24 ก.ค. 2021 เวลา 01:58
framing effect เมื่อวิธีตั้งคำถามส่งผลต่อคำตอบ
(เรียบเรียงโดย กนกพร บุญเลิศ)
2
ในปี ค.ศ. 1981 สองนักจิตวิทยา Amos Tversky และ Daniel Kahneman เผยแพร่งานวิจัยด้านจิตวิทยาที่โด่งดังมากด้านการวางกรอบคำถาม
5
*ข้อความต่อไปนี้ ปรับมาจากงานวิจัยจริง*
หากสหรัฐอเมริกากำลังเตรียมรับมือกับโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีผู้เสียชีวิต 600 คน มีการเสนอทางเลือกสองทางที่จะใช้ต่อสู้กับโรคนี้
ที่มา : https://boycewire.com/framing-effect-definition-and-examples/
• ถ้าใช้ทางเลือก A :คน 200 คนจะรอดชีวิต
• ถ้าใช้ทางเลือก B มีโอกาส 1/3 ที่คน 600 คนจะรอดชีวิตทั้งหมด และมีโอกาส 2/3 ที่จะไม่มีใครรอดชีวิตเลย
คุณจะเลือกทางไหน?
2
ลองนึกแล้วเก็บคำตอบไว้ในใจ
1
ความน่าสนใจคือ ผู้ร่วมการทดลองอีกกลุ่มหนึ่งได้รับโจทย์เดียวกัน แต่ทางเลือกแตกต่างออกไป ดังนี้
• ถ้าใช้ทางเลือก C คน 400 คนจะตาย
• ถ้าใช้ทางเลือก D มีโอกาส 1/3 ที่จะไม่มีใครตายเลย และมีโอกาส 2/3 ที่คน 600 คนจะตายทั้งหมด
คราวนี้คุณจะเลือกทางใด?
1
ตัวอย่าง Framing effect เช่น แบบฟอร์มยินยอมการผ่าตัด ระหว่างระบุว่าผลสำเร็จ 90% หรือ ระบุว่ามีความเสี่ยง 10% ส่งผลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ ที่มา : Wikipedia
หากสังเกตให้ดีจะพบว่าทางเลือก A และ C ให้ผลลัพธ์เดียวกัน กล่าวคือ จะมีคนรอดชีวิต 200 คนและมีคนตาย 400 คน (ส่วนทางเลือก B และ D ก็เป็นทางเลือกที่ให้ผลเดียวกัน)
1
ถ้าหากมนุษย์ไม่ได้รับผลกระทบจากการวางกรอบคำถามเลย สัดส่วนของคนที่เลือกทาง A ควรจะเท่ากับคนที่เลือกทาง C แต่ผลการทดลองกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น…
1
สำหรับสถานการณ์ที่ 1
ผู้ร่วมการทดลอง 72% เลือกทาง A และ 28% เลือกทาง B
ทางเลือก Aแสดงถึง “วิธีหลีกหนีความเสี่ยง (risk aversion strategy)” ในการตัดสินใจเลือก คนเรามักไม่ชอบความสูญเสีย (loss aversion) เราจึงไม่ยอมเสี่ยงและจะเลือกสิ่งที่แน่นอนกว่าดังนั้น การช่วยชีวิตคน 200 คนที่มีความแน่นอนจึงน่าดึงดูดใจมากกว่าการเลือกความเสี่ยงซึ่งอาจจะไม่มีใครรอดชีวิต
1
สำหรับสถานการณ์ที่ 2
ผู้ร่วมการทดลอง 22% เลือกทาง C และ 78% เลือกทาง D
โดยทาง D แสดงถึง “วิธีการยอมเสี่ยง (risk-takingstrategy)” ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่า คนเรามักไม่ชอบความสูญเสีย เมื่อตัวเลือกถูกวางกรอบไปในทางลบ (พูดถึงความตาย) เราจะพยายามให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด ดังนั้น ความตายที่แน่นอนของคน 400 คน จึงเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ คนจำนวนมากเลยเลือกเสี่ยงกับ ‘โอกาส 2/3 ที่คน 600 คนจะตาย’มากกว่า
4
สรุปคือ ทางเลือก A ถูกวางกรอบไปในทางบวก โดยพูดถึงการช่วยชีวิต ขณะที่C ถูกวางกรอบไปในทางลบ โดยพูดถึงความตาย (เช่นเดียวกับ B และ D)
3
งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึง “ผลของการวางกรอบ (framing effect)”กล่าวคือ ลักษณะการนำเสนอตัวเลือกมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคนเรา
1
ทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงต้องออกแบบคำถามให้ดีเพื่อจะได้ลดอคติต่อทางเลือกให้น้อยที่สุดนั่นเอง
1
Daniel Kahneman ผู้ทำการทดลองด้าน Framing effect ที่มา : Wikipedia
References
Goldstein, E. B. (2011). Cognitive Psychology(3rd ed.). Belmont, CA: Wadsworth.
Nofsinger, J. R. (2018). The Psychology of Investing (6th ed.). New York, NY: Routledge.
Tversky, A., & Kahneman, D. (1981). The framing of decisions and the psychology of choice. Science, 211(4481), 453-458.
3
โฆษณา