Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)
•
ติดตาม
26 ก.ค. 2021 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
“จักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire)”
“จักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire)” คืออาณาจักรขนาดใหญ่ที่ทรงอำนาจ และมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน สามารถย้อนกลับไปได้ถึงสมัยศตวรรษที่ 4
2
ในปีค.ศ.330 (พ.ศ.873) “จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช (Constantine the Great)” ได้ทรงสร้าง “กรุงโรมแห่งใหม่” ในบริเวณนครกรีกโบราณที่มีชื่อว่า “ไบแซนเทียม (Byzantium)”
2
จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช (Constantine the Great)
ถึงแม้ว่าภาคตะวันตกของอาณาจักรโรมันจะล่มสลายในปีค.ศ.476 (พ.ศ.1019) แต่ภาคตะวันออกก็ยังคงอยู่ต่อมาอีกกว่า 1,000 ปี สร้างความยิ่งใหญ่ในด้านต่างๆ อีกทั้งยังเป็นรัฐกันชน เป็นตัวกลางทางการทหารระหว่างยุโรปและเอเชีย
1
ต่อมา จักรวรรดิไบแซนไทน์ล่มสลายลงอย่างสมบูรณ์ในปีค.ศ.1453 (พ.ศ.1996) หลังจากที่กองทัพอ็อตโตมันได้เข้ารุกรานกรุงคอนสแตนติโนเปิล
สำหรับชื่อ “ไบแซนไทน์ (Byzantine)” มาจากคำว่า “ไบแซนเทียม (Byzantium)”
3
ไบแซนเทียม คือนครกรีกโบราณ ก่อตั้งโดยชายชื่อ “บายซัส (Byzas)” โดยไบแซนเทียม ตั้งอยู่ในยุโรปทางด้านช่องแคบบอสพอรัส และถูกใช้เป็นทางผ่าน รวมถึงเป็นจุดที่ยุโรปและเอเชียทำการค้า
2
ในปีค.ศ.330 (พ.ศ.873) “จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช (Constantine the Great)” จักรพรรดิแห่งโรมัน ได้ทรงเลือกไบแซนเทียมให้เป็น “กรุงโรมแห่งใหม่” โดยมีเมืองหลวงคือ “คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople)”
3
ย้อนกลับไปเมื่อห้าปีก่อนหน้า จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชได้ทรงประกาศให้ศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาประจำโรมัน ทำให้ในเวลานี้ ชาวโรมันตะวันออกและชาวคอนสแตนติโนเปิล จึงเป็นที่รู้จักในฐานะของคริสเตียน หรือชาวคริสต์อีกด้วย
3
ถึงแม้ว่าจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชจะปกครองอาณาจักรโรมันที่เป็นปึกแผ่นสมบูรณ์ แต่ภายหลังการสวรรคตของพระองค์ในปีค.ศ.337 (พ.ศ.880) ทุกอย่างก็เริ่มกลับมาวุ่นวาย
5
ค.ศ.364 (พ.ศ.907) “จักรพรรดิวาเลนติเนียนที่ 1 (Valentinian I)” ได้แบ่งอาณาจักรโรมันออกเป็นสองส่วนอีกครั้ง โดยแบ่งเป็นอาณาจักรโรมันทางตะวันตกและอาณาจักรโรมันทางตะวันออก
5
จักรพรรดิวาเลนติเนียนที่ 1 (Valentinian I)
จักรพรรดิวาเลนติเนียนที่ 1 ครองอำนาจในโรมันตะวันตก และพระอนุชาของพระองค์ นั่นคือ “จักรพรรดิวาเลนส์ (Valens)” ครองอำนาจทางตะวันออก
จักรพรรดิวาเลนส์ (Valens)
ภายหลังจากแบ่งอาณาจักรออกเป็นสอง โรมันตะวันตกและตะวันออกก็ต่างกันอย่างสิ้นเชิง
โรมันตะวันตกต้องเผชิญกับการโจมตีจากชนเผ่าต่างๆ ทำให้อาณาจักรโรมันตะวันตกไม่มั่นคง ค่อยๆ ล่มสลายทีละนิด จนในที่สุด เหลือเพียงอิตาลีเท่านั้นที่ยังคงเหลือ
1
ค.ศ.476 (พ.ศ.1019) “พระเจ้าโอโดเซอร์ (Odoacer)” ผู้ซึ่งได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกแห่งอิตาลี ได้ทำการโค่นล้มกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งโรมันตะวันตก และทำให้อาณาจักรโรมันตะวันตกสิ้นสุดลง
4
พระเจ้าโอโดเซอร์ขณะบังคับให้กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งโรมันตะวันตกสละบัลลังก์
สำหรับอาณาจักรโรมันตะวันออก นับว่าโชคดีกว่าอาณาจักรโรมันตะวันตก เนื่องจากอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม ยากต่อการโจมตี
1
และเนื่องจากคอนสแตนติโนเปิลนั้นก็อยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม จึงเป็นการยากที่จะเข้าจู่โจม
นอกจากนั้น โรมันตะวันออกยังมีศูนย์กลางการบริหารที่แข็งแกร่ง มีความมั่นคงทางการเมือง และเมื่อเทียบกับดินแดนอื่น ก็นับว่า โรมันตะวันออกเป็นดินแดนที่มั่งคั่งแห่งหนึ่ง
จักรพรรดิแห่งโรมันตะวันออกยังมีอำนาจควบคุมทรัพยากรของอาณาจักร อีกทั้งยังสามารถเรียกระดมพลจำนวนมากได้อีกด้วย
ด้วยความได้เปรียบเหล่านี้ ทำให้อาณาจักรโรมันตะวันออกหรือ “จักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire)” สามารถอยู่รอดต่อมาได้อีกเป็นเวลานาน
2
จักรวรรดิไบแซนไทน์ปกครองโดยใช้กฎหมายโรมัน ใช้การปกครองแบบโรมัน และมีภาษาประจำชาติคือภาษาละติน หากแต่ภาษากรีกก็เป็นที่แพร่หลาย อีกทั้งยังมีการสอนประวัติศาสตร์กรีก วรรณคดีกรีก รวมทั้งวัฒนธรรมกรีกให้แก่เหล่านักเรียน
สำหรับศาสนา ได้มีการแบ่งกันออกไปหลายสายในแต่ละพื้นที่ โดยมีพระสังฆราชแยกกันไปในแต่ละดินแดน และถึงแม้ในภายหลัง ศาสนาอื่นจะเริ่มเข้ามามีอิทธิพล แต่จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ก็ยังคงเป็นผู้นำทางศาสนาของชาวคริสต์ในโรมันตะวันออก
1
“จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 (Justinian I)” ผู้ซึ่งขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ในปีค.ศ.527 (1070) เป็นหนึ่งในจักรพรรดิที่ทรงพระปรีชาแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์
ในรัชสมัยของพระองค์ อาณาจักรไบแซนไทน์สามารถยึดครองดินแดนรอบๆ ทะเลเมดิเตอเรเนียน และกองทัพของพระองค์ ยังพิชิตดินแดนบางส่วนของอดีตอาณาจักรโรมันตะวันตก รวมทั้งแอฟริกาเหนืออีกด้วย
2
จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 (Justinian I)
ในรัชสมัยของพระองค์ มีการสร้างอนุสาวรีย์ต่างๆ มากมาย อีกทั้งพระองค์ยังทรงปรับปรุงและรวบรวมกฎหมายโรมัน จัดทำเป็นตำรากฎหมายไบแซนไทน์ ซึ่งจะเป็นรากฐานของกฎหมายในยุคต่อมา
ตลอดรัชสมัยของพระองค์ จักรวรรดิไบแซนไทน์ได้กลายเป็นดินแดนที่ใหญ่และทรงอำนาจที่สุดในยุโรป หากแต่การสงครามในรัชสมัยของพระองค์ ก็ทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ อยู่ในสภาวะที่มีหนี้ท่วมตัว
4
ทายาทผู้สืบทอดอำนาจต่อจากพระองค์ต้องทรงรับภาระหนี้ก่อนนี้ ทำให้ต้องมีการขึ้นภาษี เรียกเก็บภาษีจากประชาชนเป็นจำนวนมาก
2
และด้วยความที่อาณาจักรกำลังอยู่ในภาวะที่มีหนี้ท่วมตัว ทำให้กองทัพไบแซนไทน์นั้นเหลือน้อย และต้องพยายามดิ้นรนเพื่อที่จะรักษาดินแดนที่ไปยึดครองมาได้ โดยในศตวรรษที่ 8 และศตวรรษที่ 9 จักรวรรดิเปอร์เซียและชาวสลาฟ ก็ได้เริ่มโจมตีจักรวรรดิไบแซนไทน์
นอกจากปัญหาเรื่องผู้รุกรานแล้ว เรื่องความไม่มั่นคงทางการเมืองและปัญหาเศรษฐกิจ ก็ทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์อยู่ในภาวะย่ำแย่
2
นอกจากนั้น ภัยใหม่ที่กำลังก่อตัวขึ้น ก็คือ “ชาวอิสลาม”
1
ในปีค.ศ.634 (พ.ศ.1177) กองทัพมุสลิมได้เริ่มโจมตีอาณาจักรไบแซนไทน์ โดยทำการบุกเข้ามาในซีเรีย
เมื่อสิ้นศตวรรษ จักรวรรดิไบแซนไทน์ก็ต้องสูญเสียดินแดนบางส่วนให้แก่กองทัพอิสลาม เช่น ซีเรีย ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ อียิปต์ และแอฟริกาเหนือ
2
ในช่วงศตวรรษที่ 8 และต้นศตวรรษที่ 9 จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ ได้ทรงมีรับสั่งห้ามเคารพบูชารูปวาดต่างๆ เช่น รูปวาดนักบุญ รวมทั้งรูปเคารพต่างๆ
การห้ามนี้ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก หากแต่ก็ยังคงมีกฎห้ามบูชารูปเคารพเรื่อยมาจนถึงค.ศ.843 (พ.ศ.1386) เมื่อมีการอนุญาตให้บูชารูปเคารพได้
1
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 10 และต้นศตวรรษที่ 11 จักรวรรดิไบแซนไทน์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์มาซีโดเนีย ก็อยู่ในยุคที่รุ่งเรืองอย่างมาก
ถึงแม้ว่าดินแดนจะไม่ได้กว้างใหญ่เท่าเดิม หากแต่ก็มีอำนาจควบคุมการค้ามากกว่าเดิม มั่งคั่งกว่าเดิมมาก
2
นอกจากนั้น รัฐบาลก็สนับสนุนศิลปะด้านต่างๆ ทำให้เกิดงานศิลปะจำนวนมาก
2
เริ่มมีการบูรณะฟื้นฟูโบสถ์ วิหารต่างๆ และส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวรรณคดีกรีกโบราณ อีกทั้งศาสนาคริสต์ก็รุ่งเรือง
เมื่อสิ้นสุดศตวรรษที่ 11 ก็เป็นช่วงเวลาที่ “สงครามครูเสด (Crusades)” สงครามศักดิ์สิทธิ์ที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ ได้เริ่มต้นขึ้น
สงครามครูเสด คือสงครามศาสนาระหว่างชาวคริสต์กับมุสลิม เมื่อค.ศ.1095-1291 (พ.ศ.1638-1834)
พวกเซลจุคจากเอเชียกลาง ได้มุ่งหน้ามาคอนสแตนติโนเปิล ทำให้ “จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอส (Alexius I Komnenos)” จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ ต้องขอความช่วยเหลือจากฝั่งตะวันตก และทำให้เกิด “สงครามศักดิ์สิทธิ์” ในเวลาต่อมา
1
กองทัพจากฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลี ได้รุดมายังจักรวรรดิไบแซนไทน์ และจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 ก็ได้ทรงพยายามจะให้ผู้นำทัพแต่ละแห่ง ตั้งสัตย์สาบานว่าจะภักดีต่อพระองค์ หากว่ายึดดินแดนคืนจากพวกเซลจุค ดินแดนเหล่านั้นก็ต้องกลับคืนสู่อาณาจักรของพระองค์
ภายหลังจากทัพตะวันตกและทัพของจักรวรรดิไบแซนไทน์ยึดเมืองไนซีอาคืนจากพวกเซลจุคได้ จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 ก็ทรงให้ถอยทัพ ทำให้เหล่าอัศวินครูเสดตราหน้าพระองค์ว่าเป็นพวกทรยศ หักหลัง
1
จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอส (Alexius I Komnenos)
จากนั้น ความบาดหมางระหว่างจักรวรรดิไบแซนไทน์และตะวันตกก็ยังคงมีอยู่เรื่อยมา และทำให้เกิดสงคราม พิชิตคอนสแตนติโนเปิลในสงครามครูเสดครั้งที่ 4 เมื่อปีค.ศ.1204 (พ.ศ.1747) และมีการกวาดทรัพย์สมบัติทุกอย่างในเมืองไปจนหมด
คอนสแตนติโนเปิลตกอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม ประชาชนจำนวนมากต่างอพยพออกจากเมือง
ในปีค.ศ.1261 (พ.ศ.1804) ซึ่งตรงกับรัชสมัยของ “จักรพรรดิมิคาเอลที่ 8 พาลาโอโลกอส (Michael VIII Palaiologos)” เศรษฐกิจของจักรวรรดิไบแซนไทน์นั้นตกต่ำสุดขีด และไม่สามารถกลับคืนสู่ความรุ่งเรืองดังเดิม
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 8 พาลาโอโลกอส (Michael VIII Palaiologos)
ในปีค.ศ.1369 (พ.ศ.1912) “จักรพรรดิจอห์นที่ 5 พาลาโอโลกอส (John V Palaiologos)” ได้ทรงพยายามขอความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากตะวันตก หากแต่พระองค์ก็ทรงถูกจับกุมในเวนิส เนื่องด้วยพระองค์ทรงล้มละลาย มีหนี้ท่วมตัว
อีกสี่ปีต่อมา พระองค์ทรงถูกบังคับให้อยู่ใต้อำนาจของชาวเติร์ก ซึ่งในเวลานั้น กำลังเกรียงไกร
2
จักรพรรดิจอห์นที่ 5 พาลาโอโลกอส (John V Palaiologos)
จักรวรรดิไบแซนไทน์ได้กลายเป็นเมืองขึ้น ต้องส่งบรรณาการให้สุลต่านและให้การสนับสนุนทางทหารแก่จักรวรรดิออตโตมัน และเมื่อ “สุลต่านมูรัดที่ 2 (Murad II)” ขึ้นครองราชย์ในปีค.ศ.1421 (พ.ศ.1964) จุดจบของจักรวรรดิไบแซนไทน์ก็กำลังมาถึง
สุลต่านมูรัดที่ 2 ทรงยกเลิกสิทธิต่างๆ ที่จักรวรรดิไบแซนไทน์เคยได้ และมุ่งโจมตีคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งการโจมตีนี้ ก็สำเร็จในรัชสมัยของสุลต่านองค์ต่อมาในปีค.ศ.1453 (พ.ศ.1996)
กรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก และกลายเป็นจุดจบของจักรวรรดิไบแซนไทน์ โดย “จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 พาลาโอโลกอส (Constantine XI Palaiologos)” จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ สวรรคตในสนามรบ ทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ล่มสลายในที่สุด
1
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 พาลาโอโลกอส (Constantine XI Palaiologos)
แต่ถึงแม้จะล่มสลายมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว แต่วัฒนธรรม ศิลปะ สถาปัตยกรรม และอารยธรรมของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ก็ยังคงมีอิทธิพลต่อดินแดนหลายแห่ง และในทุกวันนี้ นักประวัติศาสตร์ทั้งหลาย ก็ยังคงศึกษาเรื่องราวของจักรวรรดิไบแซนไทน์ อาณาจักรที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
1
References:
https://www.history.com/topics/ancient-middle-east/byzantine-empire
https://courses.lumenlearning.com/suny-hccc-worldhistory/chapter/the-eastern-roman-empire-constantine-the-great-and-byzantium/
https://www.ducksters.com/history/middle_ages_byzantine_empire.php
https://istanbulclues.com/short-history-of-byzantine-empire/
https://www.livescience.com/42158-history-of-the-byzantine-empire.html
https://www.historytoday.com/miscellanies/elusive-byzantine-empire
135 บันทึก
81
74
135
81
74
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย