนวน 150-300 คน ซึ่งมีผู้มาแจ้งความจำนงแล้วจำนวนกว่า 25,000 คน
โดยที่จะมีการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันถ้าพบว่าสูงเกินกว่า 80 หน่วยสากล ก็จะทำให้ประสบความสำเร็จ
2
จุดเด่นที่สำคัญของวัคซีนจุฬาฯคือ จะสามารถเก็บที่อุณหภูมิตู้เย็น 2-8 องศาเซลเซียส ได้นานถึงสามเดือนในขณะที่วัคซีนของ Moderna เก็บได้เพียงหนึ่งเดือน และวัคซีนของ Pfizer เก็บได้เพียงหนึ่งสัปดาห์
ทำให้ วัคซีนของจุฬาฯ มีความสะดวกสำหรับประเทศในเขตร้อนเช่น ประเทศไทย สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บในตู้เย็นติดลบ
และเกิดความมั่นใจในคุณภาพระหว่างขนส่งไปฉีดตามจังหวัดต่างๆต่อไป
นอกจากนั้นยังได้เร่งพัฒนาวัคซีนรุ่นที่สอง เพื่อรองรับไวรัสกลายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์อัลฟ่า เบต้า หรือเดลต้า
1
ถ้าองค์การอนามัยโลกเห็นชอบให้กำหนดระดับภูมิต้านทานที่มากกว่า 120 หน่วยสากล แล้วไม่ต้องทดสอบเฟสสาม ก็จะทำให้เราฉีดวัคซีนได้ในปลายปีนี้เลย
แต่ถ้าต้องวิจัยเฟสสาม ก็จะมีวัคซีนฉีดในต้นปีหน้า
1
โดยโรงงานผลิตจะเป็นโรงงานในประเทศไทยเราเอง ที่จังหวัดอยุธยา
Reference
ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
โฆษณา