24 ก.ค. 2021 เวลา 07:41 • ข่าว
AstraZeneca ประกาศจัดส่งวัคซีนให้กับประเทศไทยรวม 11.3 ล้านโดส ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม 2564
4
จากกรณีที่ประเทศไทยได้ทำสัญญาตกลงกับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า(ประเทศไทย) เพื่อที่จะใช้วัคซีนของบริษัท เป็นวัคซีนหลักร่วมกับวัคซีน Sinovac, Sinopharm และ Pfizer
ตามที่เป็นข่าวมาโดยตลอด บริษัท AstraZeneca จะส่งวัคซีนให้รวมกันทั้งสิ้น 61 ล้านโดส
ในการทำสัญญาครั้งแรก 26 ล้านโดส และสัญญาครั้งที่สอง 35 ล้านโดส
กำหนดการในช่วงแรก
มิถุนายน จะส่งให้ 6 ล้านโดส
กรกฎาคม-พฤศจิกายน เดือนละ 10 ล้านโดส
และเดือนธันวาคม 5 ล้านโดส
แต่เมื่อเริ่มดำเนินการผลิตจริงในเดือนมิถุนายน
ก็มีความขลุกขลักหลายประการ ทำให้เกิดความกังวลว่าไทยจะได้รับวัคซีนไม่ครบตามที่ตกลงกัน
1
ในวันนี้ประธานบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ได้ออกจดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนคนไทยทุกคน โดยให้ข้อมูลว่า
1
1) ในสัปดาห์หน้า ก่อนสิ้นเดือนกรกฎาคม จะจัดส่งวัคซีนเพิ่มให้อีก 2.3 ล้านโดส
2) ได้ส่งวัคซีนมาให้ไทยรวมแล้ว 9 ล้านโดส จึงรวมเป็นไทยจะได้รับวัคซีน 11.3 ล้านโดส ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม 2564
2
3) บริษัทจะทยอยส่งวัคซีนให้ทุกเดือน เดือนละไม่น้อยกว่า 5-6 ล้านโดส
4) วัคซีนเป็นชีววัตถุขั้นสูง มีขั้นตอนการผลิตหลายขั้นตอน ผลิตได้ยาก โดยเฉพาะการเลี้ยงเซลล์ไวรัส ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของวัคซีน ต้องใช้ความละเอียดลออและใช้เวลา
4
5) บริษัทจะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ได้ปริมาณวัคซีนที่จะส่งมากขึ้น
3
6) บริษัทจะพยายามหาวัคซีนจากศูนย์การผลิตอื่นของ AstraZeneca เองทั่วโลกกว่า 20 แห่ง มาให้ไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4
7) นโยบายของบริษัท จะไม่เน้นธุรกิจหากำไรกับวัคซีนโควิด-19 และเร่งกระจายให้เกิดความเป็นธรรมให้มากที่สุด
8) ขอชื่นชมประชาชนไทย ที่มีคนมากกว่าหนึ่งในสาม บริจาคช่วยประชาชนด้วยกันเองใน สถานการณ์โรคระบาดครั้งนี้
2
จากข้อมูลดังกล่าว เมื่อนำมาคำนวณแล้วจะพบว่า ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ไทยควรได้รับวัคซีน 16 ล้านโดส แต่ได้มา 11.3 ล้านโดส จึงขาดไปจากที่คาดหมาย 4.7 ล้านโดส
2
เมื่อวัคซีน AstraZeneca เป็นวัคซีนหลักของประเทศไทย จึงควรจะมาทบทวนทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนนี้กันอีกครั้ง
AstraZeneca ผลิตวัคซีนภายใต้เทคโนโลยีไวรัสเป็นพาหะ (Viral Vector) เช่นเดียวกับ
1) วัคซีนของรัสเซีย โดยสถาบัน Gamaleya มีประสิทธิผล 91.6% ฉีดสองเข็มห่างกัน 21 วัน
1
2) วัคซีนของสหรัฐอเมริกา โดยบริษัท Johnson & Johnson มีประสิทธิผล 64-72% ฉีดเพียงเข็มเดียว
3) วัคซีนของประเทศจีน บริษัท CanSinoBio ที่มีประสิทธิผล 65.28% ฉีดเพียงเข็มเดียว
4
4) วัคซีนของบริษัท AstraZeneca ซึ่งได้รับเทคโนโลยีมาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และนำมาผลิตโดยบริษัท AstraZeneca ซึ่งเป็นบริษัทร่วมระหว่างประเทศอังกฤษกับสวีเดน มีประสิทธิผล 76%
1
วัคซีนนี้ใช้เทคโนโลยี นำสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาก่อโรคโควิด ใส่เข้าไปในไวรัสที่ปลอดภัยคือ ไวรัสก่อโรคหวัดในลิงชิมแปนซี
ชื่อว่า Adenovirus
โดยมีรายละเอียดความคืบหน้าของการวิจัยพัฒนาวัคซีนดังนี้
8 ธันวาคม 2563 ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเฟสสามในวารสารทางการแพทย์ และได้มีการเน้นถึงเรื่องการเก็บง่ายในตู้เย็นธรรมดา ไม่ต้องแช่แข็งแบบวัคซีนเทคโนโลยี mRNA นอกจากนั้น จะจำหน่ายในราคาถูก เพราะไม่หวังทำกำไรหรือทำธุรกิจจากวัคซีนนี้
30 ธันวาคม 2563 อังกฤษและอาร์เจนตินา อนุมัติให้ฉีดในสถานการณ์ฉุกเฉิน
3 มกราคม 2564 อินเดียอนุมัติให้ฉีดในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในชื่อ Covishield
16 กุมภาพันธ์ 2564 องค์การอนามัยโลก อนุมัติให้ฉีดในสถานการณ์ฉุกเฉิน
13 มีนาคม 2564 บราซิลให้การรับรองวัคซีน และโครงการ COVAX เริ่มกระจายวัคซีนของ AstraZeneca โดยตั้งเป้าหมาย 2,000 ล้านโดส
ในเดือนเดียวกัน มีการชะลอการฉีดวัคซีน เนื่องจากปัญหาลิ่มเลือดแม้จะพบน้อยในกลุ่มประเทศยุโรป
และในที่สุด ได้ประกาศให้สามารถฉีดวัคซีน
แอสตร้าต่อไปได้
26 เมษายน 2564 สหภาพยุโรปฟ้องร้องบริษัท AstraZeneca ว่าส่งวัคซีนให้ไม่ครบจำนวน
18 มิถุนายน 2564 ศาลสั่งให้บริษัท AstraZeneca ส่งวัคซีนให้กับประเทศยุโรป 50 ล้านโดส จากเดิมที่กำหนดว่าจะต้องส่ง 90 ล้านโดส
1
มีการทดลองในเด็กอายุตั้งแต่ 6-17 ปี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564
และมิถุนายน 2564 บริษัทได้รายงานว่า วัคซีนเข็มสาม สามารถกระตุ้นให้มีภูมิต้านทานขึ้นได้สูง
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของวัคซีนบริษัท AstraZeneca บริษัทร่วมระหว่างอังกฤษกับสวีเดน
มีจุดเด่นหลายประการ มีจุดด้อยหลายประการ เฉกเช่นเดียวกับวัคซีนทุกเทคโนโลยีทุกยี่ห้อที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้
โดยจนถึงปัจจุบัน โลกเรามีวัคซีนที่อยู่ในการทดลอง
เฟสหนึ่ง 53 ชนิด
เฟสสอง 39 ชนิด
เฟสสาม 32 ชนิด
โดยได้รับการอนุมัติ
ให้ฉีดแล้ว 8 ชนิด
ฉีดแบบมีตั้งเงื่อนไข 11 ชนิด
และยกเลิกการทดลอง ไม่ได้ผลรวม
5 ชนิด
Reference
บริษัทเเอสตร้าเซ็นเนก้า(ประเทศไทย) จำกัด
โฆษณา