23 ก.ค. 2021 เวลา 02:09 • ประวัติศาสตร์
#คนไทยที่ชกปากผู้นำนาซีเยอรมันจนฟันหัก
คนไทยคนนั้นชื่อ น้อม ศรีรัตน์ ศักดาพลรักษ์ หรือต่อมาคือพลตรี พระศักดาพลรักษ์ ตำแหน่งทูตทหารบกไทยประจำประเทศญี่ปุ่น ส่วนผู้นำนาซีเยอรมันผู้ที่โดนชกฟันหักคือ จอมพลอากาศแฮร์มัน เกอริง ผู้นำอันดับสองของพรรคนาซีเยอรมัน รองจากฮิตเลอร์
ต้องเล่าย้อนอดีตว่าในสมัยที่ประเทศไทยยังเป็นสยามนั้น ทางราชการได้ส่งนักเรียนทหารไทยไปศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มพูลความรู้และวิทยาการต่างๆให้กับนักเรียนทหารไทยเพื่อนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับบ้านเมือง
นักเรียนทหารไทยที่ไปเรียนวิชาการทหารที่ประเทศเยอรมนีในช่วงนั้นเรียกกันว่า “รุ่นไกเซอร์” ซึ่งเป็นการเรียกตามพระนามของ พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 พระมหากษัตริย์ที่ทรงปกครองเยอรมนีในขณะนั้น
ในช่วง 1908 -1910 มีนักเรียนทหารไทยที่เรียนที่เยอรมัน ที่มีชื่อเสียงก็ พจ พหลโยธิน หรือต่อมาคือพระยาพหลพลพยุหเสนา และในรุ่นเดียวหรือใกล้เคียงกันกับพระยาพระหลนั้นก็มี
1.นักเรียนนายร้อย น้อม ศรีรัตน์ หรือต่อมาคือ พลตรี พระศักดาพลรักษ์
2.นักเรียนนายร้อยเทพ พันเอก พระยาทรงสุรเดช
3.นักเรียนนายร้อยชิต พันเอก พระยาสุรเดชรณชิต
และมีอีกหลายคน
ตัวนักเรียนนายร้อยไทยในรุ่นนั้นได้เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยเยอรมันตรงรุ่นกับนักเรียนนายร้อยเกอริง ซึ่งต่อมาคือจอมพลอากาศแฮร์มัน เกอริง ผู้นำอันดับ2 ของพรรคนาซี นี้ยังรวมไปถึง ฮิเดกิ โตโจ ซึ่งต่อมาจะเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ทำไมนักเรียนนายร้อยเกอริงถึงถูกนักเรียนนายร้อยน้อม ชกปากฟันหัก ?
เกอริงเป็นคนรูปร่างใหญ่ ชอบเล่นอะไรผาดโผนเสี่ยงเจ็บตัว กับเพื่อนฝูงก็ชอบเล่นรุนแรง นักเรียนนายร้อยไทยตัวเล็กเสียเปรียบ เกอริงก็เล่นเอาหนัก
เกอริงชอบเล่นสนุกแกล้งเพื่อน เอาถุงเท้าเพื่อนไปซ่อน ทำให้เพื่อนแต่งตัวไม่ทันวุ่นวายไปหมด ในบางครั้งถึงฤดูหนาวเอาถุงเท้าเพื่อนไปชุบน้ำ เพื่อแกล้งให้คนที่ต้องใส่ไปออกฝึกท่ามกลางหิมะทรมานเล่น เป็นที่ชอบใจของเกอริง
เกอริงชอบเล่นรุนแรงดูเหมือนจะออกแนวรังแก ฟาดฟันกันในสนามฝึกก็พอได้ หลายครั้งเกอริงชอบเล่นแรงเกินไปจนนักเรียนนายร้อยไทยโกรธ
แต่เกอริงเองก็คิดว่าหยอกล้อกันในฐานะเพื่อนสนิทเท่านั้น
สุดท้าย ท้ายสุด เมื่อแกล้งมากๆ นักเรียนนายร้อยน้อม ก็ต่อยปากเกอริงเข้าให้ด้วยหมัดขวา นักเรียนนายร้อยเกอริงฟันหัก ส่วนนักเรียนนายร้อยน้อม นิ้วกลางได้แผลเพราะชกปากเกอริงไปถูกฟัน
และแผลเป็นที่โคนนิ้วกลางมือขวานั้นยังคงอยู่กับพลตรี พระศักดาพลรักษ์ หรือนักเรียนนายร้อยน้อม ศรีรัตน์ ตลอดมา
เกอริงเองก็คงไม่ได้ถือโทษโกรธเคืองครับเพราะตนเองก็เป็นคนชอบเล่นแรงๆอยู่แล้ว
และเมื่อนักเรียนนายร้อยไทยต้องกลับตามคำสั่งกระทรวงกลาโหมในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วนเกอริงไปเป็นนักบินรบในช่วงสงคราม
และเมื่อเยอรมันแพ้สงคราม มีการจัดการภายในประเทศ หลังแล้วเสร็จไทยกับเยอรมันจึงเปิดสัมพันธ์การทูตกันอีกครั้ง
หลังสงครามโลกครั้งที่1 จบลง มีการส่งนักเรียนไทยไปเรียนที่เยอรมันนีอีกครั้ง นักเรียนไทยในตอนนั้นก็ได้พบกับเกอริง(ยังไม่ได้เป็นจอมพลอากาศ) เมื่อเกอริงรู้ว่าเป็นคนไทยแล้วละก็ เขาก็จะมีความยินดี และมักจะมาพูดคุยกับคนไทย และจะถามถึงเพื่อนนักเรียนนายร้อย
น้อม(พระศักดาพลรักษ์) พจน์(พระยาพหลฯ) และเพื่อนนักเรียนนายร้อยไทยคนอื่นๆ อยู่เป็นประจำ
ในปี 1935 เกอริงได้เขียนจดหมายส่งผ่านสถานทูตมายังพระอินทร์สรศัลย์พูดคุยถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ พูดคุยรับปากถึงขนาดที่ว่าถ้าพระอินทร์สรศัลย์จะส่งลูกไปเรียนที่โรงเรียนนายร้อยเยอรมันทางเกอริงจะดูแลเรื่องต่างๆให้อย่างดี
นั้นแสดงให้เห็นว่าเกอริงมีความชอบพอกับเพื่อนชาวไทย
เรื่องราวนี้อ้างอิงจากหนังสือนักเรียนนายร้อยไทยในเยอรมันยุคไกเซอร์
ภาพของจอมพลอากาศ แฮร์มัน เกอริง
โฆษณา