23 ก.ค. 2021 เวลา 11:50 • ธุรกิจ
มหากาพย์ สงครามแย่งหุ้น หลุยส์ วิตตอง
4
ตั้งแต่ลงทุนแมนเขียนเรื่องธุรกิจแบรนด์หรูมา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สนุกที่สุดเรื่องหนึ่ง
รู้ไหมว่า เมื่อ 44 ปีที่แล้ว หลุยส์ วิตตอง ยังมีร้านแค่ 2 สาขา
แต่จากจุดนั้น มีบุคคลหนึ่งที่ทำให้บริษัทนี้ กลายเป็นบริษัทที่ใหญ่สุดในฝรั่งเศสได้ใน 10 ปี
5
“Louis Vuitton” แบรนด์แฟชั่นหรู ที่มีอายุกว่า 167 ปี
แต่ก่อนหน้าที่แบรนด์จะเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกนั้น
Louis Vuitton เป็นเพียงธุรกิจครอบครัว
ที่ดำเนินการผลิตกระเป๋าหนัง มายาวนานถึง 123 ปี
ก่อนที่ลูกเขยของทายาท รุ่นที่ 4 ที่ชื่อ Henry Racamier ได้เริ่มนำแบรนด์ Louis Vuitton สู่ตลาดโลก
1
ซึ่งลูกเขยคนนี้ ก็ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการควบรวมกิจการกระเป๋าหนังครอบครัว
กับธุรกิจแบรนด์สุราหรูอย่าง “Moët Hennessy” จนเกิดขึ้นเป็นกลุ่มบริษัท
ที่ชื่อ LVMH Moët Hennessy Louis Vuitton หรือ “LVMH” ในปี 1987
7
นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ LVMH กลายเป็นบริษัทเจ้าของแบรนด์สินค้าหรูที่ใหญ่สุดในโลกมาจนถึงปัจจุบันและทำให้ CEO และผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง Bernard Arnault เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก
2
แล้วเคยสงสัยไหมว่าทำไมชื่อของทายาทอย่าง Henry Racamier กลับไม่ค่อยมีใครรู้จัก
แต่เรากลับคุ้นเคยกับชื่อของ Bernard Arnault มากกว่า ?
ถ้าพร้อมแล้วนั่งลง ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
ย้อนกลับไปในปี 1821..
เด็กชายชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ Louis Vuitton เกิดมาในครอบครัวที่มีอาชีพทำฟาร์ม
จนเมื่อเขาอายุได้ 10 ปี แม่ของเขาเสียชีวิตและพ่อของเขาก็แต่งงานใหม่
2
แต่แม่เลี้ยงของ Vuitton กลับปฏิบัติต่อเขาแบบแม่เลี้ยงใจร้าย
เมื่ออายุได้ 13 ปี Vuitton จึงตัดสินใจหนีออกจากบ้านไปที่กรุงปารีสโดยที่ไม่มีเงินติดตัว
1
โชคยังดีที่ช่างฝีมือทำหีบสำหรับการเดินทางของชนชั้นสูงรับ Vuitton ไปเป็นคนช่วยงาน
แต่เงินที่ได้ก็เพียงพอแค่ประทังชีวิตไปแต่ละวัน Vuitton จึงต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน
11
เมื่อเวลาผ่านไป ฝีมือการทำหีบเดินทางของ Vuitton ก็เริ่มมีชื่อเสียงขึ้น
จนเขาได้ถูกเลือกไปเป็นช่างทำหีบเดินทางส่วนตัวให้กับพระชายาของนโปเลียนที่ 3
4
จนกระทั่งในปี 1854 Vuitton ก็ได้เริ่มเปิดร้านเป็นของตัวเอง โดยใช้ชื่อว่า Louis Vuitton หรือ LV
6
ผลิตภัณฑ์แรกของ LV ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับหีบเดินทางแบบดั้งเดิมไปตลอดกาล
4
นั่นก็เพราะว่า LV ได้ปรับการออกแบบฝาหีบที่แต่เดิมเป็นทรงโค้งกลายมาเป็นหีบที่มีฝาแบน
ทำให้สามารถวางซ้อนกันได้ ขนส่งได้ง่ายขึ้น รวมถึงการเลือกใช้ผ้าแคนวาสแทนหนัง
ทำให้มีน้ำหนักเบาลงและกันน้ำได้
1
แม้ว่ากิจการของ LV จะต้องสะดุดหลายครั้งเพราะสงครามจนต้องเริ่มตั้งต้นใหม่หลายรอบ
แต่ชื่อเสียงของ LV ก็เป็นที่รู้จักมากขึ้นและขยับขยายอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนสามารถส่งต่อกิจการจากรุ่นสู่รุ่น พร้อมกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการกระเป๋าหนังอีกมากมาย
5
แต่แม้ว่ากิจการจะดำเนินมาจนถึงทายาทรุ่นที่ 3
LV ก็ยังคงเป็นธุรกิจที่บริหารกันเองในครอบครัว
1
จนกระทั่งปี 1970 ทายาทรุ่นที่ 3 ของ LV ได้เสียชีวิตลง แต่เหล่าลูกชายที่เป็นทายาทรุ่นที่ 4 ตกลงกันไม่ลงตัวว่าจะบริหารงานกันอย่างไรและใช้กลยุทธ์ในทิศทางไหนเพื่อต่อยอดธุรกิจ
พวกเขาจึงนึกถึงสามีของน้องสาวที่ชื่อ “Henry Racamier”
3
Racamier ซึ่งในขณะนั้นอายุ 65 ปี กำลังจะเกษียณอายุจากการบริหารธุรกิจซื้อขายเหล็กของตัวเอง เหล่าทายาทรุ่นที่ 4 ของ LV จึงเสนอให้ Racamier มาเทกโอเวอร์ LV ไปในปี 1977
ในขณะนั้น LV มีเพียง 2 สาขาในปารีสและนีซ มีพนักงานอยู่ราว 100 คน และมีรายได้ต่อปีประมาณ 460 ล้านบาท
5
Racamier ที่มีประสบการณ์บริหารธุรกิจจนประสบความสำเร็จมาอย่างยาวนาน ก็ได้เข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ด้วยการปฏิรูป LV จากกิจการครอบครัวให้กลายมาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ขึ้น
ผลงานที่สำคัญก็คือ การเจาะตลาดในฝั่งเอเชียโดยเฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่น
โดย Racamier มองว่าตลาดสินค้าหรูได้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะช่วงนั้นผู้คนที่ร่ำรวยมีมากขึ้นทั่วโลก
ซึ่งในปี 1984 Racamier ก็สามารถนำกิจการ LV จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จ
8
ในปี 1987 หรือผ่านไป 10 ปีหลังจากการเข้ามาบริหารของ Racamier LV สามารถขยายสาขาจนมี 135 แห่งทั่วโลก โดย 20 สาขาในนี้ตั้งอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น และบริษัทมีรายได้ต่อปีสูงถึง 88,600 ล้านบาท
คิดเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า 192 เท่าในเวลา 10 ปี โดยเป็นรายได้ที่มาจากเอเชียกว่า 40%
2
ปีนั้นเอง LV ได้รับข้อเสนอควบรวมกิจการจาก Moët Hennessy หรือเรียกว่า MH
ที่เป็นบริษัทสุราหรูที่ขายแชมเปญและบรั่นดีชั้นนำของโลก
1
Cr.Moët Hennessy
สาเหตุที่ MH ต้องการหาพาร์ตเนอร์มาควบรวมกิจการก็เพราะว่าหุ้นของ MH มีสัดส่วนคนในตระกูลผู้ก่อตั้งถืออยู่รวมกัน 22% มีวอลูมการซื้อขายเพิ่มขึ้นผิดปกติ ตระกูลเจ้าของ MH กลัวมีคนแอบมาเทกโอเวอร์กิจการ
“Alain Chevalier” ซึ่งเป็น CEO ของ MH ในขณะนั้น จึงเสนอให้ควบรวมกิจการขึ้น ซึ่งผลก็คือครอบครัวผู้ก่อตั้ง ทั้งฝั่ง LV และ MH จะสามารถถือหุ้นได้รวมกัน 51% และยังมีอำนาจควบคุมกิจการต่อไปด้วย
4
จุดนี้เอง ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มบริษัท LVMH ที่ในตอนนั้นมีมูลค่าบริษัทราว 295,000 ล้านบาท และเป็นบริษัทที่ใหญ่สุดในฝรั่งเศสในขณะนั้น
3
แต่การเริ่มต้นนี้กลับไม่ได้สวยงามแบบที่คิด
เพราะหลังจากควบรวมกิจการไปได้ไม่กี่สัปดาห์ Racamier และ Chevalier ก็เริ่มพบว่าทั้งคู่มีแนวทางการบริหารที่ไม่ค่อยตรงกันและเริ่มขัดแย้งกันเรื่องอำนาจในการบริหาร
8
ก่อนที่ในปีถัดมา วอลูมซื้อขายหุ้น LVMH ก็มากผิดปกติอีกครั้ง..
และด้วยเหตุผลเดิมที่ตระกูลเจ้าของ MH กลัวโดนแอบเทกโอเวอร์กิจการ
Chevalier เลยไปเจรจากับบริษัทเบียร์ชื่อดังอย่าง Guinness ให้เข้ามาถือหุ้นของ LVMH
โดยในตอนแรก Chevalier บอก Racamier ไว้ว่าจะให้ Guinness ถือหุ้น LVMH 3.5%
แต่สุดท้ายกลับตกลงให้หุ้น Guinness มากถึง 20%
พอ Racamier ฝั่งตระกูล Vuitton เห็นแล้วว่า LVMH กำลังจะถูกครอบครองโดยสินค้าจำพวกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลยเริ่มหาพาร์ตเนอร์ที่เป็นเจ้าของกิจการแบรนด์แฟชั่นหรูเข้ามาเสริมทัพเพื่อหวังได้เสียงสนับสนุนในการบริหารงาน
3
ศึกแย่งชิงความเป็นใหญ่ใน LVMH จึงเริ่มต้นขึ้น
และพาร์ตเนอร์ที่ Racamier เล็งไว้ก็คือชายที่ชื่อว่า “Bernard Arnault”
3
Cr.bloomberg
Arnault เติบโตมาในครอบครัวที่ร่ำรวยอยู่แล้ว พอเรียนจบก็เริ่มทำงานในบริษัทก่อสร้างที่ปู่ของเขาเป็นเจ้าของ
จนกระทั่งปี 1984 บริษัทแม่ของแบรนด์แฟชั่นหรูอย่าง Christian Dior ที่ชื่อว่า Boussac ได้ยื่นล้มละลาย รัฐบาลฝรั่งเศสซึ่งเข้าไปควบคุมกิจการหลังล้มละลาย จึงประกาศหาผู้สนใจเข้ามาซื้อกิจการต่อ
1
Arnault ที่ในขณะนั้นอายุ 35 ปี เห็นเข้าก็สนใจ และเกิดความฝัน ในการสร้างบริษัทที่รวบรวมแบรนด์หรูทั่วประเทศเข้าไว้ด้วยกัน
Arnault ใช้เงินจากตระกูลตัวเอง 490 ล้านบาทและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินอีก 1,480 ล้านบาท เพื่อเข้าซื้อกิจการ Boussac
2
หลังเข้าซื้อกิจการสำเร็จ Arnault ก็เดินหน้าปลดพนักงานออกกว่า 9,000 คน และขายบางธุรกิจในเครือที่ฉุดรายได้ออกจนได้เงินมาทั้งหมด 16,400 ล้านบาท
3
นั่นจึงทำให้ Racamier สนใจเป็นพาร์ตเนอร์กับ Arnault โดยยื่นข้อเสนอว่าจะให้ครอบครองหุ้น LVMH 25% ซึ่งเมื่อรวมกับส่วนที่ครอบครัว Vuitton ถือแล้ว จะเป็นสัดส่วนที่มากกว่าฝั่งของกลุ่ม MH และ Guinness
5
Arnault สนใจข้อเสนอนี้ จึงไปปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของเขา แต่ที่ปรึกษาคนนั้นได้เตือนว่าอย่าประกาศสงครามกับอีกฝั่งหนึ่ง เพราะอำนาจบริหารของ MH และความแข็งแกร่งทางการเงินของ Guinness นั้นเหนือกว่า
4
ซึ่ง Arnault ก็รับฟังคำเตือนนั้น
แต่แทนที่ Arnault จะไม่รับข้อเสนอ กลับกลายเป็นว่า Arnault ไปจัดตั้งบริษัทโฮลดิงร่วมกับ Guinness แทน ซึ่งได้เข้าไปซื้อหุ้น LVMH มา 24% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
3
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ฝั่งตระกูล LV จึงโกรธมากเมื่อรู้ว่าโดนหักหลัง
และทางตระกูลก็ได้ทำการไล่ซื้อหุ้นเพิ่มจนมีสัดส่วน 33%
ส่วนทาง Arnault พอรู้เรื่องนี้เข้า ก็แอบซื้อหุ้นเพิ่มด้วยตัวเอง
จนทำให้ฝั่ง Arnault และ Guinness มีหุ้นรวมกัน 37.5%
5
จนในที่สุด Arnault ได้กลายมาเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดของ LVMH
ซึ่งก็มีอำนาจในการจัดการโหวตแต่งตั้งให้พ่อของเขามาเป็นประธานบอร์ดของ LVMH
2
เรื่องดังกล่าวก็ได้ทำให้ Racamier ยิ่งโกรธมากขึ้นไปอีก เพราะตำแหน่งนี้
แต่เดิมตกลงกันไว้ว่าจะให้คนจากตระกูล Vuitton รับตำแหน่ง เท่านั้น
เมื่อความขัดแย้งเริ่มบานปลาย Racamier และ Chevalier จึงเริ่มเจรจากัน
โดยทั้งคู่เห็นว่าควรแยก LV และ MH ออกจากกันไปเลย เพื่อไม่ให้ความขัดแย้งยืดเยื้อไปมากกว่านี้
4
แต่ Arnault กลับคิดว่าข้อตกลงนี้เกิดขึ้น
เพราะทั้งคู่ต้องการยึดอำนาจบริหารจาก Arnault กลับไป
Arnault ที่ไม่ต้องการให้บริษัทแยกออกจากกัน จึงทุ่มเงินซื้อหุ้น LVMH จากในตลาดอีกครั้ง
จนทำให้ฝั่ง Arnault และ Guinness ถือหุ้นรวมกันกว่า 43.5%
6
ซึ่งเงินทั้งหมดที่ Arnault ทุ่มซื้อหุ้น LVMH ไปทั้งหมด คิดเป็นมูลค่ากว่า 85,300 ล้านบาท
2
มาถึงตรงนี้ Chevalier ที่ไม่มีหุ้นอยู่ในมือมากพอ จึงเสียอำนาจการบริหารให้ Arnault ไปโดยปริยาย
และสุดท้ายก็ต้องออกจากบริษัทไป
นั่นจึงเหลือเพียงการต่อสู้ระหว่าง Arnault และ Racamier..
5
ฝั่ง Arnault ได้ยื่นคำขอไปที่ศาลเพื่อเปิดประชุมผู้ถือหุ้นด่วน โดยจะยกวาระเรื่องการออกกฎให้บริษัทย่อย LV มีเกณฑ์เกษียณอายุเมื่ออายุ 70 ปี ซึ่งถ้ามีผลบังคับใช้ ก็จะทำให้ Racamier ที่ในตอนนั้นอายุ 70 กว่า พ้นจากบริษัททันที
4
ฝั่ง Racamier ที่ไหวตัวทันก็ยื่นฟ้องต่อศาลเช่นกัน โดยเรียกร้องให้หนึ่งในการเข้าซื้อหุ้น LVMH ของ Arnault เป็นโมฆะ ซึ่งถ้าชนะคดี จำนวนหุ้นที่ Arnault ถืออยู่จะลดลงเหลือใกล้เคียงกับจำนวนที่กลุ่ม LV ถืออยู่
4
สุดท้ายแล้วศาลก็ตัดสินให้การเข้าซื้อหุ้นของ Arnault ไม่มีความผิด
Arnault จึงยังครอบครองหุ้นส่วนใหญ่ของ LVMH ได้ตามเดิม
ซึ่งก็เหมือนเป็นการบีบบังคับไปในตัวให้ Racamier ต้องลาออกในปี 1989 หรือเพียง 2 ปีหลังจากที่ LVMH เริ่มต้นขึ้น
5
หลังจากไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการที่ครอบครัวตัวเองสร้างขึ้นมาแล้ว Racamier ก็หันไปทำงานที่เขารัก ด้วยการจัดตั้งองค์กรที่สนับสนุนด้านดนตรีและศิลปะ จนกระทั่งเสียชีวิตลงในปี 2003
7
มาถึงตรงนี้ ถ้าใครอยากเข้าใจแบบสรุป ก็คือ
ปี 1821 เด็กชายชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ Louis Vuitton เกิดขึ้น
ปี 1854 Vuitton ได้เริ่มเปิดร้านทำหีบเป็นของตัวเอง
2
ผ่านไป 123 ปี..
ปี 1977 ลูกเขยของตระกูล Vuitton ชื่อ Racamier เข้ามาเทกโอเวอร์ บริษัท Louis Vuitton
ตอนปี 1977 บริษัท Louis Vuitton มีเพียง 2 สาขา หลังจากนั้น Racamier ก็ขยายกิจการให้เติบโต
3
ผ่านไป 10 ปี
ปี 1987 บริษัท Louis Vuitton เป็นบริษัทใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส และควบรวมกิจการกับ Moët Hennessy เป็น LVMH
ผ่านไปเพียง 2 ปี..
ปี 1989 เกิดเรื่องสงครามแย่งกิจการตามที่กล่าวในเรื่องข้างต้น Bernard Arnault บุคคลนอกเป็นผู้ชนะสงคราม มีอำนาจในการบริหาร LVMH นับตั้งแต่นั้นมา
2
Cr.marketeeronline
หลังจากนั้น Arnault ได้ขยายอาณาจักร LVMH ด้วยการเข้าครอบครองกิจการแบรนด์หรูชื่อดังอย่างต่อเนื่อง
จน LVMH ครอบครองแบรนด์หรู กว่า 75 แบรนด์
2
ปัจจุบัน LVMH กลายมาเป็นเจ้าของธุรกิจแบรนด์หรูใหญ่สุดในโลก
และถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในยุโรป ด้วยมูลค่าบริษัทกว่า 12.6 ล้านล้านบาท
3
ซึ่งนั่นก็ได้ทำให้ Arnault มีทรัพย์สินกว่า 6 ล้านล้านบาท
ขึ้นแท่นเป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีที่รวยสุดในโลกตอนนี้เลยทีเดียว..
1
โฆษณา