27 ก.ค. 2021 เวลา 02:35 • ธุรกิจ
เปิดมุมมอง “นก มณีรัตน์” CEO แห่ง Sea (ประเทศไทย) กับการปรับเพื่ออยู่รอดในยุคดิจิทัล ที่เริ่มต้นจากคำว่า “ทำไม?”
จากประสบการณ์กว่า 7 ปี ในการบริหาร Sea (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ อาทิ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และซีมันนี่ (SeaMoney) “คุณนก” – “มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ” ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) เป็นอีกบุคคลที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างใกล้ชิด และด้วยความที่ธุรกิจของ Sea (ประเทศไทย) เป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและศักยภาพของ SMEs ด้วยเทคโนโลยี มุ่งเติมเต็มไลฟ์สไตล์ผู้คนยุคดิจิทัลที่มีความพลวัตสูง ดังนั้น Sea (ประเทศไทย) จึงต้องดำเนินงานบนคลื่นความเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพและปรับตัวเพื่อคว้าโอกาสอย่างรวดเร็วที่สุด
ผู้อยู่รอด คือ ผู้ที่ปรับตัวอย่างได้รวดเร็วและมีกลยุทธ์
หากมองย้อนกลับไปในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของทุกคนในสังคม ตลอดจนการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น Sea Group ซึ่งปัจจุบันเป็นธุรกิจแพลตฟอร์มที่มีมูลค่าสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงให้ความสำคัญกับ ‘การปรับตัว’ ขององค์กรเป็นอย่างมาก ในประเทศไทยก็ไม่เป็นข้อยกเว้น
“ธุรกิจของเราเริ่มต้นจาก Garena ที่เริ่มต้นนำเกมออนไลน์จากต่างประเทศเข้ามาเปิดให้บริการในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2555 เนื่องจากเราเล็งเห็นว่าในประเทศไทยยังไม่มีผู้ให้บริการเกมออนไลน์ที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ในขณะนั้น เกมส่วนมากไม่ได้ถูก localize ให้เหมาะกับคนไทย ไม่มี server หรือแพลตฟอร์มที่อำนวยความสะดวกให้ผู้คนได้มาเล่นเกมด้วยกัน ซึ่งเวลานั้นเป็นยุคของ PC Games ต่อมาเมื่อสมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทในชีวิตผู้คนมากขึ้น เราได้เล็งเห็นว่าตลาด mobile games น่าสนใจมาก จึงได้นำ mobile games เข้ามาเปิดให้บริการในประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น Arena of Valor (AoV) ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการปรับตัวและคว้าโอกาสจากโลกแห่ง digitalization” มณีรัตน์ กล่าว
เมื่อธุรกิจในไทยเริ่มเติบโต ในปี 2557 จึงเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ชื่อ AirPay (ในปัจจุบันใช้ชื่อว่า ShopeePay) ซึ่งเป็น e-Payment Platform และในปี 2558 บริษัทขานรับความต้องการของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลอีกครั้ง โดยการนำ Shopee ซึ่งเป็นอีคอมเมิร์ซเข้ามาเปิดให้บริการในไทย
“การเข้าไปเล่นในธุรกิจใหม่ ๆ ของ SEA ไม่ได้เกิดมาจากการตั้งคำถามว่า ต่อไปฉันจะทำอะไรดี? แต่เกิดมาจากการที่เราต้องการเติมเต็ม UNMET NEEDS ให้กับผู้ใช้งานของเรา”
Sea ใช้การวิเคราะห์ data ในมือเพื่อค้นหาปัญหาที่ต้องการการแก้ไข นำไปสู่การตั้งคำถามว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? เมื่อรู้รากของปัญหาที่แท้จริงแล้ว ถึงจะรู้ว่าก้าวต่อไปของธุรกิจคืออะไร เช่น หากพบว่าเกมเมอร์ไม่พึงพอใจกับการเล่นเกมมากเท่าที่ควร หากไม่ลงลึกถึงสาเหตุ ก็อาจจะวิ่งไปปรับปรุงเกมเดิมหรือไปหาเกมใหม่เข้ามาให้บริการทดแทน แต่จริง ๆ แล้วปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวเกม แต่อยู่ที่ประสบการณ์
ในตอนนั้น บริษัทพบ insight ว่า เกมเมอร์ชอบเล่นเกมตอนค่ำเพราะเป็นเวลาพักผ่อนหลังการเรียนการทำงาน แต่การที่จะเดินทางออกไปเติมเงินเกมตอนกลางคืนนั้นไม่สะดวก ไม่ปลอดภัย ทำให้การเล่นเกมขาดความต่อเนื่องอีกด้วย ดังนั้น จึงสร้าง AirPay ขึ้นมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เล่นเติมเงินเกมได้ผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด
นอกจากนั้น บริษัทก็เสริมบริการอื่น ๆ ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้ใช้งานเข้าไป เช่น เกมเมอร์ชอบทานอะไร ก็ให้สั่งซื้อผ่าน AirPay ได้ หากผู้ใช้งานเป็นวัยรุ่นชอบดูหนังในโรง ก็สามารถจองและจ่ายค่าตั๋วผ่าน AirPay ได้แบบ one-stop-service โดยที่ไม่ต้องไปขึ้นตั๋วที่โรงเลย กล่าวได้ว่าบริการที่มีบนแพลตฟอร์ม ผ่านการไตร่ตรองมาแล้วว่าจะตอบความต้องการผู้ใช้งานได้
เช่นเดียวกันกับ Shopee ที่ มณีรัตน์ มองว่า จะมีบทบาทสำคัญกับชีวิตผู้คนยุคดิจิทัลมาก ๆ ในอนาคต แต่ตอนที่จะเข้ามาในตลาดไทยก็มีผู้เล่นใหญ่ ๆ ครองตลาดอยู่แล้ว จึงต้องทำการบ้านหนักมากในการหา unmet needs ที่ยังไม่มีได้รับการเติมเต็ม
“ในตอนที่เราเริ่มคิดเกี่ยวกับการให้บริการอีคอมเมิร์ซ เป็นช่วงที่โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน และเราเห็นแนวโน้มว่าคนจะใช้เวลาอยู่บนสมาร์ทโฟนมากยิ่งขึ้นไปอีก นอกจากนี้ เรายังมี insight ของพฤติกรรมผู้บริโภคในไทยและรวมถึงประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ว่าผู้คนชอบแชทกับผู้ขายก่อนตัดสินใจซื้อ แต่ในตอนนั้นแพลตฟอร์มส่วนใหญ่ถูกพัฒนามาเพื่อใช้งานบนเว็บไซต์เป็นหลัก และยังขาดความเป็นโซเชียลที่ผู้บริโภคมีความชื่นชอบ ในเวลานั้น Shopee จึงเข้ามาทำตลาดในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้สำเร็จ ในฐานะ mobile-first e-commerce ที่มีฟีเจอร์ตอบโจทย์ผู้ใช้งานที่ชื่นชอบและคุ้นเคยกับ social commerce” มณีรัตน์ กล่าวเสริม
พนักงาน คือ หัวใจ
หากองค์กรต้องการวิ่งให้ทันความรวดเร็วของโลกแห่ง digitalization ก็ต้องพัฒนาหรือเฟ้นหาทีมที่พร้อมด้วยศักยภาพ เพราะคนเปรียบเสมือนฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนบริษัท เทคโนโลยีจะไม่มีความหมายหากพนักงานไม่รู้จักวิธีใช้ ดังนั้น digital transformation ต้องเริ่มที่คน
มณีรัตน์ ได้อธิบายถึงการทรานส์ฟอร์มองค์กรว่า มี 4 ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรเกิดการ transform ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ….
อ่านบทความต่อได้ที่ https://www.thestorythailand.com/27/07/2021/35715/
ติดตามสตอรี่ดี ๆ จาก The Story Thailand ได้ตามช่องทางเหล่านี้
#TheStoryThailand #เดอะสตอรี่ไทยแลนด์ #สตอรี่ดีๆ
โฆษณา