26 ก.ค. 2021 เวลา 11:04
ว่าด้วยเรื่อง ตั๋วช้าง ในวงการรถเมล์ 🚍🚍
คำว่า "ตั๋วช้าง" หลายท่านอาจเคยได้ยินตอนอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เป็นคำยอดฮิตในสื่อสังคมออนไลน์ ติดแฮชเท็กที่ถูกพูดถึงมากด้วยจำนวนถึง 1.1 ล้านทวิตเลยทีเดียว
1
แต่ทราบหรือไม่ว่าครับ คำว่า "ตั๋วช้าง" ในวงการรถเมล์ก็มีอีกความหมายหนึ่ง...
คำว่า "ตั๋วช้าง" ในวงการรถเมล์นั้น หมายถึง การฉีกตั๋วที่เกิดจากการทุจริตของพนักงานเก็บค่าโดยสาร (กระเป๋ารถเมล์) ซึ่งมีกลวิธีแตกต่างกันไปครับ
🐘🐘 หลักการช้าง 🐘🐘
ก่อนอื่นต้องเล่า การทำงานของกระเป๋ารถเมล์ก่อน
โดยปกติ เมื่อ พกส.เก็บค่าโดยสารจากผู้โดยสารแล้ว ก็จะต้องฉีกตั๋วให้กับผู้โดยสาร
พอเลิกงาน ก็จะทำการส่งตั๋วและเงินเข้า office โดยยอดหน้าตั๋วและเงินที่ส่งต้องตรงกัน (ยอดหน้าตั๋วที่ได้แต่ละวัน จะถูกคำนวณ % เพื่อเป็นรายได้สำหรับพนักงานอีกทีนึง)
แต่สำหรับพนักงานที่ทุจริต ก็จะทำวิธีการให้หน้าตั๋วได้น้อยกว่าเงินค่าโดยสารจริง เพื่อที่จะส่งเงินเข้า office น้อยๆ แล้วนำเงินส่วนต่างเก็บเข้าตัวพนักงานเอง
ภาพตั๋วรถเมล์ ความสวยงามอยู่ที่เลขครับ (ไม่ช้าง)
สมมุติเช่น ตั๋วราคา 8 บาท มีผู้โดยสาร 100 คน
ถ้าแบบปกติ ก็เท่ากับฉีกตั๋ว 100 ใบ ยอดหน้าตั๋วเป็น 800 บาท แต่ถ้าพนักงานที่ทุจริต อาจจะฉีกตั๋วแค่ 90 ใบ ยอดหน้าตั๋วก็จะเหลือแค่ 720 บาท และส่งเงินเข้า office แค่นั้น
ส่วนเงินส่วนต่างอีก 80 บาท พนักงานก็มุบมิบเข้าตัวเองไป
กลวิธีการช้าง มีหลายรูปแบบ แต่ที่พบหลักๆ จะมีวิธีดังนี้
- นำตั๋วเก่าที่ฉีกให้กับผู้โดยสารท่านอื่นแล้ว (โดยเฉพาะตั๋วที่ถูกทิ้งไว้ในรถ ใบที่ยังสภาพดีๆ ไม่ยับมาก) เก็บมา recycle ขายใหม่อีกรอบ
- ฉีกตั๋วในราคาน้อยกว่าราคาค่าโดยสารจริง
เช่น คิดค่าโดยสาร 20 บาท แต่ฉีกตั๋ว 14 บาทมาให้ (ส่วนต่าง 6 บาทเก็บเข้าตัวพนักงาน)
- ซอยตั๋ว ฉีกตั๋วคร่อมไม่เต็มใบ เช่น ตั๋ว 2 ใบ นำมาฉีกซอยให้เป็น 3 ใบ หรือบางเคสก็เอาตั๋ว 1 ใบ แบ่งครึ่งเป็น 2 ใบแบบดื้อๆ เลย (เหมือนรูปหน้าปก)
- เอาตั๋วม้วนจากที่อื่นที่ไม่ใช้ของบริษัท มาฉีกให้กับผู้โดยสาร
- ไม่ฉีกตั๋วให้ผู้โดยสารเลย
(เคสนี้ต้องดูเป็นกรณีๆ เพราะบางสายจะเป็นรูปแบบของ "รถเช่า" จึงไม่จำเป็นต้องใช้ตั๋วเพื่อบันทึกยอดแต่ถ้าเราไม่ได้ตั๋ว แต่ผู้โดยสารคนอื่นได้ อันนี้ถือว่าผิดปกติ)
และอีกหลายวิธี เท่าที่จะสรรหาได้
โดยปกติ แต่ละผู้ประกอบการจะมีตำแหน่งที่เรียกว่า "นายตรวจ" คอยขึ้นมาตรวจตั๋วของผู้โดยสารบนรถ ซึ่งจะทำหน้าที่เช็คทั้งฝั่งผู้โดยสาร ว่าได้จ่ายค่าโดยสารหรือไม่ และเช็คฝั่ง พกส.ว่าฉีกตั๋วถูกต้อง ไม่ได้ทุจริต
อย่างไรก็ตาม นายตรวจบางคน (ย้ำว่าบางคน !!) กลับรู้เห็นเป็นใจกับ พกส. เพื่อร่วมมือกระทำการทุจริตซะเอง มีการทำเป็นขบวนการและนำส่วนต่างจากการทุจริตมาแบ่งกัน ทำให้ตัวผู้ประกอบการสูญเสียรายได้
ซึ่งถ้าผู้ประกอบการจับได้ ถือว่ามีความผิดร้ายแรง มีโทษถึงขั้นไล่ออกและส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย บางบริษัทจะมีสายตรวจนอกเครื่องแบบ (สก๊อต) ทำทีเป็นผู้โดยสารปกติ ไว้คอยจับตาพนักงานอีกทีนึง
สำหรับผู้โดยสาร หากเจอตั๋วช้าง หรือพบการทุจริตตั๋ว และต้องการเอาผิด สามารถแจ้งโดยตรงได้ที่เบอร์ของผู้เดินรถรายนั้นๆ พร้อมข้อมูลสาย เลขข้างรถ วัน-เวลา สถานที่ขึ้นลงรถ รวมถึงเก็บหลักฐาน เช่นตั๋วที่ได้เอาไว้ บางบริษัทมีรางวัลนำจับสำหรับการจับทุจริตตั๋วให้ด้วยนะ !!
พูดถึง “นายตรวจ” สมัยที่ผมศึกษาที่เมืองกรุง ผมใช้บริการรถเมล์สาย 8 อยู่บ่อยๆ (สมัยนั้นยังไม่ตำนาน แต่รู้เลยว่ากำลังสร้างบารมีอยู่) วันไหนเซ็งๆ เบื่อๆ ก็จะนั่งไปสะพานพุทธฯ มีพรรคพวกขายกางเกงยันส์อยู่ที่นั่นครับ โดยโบกจากลาดพร้่าว 87 ไปลงสุดสายคือสะพานพุทธฯ
มีนายตรวจคนนึง เป็นผู้หญิง ห้าวมาก ออกไปทางทอมครับ ดุด้วย ไม่ว่ารถจะแน่นแค่ไหน แกก็เดินตรวจตั๋วทุกคน คนไหนไม่มีแกจะพูดห้วนๆ “คราวหน้าเก็บให้ตรวจด้วย” (ถ้าเป็นสายอื่นจะพูดเพราะมาก หรือเดินข้ามไปเลย)
แน่นอนว่านายตรวจขาโหดคนนี้ไม่ได้กินผมหรอก ด้วยประสบการณ์โหนรถเมล์มาตั้งแต่เด็กๆ ตอนสมัยอยู่บ้านนอก วิธีคือพอได้ตั๋วมาก็จะม้วนๆแล้วเสียบเข้าไปที่นาฬิกาข้อมือ เท่านี้ตั๋วไม่หายไปไหนแน่นอน
รถเมลล์นายเลิศ ราคาสมัยนั้น 50 สตางค์ 75 สตางค์
ตั๋วรถกรุงเทพ-ดำเนินสะดวก ราคา 5 บาท (ภาพจาก FB : Weerachai Chutbaipoe)
ตั๋วรถเมลล์ 3.50 บาท ทันกันมั้ยครับ
ที่มาข้อมูล ภาพตั๋วรถเมล์
FB : ชมรมนักสะสมตั๋วรถเมล์ @ ห้องตั๋ว รถเมล์ไทย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา