22 ก.ค. 2021 เวลา 11:13 • สุขภาพ
ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ไวรัสใหม่ล่าสุดตัวเก่งจากเปรู ไวรัส Lambda กำลังแพร่กระจายตามหลังไวรัสเดลต้ามาติดติด
10
โควิด-19 เป็นอีกหนึ่งวิกฤตการณ์ครั้งร้ายแรงในรอบศตวรรษของมนุษยชาติ
ช่วงเวลาเพียงหนึ่งปีเจ็ดเดือน มีการแพร่ระบาดไปแล้วกว่า 200 ประเทศทั่วโลก
1
วันนี้ (22กค.2564) พบผู้ติดเชื้อมากกว่า 192 ล้านคน เสียชีวิตมากกว่า 4 ล้านคน
4
ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางด้านสาธารณสุข สังคม และเศรษฐกิจมากมายมหาศาล
เราจะสามารถรับมือวิกฤติครั้งนี้ได้ดีมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจในองค์ประกอบหลักที่สำคัญของโควิด หรือโรคระบาดไวรัสโคโรนาดังนี้
1
1) ตัวไวรัสก่อโรค
2) วัคซีน
3) ยารักษา
4) มาตรการอื่นๆที่จำเป็นในการควบคุมโรค
1
วันนี้จะกล่าวเฉพาะประเด็นตัวไวรัสเองว่า จะต้องพิจารณา 3 คุณลักษณะสำคัญ
1
จึงจะสามารถคาดคะเนได้ว่า ไวรัสตัวไหนจะครองโลก และในช่วงเวลาใด ตลอดจนจะมีผลกระทบต่อการติดเชื้อ การเสียชีวิต และวัคซีนมากน้อยเพียงใด
1
คุณลักษณะสำคัญสามประการได้แก่
1) ความสามารถในการแพร่ระบาด (Transmissibility)
2) ความรุนแรงในการทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย (Virulence in Clinical Disease)
3) ความสามารถในการดื้อต่อวัคซีนและมาตรการอื่นๆ ( Effectiveness to Public Health Measure)
นับตั้งแต่มีการระบาดของโควิดเมื่อเดือนธันวาคม 2562 โดยเป็นไวรัสสายพันธุ์หลักเดิมหรือสายพันธุ์อู่ฮั่นประเทศจีน
2
เมื่อเวลาผ่านมาหนึ่งปีเศษ ได้มีการกลายพันธุ์ของไวรัสไปแล้วกว่า 39 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติของไวรัสสารพันธุกรรมเดี่ยวหรืออาร์เอ็นเอ(RNA) ที่จะมีการกลายพันธุ์บ่อยและง่าย
5
โดยการจัดลำดับความสำคัญของไวรัส ที่กระทบต่อการระบาด แบ่งเป็นสามกลุ่มได้แก่
1
1) กลุ่มไวรัสที่น่าเป็นกังวล (Variant of Concern : VOC ) มีสี่สายพันธุ์ คืออัลฟ่า เบต้า แกมมา และเดลต้า
3
2) ไวรัสที่ต้องให้ความสนใจ (Variant of Interest : VOI ) มีเจ็ดสายพันธุ์
3) ไวรัสที่จะต้องติดตามเพื่อหาข้อมูลต่อไป ( Alerts for Further Monitoring)
ในกลุ่มของ VOC ไวรัสตัวที่แพร่ได้เร็วและกว้างขวางที่สุดในขณะนี้คือไวรัสสายพันธุ์เดลต้า และไวรัสตัวที่ดื้อต่อวัคซีนมากที่สุดคือสายพันธุ์เบต้า
1
ส่วนในกลุ่มของ VOI ไวรัสตัวที่เป็นชั้นนำ และมีแนวโน้มจะได้ขยับเลื่อนชั้นขึ้นมาเป็น VOC คือไวรัสสายพันธุ์แลมป์ด้า และทำท่าจะแซงไวรัสรุ่นพี่เก่าคือ สายพันธุ์เดลต้าและเบต้าได้อีกด้วย
4
จึงสมควรที่จะต้องมาทำความเข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์แลมป์ด้าตัวใหม่นี้
1
เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานเพียงพอ ที่จะติดตามข้อมูลข่าวสาร เรื่องเกี่ยวกับโควิด-19 การระบาด การควบคุมโรค การล็อกดาวน์ การใช้วัคซีนกระตุ้น และการฉีดวัคซีนรุ่นที่สองต่อไป
ไวรัสแลมป์ด้า มีรหัสเดิมคือ C.37 พบครั้งแรกที่ประเทศเปรู ทวีปอเมริกาใต้ เมื่อเดือนสิงหาคม 2563
แพร่ไปแล้วมากกว่า 29 ประเทศ คือเกือบทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ และประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน แคนาดา และอิสราเอล เป็นต้น
3
เฉพาะในประเทศเปรูเอง จากเดือนธันวาคม 2563 พบไวรัสแลมป์ด้าเพียง 0.5% ของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ปัจจุบันเดือนกรกฎาคม 2564 พบไวรัสแลมด้าถึง 90% มีการแพร่อย่างรวดเร็วมากในเวลาเพียง 7 เดือน
1
ปัจจุบัน เปรูซึ่งมีไวรัสแลมป์ด้าเป็นสายพันธุ์หลัก มีอัตราการเสียชีวิตที่สูงที่สุดในโลก
7
โดยมีอัตราผู้เสียชีวิตต่อจำนวนผู้ติดเชื้อมากถึง 9.32% ในขณะที่ค่าเฉลี่ยอัตราการเสียชีวิตทั่วโลกอยู่ที่ 2%
เปรูมีผู้เสียชีวิต 195,429 ราย จากจำนวนผู้ติดเชื้อ 2.09 ล้านราย สำหรับประเทศที่มีประชากร 33.45 ล้านคน ต้องถือว่าสูงมาก
3
ส่วนหนึ่งน่าจะมีปัจจัยมาจากไวรัสสายพันธุ์แลมป์ด้า ซึ่งแน่นอนย่อมมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย สำหรับการเสียชีวิตมากดังกล่าว
อัตราการเสียชีวิตของเปรูถือว่าสูงมาก คิดเป็น 5842 รายต่อประชากรล้านคน เมื่อเทียบกับ
บราซิล 2548 ราย
อังกฤษ 1888 ราย
สหรัฐอเมริกา 1879 ราย
อินเดีย 301 ราย
และไทย 53 ราย
เมื่อคิดต่อประชากรล้านคน
3
ในประเทศอาร์เจนตินา มีไวรัสแลมป์ด้าแล้ว 37% ชิลี 32%
โดยองค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้ไวรัสสายพันธุ์แลมด้าเป็น VOI ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2564 โดยพิจารณาจากสามหลักการสำคัญที่ได้กล่าวไปแล้ว
ในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประชากรเพียง 8% ของประชากรโลก แต่ติดโควิดไปแล้ว 20% ของจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลก และเสียชีวิตไปมากถึง 32%
ซึ่งคิดเป็นความรุนแรงของการติดเชื้อ 2.5 เท่าของค่าเฉลี่ยโลก และอัตราการเสียชีวิตสูงเป็น 4 เท่าของค่าเฉลี่ยโลก
การมีไวรัสกลายพันธุ์ที่เป็นลักษณะเด่นของทวีปอเมริกาใต้ คือสายพันธุ์แกมมาหรือบราซิลเดิม และสายพันธุ์แลมป์ด้าหรือเปรู มีรายงานวิจัยหลายรายงาน ที่ยังไม่ได้มีขนาดตัวอย่างที่มากพอและตีพิมพ์เผยแพร่
เนื่องจากมีข้อจำกัด เรื่องทรัพยากรของทวีปอเมริกาใต้ ในการที่จะถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ ให้มีจำนวนมากเพียงพอ
1
เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง และต้องใช้อุปกรณ์ที่มีความยุ่งยาก
พบว่าไวรัสแลมป์ด้า มีความสามารถในการแพร่เชื้อเร็วและกว้างขวางเป็นสองเท่าของไวรัสกลุ่ม VOC และไม่น้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้า
3
จึงมีโอกาสที่จะแพร่ขยายเป็นสายพันธุ์หลักของโลกได้ในอนาคต
1
ไวรัสแลมป์ด้า มีการดื้อต่อวัคซีนและรบกวนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ด้วย
3
ในเบื้องต้นพบว่า ทำให้ผู้ที่ฉีดวัคซีน Pfizer Moderna และ Sinovac สร้างภูมิคุ้มกันได้ลดลง
8
เรื่องความรุนแรงของโรคยังไม่ชัดเจนว่า เพิ่มขึ้นจากเดิมมากน้อยอย่างไร
ไวรัสสายพันธุ์แลมป์ด้า มีการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรม (Gene Mutation) มากถึง 14 ตำแหน่ง และส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่ง ซึ่งจะสร้างโปรตีนไปประกอบเป็นส่วนหนามหรือเอสโปรตีน (S-Protein) ซึ่งใช้ในการเกาะเซลล์มนุษย์
1
มีตำแหน่งที่สำคัญมากหนึ่งตำแหน่งคือ มีการหายไปของกรดอะมิโน (Amino acid) ยาวถึงเจ็ดตัวด้วยกันอยู่แถว NTD (N-Terminal )
1
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งดังกล่าว พบในไวรัส ทั้งอัลฟ่า เบต้า และแกมม่า
2
ตำแหน่งของการสร้างโปรตีนดังกล่าวนี้เอง ทำให้ไวรัสสามารถเพิ่มจำนวนได้รวดเร็วขึ้น และสู้กับภูมิคุ้มกันของมนุษย์ได้ดีขึ้น
1
ตำแหน่งที่สำคัญอีกตำแหน่งของไวรัสแลมป์ด้าคือ ตำแหน่งที่ 452 เปลี่ยนจาก L เป็น Q ( L452Q ) ทำให้มีการแพร่ระบาดที่เร็วและติดง่าย เช่นเดียวกับสายพันธุ์เดลต้าซึ่งเปลี่ยนที่ตำแหน่ง 452 เช่นกัน
1
มีผลกระทบ ทำให้ลดการสร้างของภูมิคุ้มกันชนิดทำลายไวรัส (NAb) ด้วย
และยังมีการเปลี่ยนแปลงที่ตำแหน่ง 490 ซึ่งจะมีผลกระทบทำให้มนุษย์สร้างภูมิคุ้มกันต่อสู้กับไวรัสได้น้อยลง และยังเพิ่มความสามารถในการติดเชื้อได้มากขึ้น
1
กล่าวโดยสรุป
1) ไวรัสสายพันธุ์แลมป์ด้า ถูกจัดให้อยู่ใน VOI และพร้อมที่จะขยับขึ้นมา VOC ตลอดเวลา
2) มีการแพร่ระบาดที่กว้างขวางรวดเร็วมากในทวีปอเมริกาใต้
3) ร่วมกับปัจจัยอื่นแล้ว ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนที่สูงมาก โดยเฉพาะในประเทศเปรู มีผู้เสียชีวิตสูงสุดในโลก (เมื่อคิดเป็นร้อยละของจำนวนผู้ติดเชื้อ)
4) มีแนวโน้มที่จะดื้อต่อวัคซีน
2
เราจึงต้องติดตาม และให้ความสนใจไวรัสสายพันธุ์แลมป์ด้า เพราะอาจจะเกิดกรณีทำนองเดียวกับไวรัสสายพันธุ์เดลต้า
1
ที่เข้ามาสู่ประเทศไทยแล้ว กลายเป็นสายพันธุ์หลักในเวลาอันรวดเร็ว
จะได้เตรียมมาตรการต่างๆเพื่อรองรับการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์แลมป์ด้าให้ดีที่สุดต่อไป
2
Reference
โฆษณา