25 ก.ค. 2021 เวลา 08:38 • หุ้น & เศรษฐกิจ
🤔เกษียณเก็บเงินเท่าไหร่ดี สิ่งสำคัญที่คนมองข้าม ?
วันนี้ #เด็กการเงิน จะสอนคำนวณว่าเราต้องเก็บเงินเท่าไหร่ตอนเกษียณ
สิ่งที่ได้จากบทความนี้
1. การวางแผนเกษียณแบบความเป็นจริง หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดอย่างไร
2. ต้องมีเงินเท่าไหร่ตอนเกษียณ ให้พอใช้รายเดือนตามที่วางแผนไว้ตอนเกษียณ
3. เก็บเงินอย่างไรให้มีได้ตามเป้าตอนจะเกษียณ เพื่อพอใช้ไปจนแก่
📌การวางแผนเกษียณแบบความเป็นจริง หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดอย่างไร
หลายปีมานี้ การวางแผนการเงิน วางแผนการลงทุน เริ่มเป็นที่สนใจของคนไทยมากขึ้น การเข้าถึงข้อมูลความรู้ก็มีมากมายกว่าแต่ก่อนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีคนเริ่มลงทุนกันมากขึ้น ทั้งในหุ้น กองทุน ประกัน ในอนาคตก็คงเป็น ETF และหุ้นต่างประเทศ เราทำกันแบบนี้เพราะเราต้องการให้เงินของเราเติบโต เพิ่มความมั่งคั่ง ขณะที่อาจจะวางแผนเพื่อการเกษียณอีกด้วย หลายคนคงค้นคว้าหาข้อมูลมาเกี่ยวกับการวางแผนเกษียณ เราจะเห็นว่าหากเราไปอ่านบทความพวกนี้ เราจะพบว่าวิธีการคำนวณนั้นง่ายมาก
1
📍ตัวอย่าง: หากเราคิดว่าหลังเกษียณจะใช้เงิน 30,000 บาท ต่อเดือน เท่ากับเราต้องการใช้ 360,000 ต่อปี อายุขัยเฉลี่ยคนไทยอยู่ที่ 85 ปี ถ้าสมมติเราเกษียณตามทั่วไปคือ 60 ปี เท่ากับว่าช่วงที่อายุวัยเกษียณจะอยู่ที่ 25 ปี (อายุขัย 85 ปี - อายุตอนเกษียณ 60 ปี) เท่ากับว่าเราจะใช้เงินทั้งสิ้น 9,000,000 บาท (ช่วงอายุในวัยเกษียณ 25 ปี x จำนวนที่ต้องใช้ต่อปี 360,000 บาท) นั่นหมายความว่าตอนเราอายุ 60 เราต้องมีเงิน 9,000,000 บาท โหมันคำนวณง่ายมากจริง ๆ
แต่ ‼️ ข้อผิดพลาดที่เป็นไปได้ได้สองอย่างคือ
1) เงินที่เราต้องใช้ 30,000 บาท ตอนนี้ อาจจะไม่ใช่ 30,000 บาท ในตอนที่เราเกษียณแล้ว อำนาจในการซื้อมันลดลงเรื่อยๆ ตามเงินเฟ้อที่ปรับตัว 2% โดยเฉลี่ยต่อปี คิดง่ายๆ ในยุคพ่อแม่เรา อาจจะซื้อก๋วยเตี๋ยวชามละ 3-5 บาท ขณะที่ตอนนี้เราคงซื้อไม่ได้แล้ว !! ราคาก๋วยเตี๋ยวก็ชามละ 40-55 บาท แล้ว นั่นแหละครับ อำนาจเงินของเรามันไม่ใช่แล้ว อันนี้เป็นข้อผิดพลาดอันแรก เราลืมคิดเงินเฟ้อเข้าไปด้วย และ
1
2) ตอนที่เราเกษียณ ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ลงทุนต่อนะ !! เรายังคงลงทุนต่อขณะที่ถอนเงินบางส่วนออกมาใช้ในระหว่างปี หรือกินเงินปันผล ผลตอบแทนของเงินลงทุนเราก็ได้ และเงินเฟ้อมันยังคงขยับต่อนะ เราก็ควรได้ผลตอบแทนที่มากกว่าเงินเฟ้อด้วยเช่นกัน เพื่อให้เรามีอำนาจในการซื้อเท่าเดิม
เอ้า !!! อ่านมาถึงจุดนี้แล้ว ตกลงว่าสมมติเราต้องการมีเงินใช้ 30,000 บาท / ปี ตอนเกษียณเนี่ย มันยังไงกันแน่นะ
Step 1️⃣: ให้ดูตารางที่ 1 (สมมติว่าจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี)
📍ตัวอย่าง 1: สมมติจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี ตอนนี้และอยากใช้ 30,000 / ปี (ดูตารางที่ 2) ตัวอย่างจะเหมือนที่ยกไปตอนแรก ที่มันยัง 30,000 เพราะมัน ณ ตอนปัจจุบันเลยไม่ต้องคิดเงินเฟ้อแล้ว สรุปคือจะต้องใช้เงิน 11,796,526 บาท ในอายุ 25 ปีที่เหลือ ก่อนตายในอายุ 85 ปี
📍ตัวอย่าง 2: สมมติอายุ 45 ปี ตอนนี้และอยากใช้ 30,000 บาท / เดือน กว่าจะเกษียณคือต้องใช้ประมาณ 40,376 บาท / เดือน เพื่อให้อำนาจในการซื้อเท่าเดิมตอน 30,000 บาท หรือเท่ากับ 17,477,009 บาท (ดูในตารางที่ 2 หลังรวมเงินเฟ้อโตทุกปี ปีละ 2%) สำหรับ 25 ปี หลังเกษียณตอนอายุ 60 โดยมีอายุขัย 85 ปี
📍ตัวอย่างที่ 3: สมมติอายุ 30 ปี จะเกษียณและต้องการใช้ 30,000 บาท / เดือน ถ้าอยากให้อำนาจการซื้อเท่าเดิมตอน 30,000 บาท หรือปัจจุบัน นั่นหมายความว่าเราต้องมี 53,275 บาท / เดือน หรือเงินที่ต้องใช้ตอนเกษียณรวมทั้งสิ้น 20,886,644 บาท (OMG !)
มาถึงจุดนี้ ก็อย่าพึ่งตกใจไปนะ เรายังไม่จำเป็นต้องมีเงินเท่านี้ เพื่อเกษียณนะ จริงๆ แล้วเราก็ยังสามารถลงทุนต่อได้ ซึ่งผลตอบแทนอาจจะแค่ 3-5% แล้วแต่ความคาดหวังนะ แต่อย่างน้อยต้องชนะเงินเฟ้อเพื่อให้อำนาจในการซื้อของยังอยู่
Step 2️⃣: ขั้นตอนต่อไป ในเมื่อเรารู้แล้วเราต้องใช้เงินเท่าไหร่หลังเกษียณ ซึ่งตารางที่ 2 มันตั้งสมมติฐานไว้ที่ 2% เท่านั้นนะ เงินเฟ้อ จริงๆ มันอาจจะมากกว่านั้นก็ได้ ซึ่งเราก็ต้องเก็บเพิ่มไปอีก เราก็สามารถก็พอกะคร่าวๆ ได้แล้วแหละ หากดูในตารางที่ 2
คราวนี้สำหรับ Step 2 คือเราต้องรู้ว่า แล้วถ้าเราใช้เงินเท่านั้น สุดท้ายแล้วตอนเราอายุ 60 เราต้องมีเงินเก็บกี่บาท โดยสามารถดูได้ในตารางที่ 3 ซึ่งก็จะสมมติว่าเรานำไปลงทุนต่อ ได้ผลตอบแทน 5% ขณะที่เงินเฟ้ออยู่ที่ 2% เพราะความเป็นจริง คนเราก็คงไม่หยุดลงทุน และ 5% ก็ถือว่า Moderate Risk ซึ่งสามารถหาได้จาก Dividend Yield เงินปันผล หรือพอร์ตการลงทุนที่กระจายสินทรัพย์อย่างไม่เสี่ยงมาก
1
ตัวอย่าง หากเราอายุ 30 ปี ตอนนี้ เกษียณตอนอายุ 60 ปี และต้องการใช้ 30,000 บาท / เดือน เท่ากับว่าหลังเกษียณเราต้องใช้เงินทั้งหมด 20,866,644 บาท (อ้างอิงจากตัวอย่างที่ 3 ก่อนหน้านี้) โดยเมื่อเราดูในตารางที่ 3 ตอนอายุ 30 ปี และใช้เงิน 30,000 บาท จะพบว่าตอนเราอายุ 60 ปี เราต้องการเงินเพียง 11,132,297 บาท น้อยกว่า 20 ล้านกว่าก่อนหน้านี้นะ แต่ตัวเลขนี้หมายความว่าเงินเฟ้อต้องเท่าเดิม 2% และเราทำผลตอบแทนต่อปี ปีละ 5% หากทำได้มากน้อยกว่านี้ ก็ต้องไปบวกลบกันเอาเองคร่าวๆ เป้าตอนนี้พอมาเป็น 11 ล้านกว่า หลายคนคงใจชื้นขึ้นมาบ้าง สรุปคือ ตอนอายุ 60 ต้องมีเงิน 11 ล้านกว่า เพื่อที่จะเพียงพอใช้จนอายุ 85 ปี คราวนี้คงเหลือ Step 3 ซึ่งเป็นตอนสุดท้าย
1
👀ก่อนไปถึงตอนสุดท้ายขอทบทวนก่อนนะ
1. เราประเมินค่าใช้จ่ายต่อเดือนเราตอนเราเกษียณตอนอายุ 60 ปีได้ จากตารางที่ 1 โดยรวมเงินเฟ้อแล้ว
2. เราสามารถประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมดหลังเกษียณตอน 60 ปี และมีอายุถึง 85 ปี ได้ จากตารางที่ 2 (อาจจะต้องใช้มากกว่านี้กรณีอายุยืนกว่า 85 ปี)
3. เมื่อเรารู้เงินที่ต้องใช้ทั้งหมดแล้วจากตารางที่ 2 สิ่งที่ต้องรู้ถัดมาคือ เราต้องมีเงินเท่าไหร่ ณ ตอนที่เกษียณหรืออายุ 60 ปี ก็คือตัวเลขจากตารางที่ 3
Step 3: คือการคำนวณ ว่าเราต้องเก็บเงินเท่าไหร่ ให้ไปถึงตัวเลข ในตารางที่ 3 หรือพูดง่ายๆ คือ เราต้องเก็บเงินเท่าไหร่ถึงจะมีเงินเท่าตาราง 3 ตอนอายุ 60 เพื่อที่จะเพียงพอใช้จนแก่ตาย
โพสต์นี้ขอเพียงเท่านี้ ติดตามได้ใน EP 2 สำหรับ Step ที่ 3
โฆษณา