24 ก.ค. 2021 เวลา 01:20 • สุขภาพ
🌟 โรคกลัวรู ‼️เป็นจริงหรือแค่จิตหลอน 🥺
วันนี้ชวนผู้อ่านทุกคนมารู้จักโรคแปลกอีกโรคที่แค่ได้ยินชื่อก็อดสงสัยไม่ได้ว่ามันมีโรคนี้จริงๆหรอ แล้วเกิดจากสาเหตุอะไร คนที่เป็นมีอาการอย่างไรชวนมาหาคำตอบไปพร้อมกันค่ะ
โรคกลัวรู ( Trypophobia )
คือความรู้สึกกลัวและกระอักกระอ่วนที่เห็นภาพที่มีจำนวนรูอยู่รวมกันจำนวนมากอยู่ด้วยกัน
เป็นที่น่าสงสัยว่าอาการที่เกิดขึ้นนี้เป็นโรคจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงความวิตกกังวลที่ทำให้คิดไปเอง ที่สำคัญเมื่อเป็นแล้วควรรับมือกับโรคนี้
อย่างไร
"โรคกลัวรู " คือ ภาวะการกลัวขั้นรุนแรงชนิดหนึ่ง
ผู้ป่วยจะมีอาการ หลอน ขยะแขยง ขนลุก
มีเหงื่อออก คลื่นไส้ ตัวสั่น อดอัด หรือสะอิดสะเอียนที่เห็นผิวของวัตถุที่เต็มไปด้วยรูเล็กๆ เช่น ฝักบัว เมล็ดทับทิม ปะการัง เป็นต้น
การวิจัยพบว่าความจริงผู้ป่วยไม่ได้กลัวรูอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่จะรู้สึกกระอักกระอ่วนเวลาเห็นรูกลวงจำนวนมาก ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากประสบการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก
"โรคกลัวรู" เกิดจากสาเหตุใด
ปัจจุบันยังไม่มีสาเหตุอย่างแน่นชัด แต่ป้จจัยต่อไปนี้อาจส่งผลทำผู้ป่วยเป็นโรคกลัวรูได้เช่นกัน
1. เคยเผชิญหน้าหรือมีประสบการณ์ในอดีตที่ไม่ดีเกี่ยวกับวัสถุที่มีรู
2. มีความผิดปกติทางสมองหรือการทำงานของสมองเปลี่ยนแปลงไป
3. เป็นโรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวลทั่วไป
4. เป็นพันธุกรรมและสภาพสิ่งแวดล้อมในครอบครัว โรคกลัวรูอาจสัมพันธุ์กับความกลัว
หรือวิตกกังวลของพ่อแม่
โรคกลัวรูคือโรคชนิดหนึ่งหรือไม่ !!?
สมาคมจิตเวศศาสตร์สหรัฐอเริกา ไม่จักว่าอาการกลัวรูเป็นโรค เพราะผู้ป่วยโรคกลัวอาจมีความรู้สึกกลัวสิ่งต่างๆที่เป็นอันตราย เช่น กลัวเข็ม กลัวเลือด กลัวสุนัก เป็นต้น
โดยผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกลัวขั้นรุนแรงหรือรู้สึกกลัวทุกครั้งที่นึกถึง และจะยิ่งกลัวมากเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าใกล้วัตถุนั้น
💡 รับมืออย่างไรหากมีอาการกลัวรู
☑️ ให้หากิจกรรมที่รู้สึกผ่อนคลาย หายใจเข้าออกลึกๆ ฝึกสมาธิ หรือเล่นโยคะก็ช่วยได้ดีค่ะ
☑️ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารการคาเฟอีน และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
☑️ ค่อยๆฝึกให้เข้าใกล้สิ่งที่กลัวทีละน้อย เพื่อให้เกิดความเคยชิน หรือเข้าร่วมกลุ่มของเพื่อนๆ
คนอื่นๆเพื่อแชร์ประสบการณ์ อาจช่วยให้เข้าใจของโรคนี้มากขึ้น จนเกิดการบำบัดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
☑️ หากดูแลตัวเองในเบื่องต้นแล้วอาการกลัวดังกล่าวยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาจิตแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อรับการบำบัดและหาแนวทางในการรักษา เพื่อควบคุมความวิตกกังวลที่จะเกิดขึ้นต่อไป
เป็นอีกโรคที่แปลกและถ้ามีภาวะเช่นนี้คงส่งผลต่อชีวิตประจำวันอยู่ไม่น้อย
นี่ก็เป็นสาระดีๆที่นำมาฝากกันในวันนี้ หวังว่าคงมีประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกคนนะคะ
ถ้าชื่นชอบบทความก็ฝาก กดไลท์ กดแชร์
และกดติดตาม เพื่อเป็นกำลังใจให้ทางเพจของเราด้วยนะคะ
พบกันในตอนต่อไป
ขอบคุณผู้อ่านทุกคนเลยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากhttps://www.pobpad.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B9-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0
ขอบคุณภาพ
-Seksun Oonjitti
-New products
-Julie Locke
โฆษณา