31 ก.ค. 2021 เวลา 01:00 • ไลฟ์สไตล์
กาแฟกับสมาธิเป็นของคู่กันได้อย่างไร
ภาพปก
สำหรับคอกาแฟคงต้องชอบกับบทความนี้แน่ ๆ เพราะเรามักจะดื่มกาแฟกันตอนทำงานเพื่อเพิ่มความกระตือรือร้นให้กับร่างกายและจิตใจ แล้วรู้ไหมว่าเวลาที่เราดื่มกาแฟเราจะมีสมาธิจดจ่อมากเป็นพิเศษ ทำให้เราทำงานหรือเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
รูปแสดงกิจกรรมที่เราทำในชีวิตประจำวัน
แต่ทว่าหลายคนดื่มแล้วมีสมาธิแค่แป๊บเดียวหรือบางคนต้องดื่มหลาย ๆ แก้วถึงจะตื่นและมีสมาธิ แต่หลังจากนั้นไม่นานสมาธิก็หายไปใช่ไหมละครับ
ดังนั้นหากเราต้องการได้รับคุณสมบัติของอเมริกาโน่ หรือลาเต้ให้ได้มากที่สุดในการเพิ่มพลังสมาธิ ก็ต้องมีเคล็ดลับในการดื่มกาแฟ โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์มาช่วยด้วยครับ
สำหรับคนที่พึ่งเริ่มดื่มกาแฟก็สามารถอ่านได้ เพราะว่ามีวิธีที่ทำให้การดื่มกาแฟนั้นง่ายขึ้นและได้ประโยชน์เช่นกัน
**ดื่มกาแฟอย่างไรให้ดีต่อสมอง**
มีการวิจัยเกี่ยวกับสารที่ส่งผลกับสมองอย่างเช่นใบแปะก๊วยหรือยาไพราซีแตม (สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้หากสนใจ) ว่าสารเหล่านี้ไม่ได้มีผลต่อสมองมากนัก
แต่มีงานวิจัยหลายที่แสดงชัดเจนว่า"กาเฟอีน"นั้นส่งผลต่อสมองอย่างแน่นอน
ระดับการส่งผลต่อสมอง
สำหรับคอกาแฟแล้ว (ผมเช่นกัน) คงเคยได้รับประสบการณ์เช่นนี้แล้ว เมื่อเวลาเราดื่มกาแฟแล้วจะรู้สึกตื่นตัวอย่างชัดเจน
ข้อมูลเกี่ยวกับกาเฟอีน
หากได้รับกาเฟอีน 150 - 200 มิลลิกรัม จะช่วยผ่อนคลายความรู้สึกอ่อนเพลียภายในได้ประมาณ 30 นาที และทำให้มีระยะเวลาในการจดจ่อกับงานเพิ่มมากขึ้น
กาเฟอีนช่วยเพิ่มพลังสมาธิได้จากระดับเดิมประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์
ประโยชน์ของการบริโภคกาเฟอีน
5 เปอร์เซ็นต์ดูเหมือนน้อย แต่ตอนที่ทำวิจัย นักวิจัยให้นักแข่งหมากรุกกินกาเฟอีนปริมาณ 200 มิลลิกรัม จำนวน 39 คนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยที่กินกาเฟอีนอย่างสม่ำเสมอ จากนั้นนำไปแข่งกับคนที่ไม่ได้กินกาเฟอีน
ปรากฎว่านักแข่งหมากลุกที่กินกาเฟอีนมีอัตราชนะเพิ่มขึ้นถึง 6-8 เปอร์เซ็น และเมื่อเทียบระดับการเล่นชนะในวงการหมากรุก ถือว่าเพิ่มอันดับอัตราการชนะจากลำดับที่ 5000 ไปสู่อันดับที่ 3000 ได้เลยทีเดียว
สำหรับเคล็ดลับในการดื่มกาแฟอย่างไรให้ตื่นตัว
เคล็ดลับในการดื่มกาแฟ
เรารู้แล้วว่ากาเฟอีนนั้นส่งผลต่อสมองได้อย่างแน่นอน แต่เราก็ต้องจำกัดปริมาณในการบริโภคด้วยเพื่อไม่ให้ส่งผลต่อสมองมากเกินไปจนเกิดผลเสียตามมา
1
1. อย่าดื่มกาแฟเกิน 2 กระป๋อง (กาเฟอีน 400 กรัม) ในครั้งเดียว
หากได้รับกาเฟอีนเกิน 300 มิลลิกรัม ประโยชน์ของมันจะหายไปและถ้าดื่มเกิน 400 มิลลิกรัมจะได้รับผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดความกังวล กระวนกระวายมากขึ้น รวมถึงอาการปวดหัวและความจำระยะสั้น (Short-Term Memory) ลดประสิทธิภาพด้วย
1
แต่ว่าร่างกายทุกคนมีความสามารถในการทนทานต่อกาเฟอีนที่แตกต่างกันบางคนดื่ม 400 มิลลิกรัมไม่เป็นอะไร แต่บางคนดื่มที่ 200 มิลลิกรัมก็มีอาการแล้ว แนะนำว่า ให้เริ่มดื่มประมาณที่น้อย ๆ สำหรับคนที่พึ่งเริ่ม ส่วนคนที่ดื่มเป็นประจำก็อยากให้ลองหาความสมดุลของการดื่มดูครับ เพื่อประโยชน์ของกาเฟอีนสูงสุด
2. เติมนมหรือครีมเทียมลงไปในกาแฟด้วย
ข้อนี้สำหรับคนที่พึ่งเริ่มทานกาแฟหรือดื่มกาแฟดำแล้วรู้สึกใจสั่น
แนะนำให้เติมนมหรือครีมเทียมเพิ่มลงไป เพราะเปอร์เซ็นต์ไขมันจะทำให้การดูดซึมกาแฟได้อย่างนุ่มนวล ไม่เข้มเกินไป ช่วยให้สมองตื่นตัวอย่างไม่รุนแรง หรือใช้อะไรก็ได้ที่มีไขมันเติมลงไปได้ในกาแฟ หรืออาจจะรับประมาณโยเกิร์ตควบคู่ด้วยกันได้ซึ่งสามารถช่วยลดอาการปวดเมื่อยหลังทานกาแฟได้อีกด้วย
3. อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนหลังตื่นนอนทันที
ตอนเช้าร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอติซอล (cortisol) ออกมาเพื่อใช้สำหรับการตื่นตัวของเรา
แต่ถ้าเราตื่นนอนแล้วดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนทันที คุณสมบัติการกระตุ้นของมันจะผสมปนเปกับคอร์ติซอลจนส่งผลรุนแรงเกินไปต่อสมอง ทำให้เสี่ยงเกิดผลข้างเคียงอย่างอาการหัวใจเต้นถี่ กระวนกระวายหรือปวดหัว
โดยปกติคอร์ติซอลจะเริ่มลดลงหลังตื่นนอน 30-45 นาที ถ้าต้องการดื่มจริง ๆ ขอให้ดื่มช่วงนั้นดีกว่า และถ้าแนะนำจริง ๆ หลังตื่นนอนสัก 90 นาทีจะได้รับประโยชน์สูงสุด
4. กินพร้อมกับ "ธีอะนีน" สารแห่งการผ่อนคลายที่มีอยู่ในชาเขียว
ธีอะนีน เป็นสารที่อยู่ในชาเขียว มีความสามารถในการช่วยผ่อนคลายสูง เมื่อดื่มในปริมาณ 50 - 200 มิลลิกรัมจะส่งผลให้เกิดคลื่นแอลฟาเพิ่มขึ้นประมาณ 40 นาที ซึ่งช่วยทำให้จิตใจสงบยิ่งขึ้น
มีการวิจัยเกี่ยวกับการทานธีอะนีนกับกาเฟอีนพร้อมกันและพบว่าผู้ทดลองที่บริโภคธีอะนีน กับกาเฟอีนพร้อมกันมีพลังสมาธิสูงขึ้นประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าบริโภคกาเฟอีนอย่างเดียว
และที่สำคัญธีอะนีน สามารถหักล้างผลข้างเคียงของกาเฟอีนได้ด้วย ทำให้เราได้คุณสมบัติของกาเฟอีนที่ทำให้เราตื่นตัวและมีสมาธิได้อย่างเต็มที่ครับ
หากใครไม่สะดวกดื่มชาเขียว ในสมัยนี้เทคโนโลยีมีความก้าวไกลจนสามารถสกัดสารธีอะนีนจากชาเขียวได้ให้อยู่ในรูปของวิตามิน แคปซูล ซึ่งเราสามารถหาได้ตามร้านขายยาได้
การดื่มกาแฟก็ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การเรียนหรือกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ แต่ว่าเราทุกคนไม่จำเป็นต้องหากาแฟมาทานเพื่อเพิ่มสมาธิเท่านั้น เราสามารถพัฒนาสมาธิได้จากหลากหลายวิธีในปัจจุบันนี้
และสำหรับคนที่เริ่มสนใจการดื่มกาแฟเพื่อเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน แนะนำว่าควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจด้วยครับ ถึงแม้กาแฟจะมีประสิทธิภาพแต่หากเรารับประทานมากเกินไปหรือศึกษาข้อมูลการรับประทานที่ถูกต้องมาไม่ดีก็จะเกิดผลข้างเคียงที่กล่าวมาได้
ขอให้วันนี้คุณมีความสุขกับการทำงานมีกาแฟร้อน ๆ หอม ๆ อยู่ข้างโต๊ะทำงานนะครับ
ขอบคุณแหล่งข้อมูลความรู้จากหนังสือ "พลังสมองของคนทำเรื่องยากได้ ทำเรื่องง่ายเร็ว"
เนื้อหาทั้งหมดถูกเรียบเรียงและเขียนโดยนั่งคิด(ผู้เขียน)
ภาพประกอบภายในบทความทั้งหมดจัดทำโดยนั่งคิด(ผู้เขียน)
โฆษณา