27 ก.ค. 2021 เวลา 04:30 • ไลฟ์สไตล์
ไม่ๆ มันต้องเป็นแบบนี้สิ นี่ไงมันเป็นแบบนี้จริง ๆ
" Confirmation bias "
การหาเหตุผลเพื่อสนับสนุนความคิดเห็นตัวเอง
จนไม่ได้ยินเสียงตะโกนของคนอื่น
มีใครเคยเจอคนที่ไม่ฟังคนอื่นบ้างไหม ? เราตะโกนแทบตาย สุดท้ายเขาก็ไม่ฟัง
ถ้าเคยเจอแบบเดียวกัน สงสัยไหม ว่าเป็นเพราะอะไร ?
วันนี้เกลาอยากจะพามารู้จักกับหนึ่งแนวคิดของความเอนเอียง
ที่เรียกกันว่า Confirmation bias’
ความลำเอียงเพื่อยืนยันความคิดตนเอง (Confirmation bias)
เป็นพฤติกรรมที่จะหาสิ่งมายืนยันว่า ความคิดและการกระทำของตนถูกต้อง
ด้วยการหาข้อมูลมาสนับสนุนความคิดตัวเองเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น
จะตัดสินใจอะไรก็จะสร้างประเด็นขึ้นมาเพื่อทำให้สิ่งนั้นถูก ตรงใจ
และ เพื่อความอุ่นใจของตัวเอง
นั่นเป็นเพราะ...พฤติกรรมนี้จะรับฟังเฉพาะในสิ่งที่อยากฟัง
ยิ่งหากมีคนเห็นด้วยก็จะเป็นการคอนเฟิร์มทำให้ปักใจเชื่อในความคิดนั้น
และหาเหตุผลต่างๆมารองรับความถูกต้องในสิ่งที่ตัวเองคิดอยู่ฝ่ายเดียว
โดยไม่ฟังเสียงรอบข้างว่าคนอื่นรู้สึกอย่างไร
ซึ่งการไม่รับฟังเสียงที่แตกต่างจะทำให้สิ่งเหลืออยู่
มีเพียงเสียงคนที่เหมือนกัน กลุ่มเดียวกัน
แนวความคิดที่จะเหมือนกันหมดเลย
เป็นการเยินยอว่าพวกตัวเองนั้นคิดถูกต้อง
จนเข้าสู่โหมดของโลก ‘ Echo Chamber = ห้องแห่งเสียงสะท้อน ‘
ที่ได้ยินแต่เสียงของตัวเอง หรือ
เสียงที่ออกไปสะท้อนกลับมาจะเป็นเสียงเดียวกันทั้งหมด
🧐โดย Confirmation Bias จะอธิบายได้ด้วย
อคติ4 หรือ ความลำเอียง 4 ประการ ในพุทธศาสนา ซึ่งได้แก่
#1.ลำเอียงเพราะรัก (ฉันทาคติ)
เป็นความลำเอียงเข้าข้างฝ่ายที่ตัวเองรัก โดยเป็นความรักใคร่
พอใจ สนับสนุนเพื่อให้ได้ประโยชน์กับพวกพ้องตัวเอง
เป็นการปกป้องแบบผิด ๆ เพราะความรัก จนทำให้มองว่าผิดนั้นกลายเป็นถูก
#2.ลำเอียงเพราะเกลียด (โทสาคติ)
คือ ความลำเอียงเพราะเกลียดชังไม่ชอบกัน
ปั่นข่าวจนทำให้เสียความยุติธรรม
ขัดขวางจนทำให้สิ่งที่ดีไม่ได้เกิดขึ้นสักที
หรือเลือกที่จะไม่เชื่อฟังเพราะเราเกลียดสิ่งนั้นอยู่
#3.ลำเอียงเพราะหลงผิด ไม่รู้ (โมหาคติ)
คือ การรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เชื่อคนง่าย ทำให้คิดไม่รอบคอบ
จนเกิดความสะเพร่า เช่น
ด่วนตัดสินใจลงโทษผู้ไม่ได้ทำความผิดเพราะได้ฟังข่าวมา
#4.ลำเอียงเพราะกลัว หรือเกรงใจ (ภยาคติ)
คือ ความลำเอียงด้วยความกลัว หรือเกรงใจจากอำนาจหรือ อิทธิพล
จึงทำให้เกิดความลังเลโลเลสงสัย ไม่มีความมั่นคงในตัวเอง
ไม่กล้าตัดสินใจ เพราะตกอยู่ใต้อำนาจของผู้อื่น
เช่น ไม่กล้าลงโทษผู้ทำความผิดเพราะเป็นลูกหลานของผู้มีอิทธิพล
‘แต่รู้ไหมครับว่า ถ้าที่ไหนไม่มีความขัดแย้งเลย ตรงนั้นไม่ใช่ความราบรื่น
แต่นั่นจะเป็น ความเฉื่อยชา ความเฉยเมย ที่จะนำไปสู่ความหยุดนิ่งต่างหาก ‘
เพราะ ‘อคติ’ คือ การสร้าง “ กับดัก ” ทางความคิดตัวเอง
ก่อนที่จะอ่านต่ออยากให้ทุกคนได้ฮึบสูดลมหายใจ
เข้าออกเต็มปอดสัก 3 ครั้งก่อนนะ
👉🏻👈🏻แล้ว ๆๆๆๆ เราจะหลุดจาก ‘ กับดัก ’ ของความคิด ด้วยวิธีอะไรได้บ้าง !!! ?
#ต้องยอมรับและคิดใหม่
ตอนนี้เราต้องยอมรับว่ามีสิ่งที่ไม่รู้นั้นมีอีกมาก
และ อย่ายึดติดกับความรู้ที่มี
ลองคิดใหม่เพื่อปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น
‘ บางทีเราก็ต้องดีใจนะเมื่อรู้ว่าเราคิดผิด
เพราะอย่างน้อยในอนาคต
เราจะมีเรื่องให้ผิดน้อยลงหนึ่งเรื่อง ’
#การเลือกคบคนโดยแยะแยะถูกผิดและหาจุดร่วม
เราต้องแยกระหว่าง ความคิดเห็น ออกจาก อารมณ์เรื่องส่วนตัว
อย่าเอาความยึดติดในบุคคลของเรา
ไปผูกกับความเชื่อ แต่ควรเอาไปผูกกับคุณค่าของเขามากกว่า
ถ้าเขาทำผิด เราก็ควรเตือนว่าผิด ‘อย่าปกป้องบุคคลมากกว่าการปกป้องความดี’
#ต้องเปิดใจรับฟังอย่างมีสติ ตั้งคำถามแบบปลายเปิด และคิดอย่างรอบคอบ
การฟังเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ทั้งฝ่ายเรา
และอีกฝ่ายได้เข้าใจกันมากขึ้น
การฟังในที่นี้ไม่ใช่แค่เป็นการฟังหูทวนลม
แต่เป็นการฟังเพื่อให้ได้สะท้อนความคิดและแลกเปลี่ยนกันให้เข้าใจ
ควรถามว่า How (อย่างไร) อาจจะได้ผลดีกว่า Why (ทำไม)
เช่น
จาก “ ทำไมไม่ให้หมอฉีดวัคซีนก่อน ? ”เปลี่ยนเป็น
“ ถ้าไม่ให้หมอฉีดวัคซีน บุคคลากรทางการแพทย์จะมีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอต่อรักษาและควบคุมการแพร่ของโควิดได้อย่างไร ? ” เป็นต้น
ที่สำคัญ ต้องอย่าคบคนเลวหรือเฉพาะพวกพ้องที่เห็นเดียว
แต่ควรคบเพื่อนที่ดี มีความรู้ที่ถูกต้องน่าจะดีกว่า
สุดท้ายแล้ว ...
เรื่องต่าง ๆ ไม่ใช่มีแค่สีขาวหรือดำ
แต่โลกของเราประกอบด้วยส่วนผสมของทั้งสองสี เป็นโทนของสีเทา
ต้องมองจากหลายมุมและต้องยอมรับความเห็นต่าง
เพียง..มาเริ่มต้นเปลี่ยนที่ตัวเราก่อน แล้วสังคมเราจะน่าอยู่ขึ้นนะ :)
#เกลาตัวเองก่อนที่จะไปเกลาคนอื่น #เกลาไปพร้อมกัน
Writer : Alisa Inthirak
Source:
-คลิปดร.ชัชชาติ พูดถึงหนังสือ Think Again ฟังเต็มๆในคลิปนี้ https://youtu.be/GcUL1dqNvUo
-Journal of MCU Peace Studies Vol.7 No.6 (November-December 2019)
โฆษณา