27 ก.ค. 2021 เวลา 14:43 • สุขภาพ
ประมาณการว่า กรุงเทพฯ น่าจะยังมีผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการอยู่ประมาณ 4-5 แสนราย
4
ด้วยเหตุที่ไวรัสโคโรนาลำดับที่เจ็ด เป็นไวรัสใหม่และก่อให้เกิดโรคใหม่คือ โควิด-19
จึงทำให้องค์ความรู้เกี่ยวกับไวรัสและโรคโควิด-19 ทยอยพัฒนาเพิ่มขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
จากความรู้ทางด้านไวรัส ที่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดนั้น
1
พบว่าเมื่อตอนต้นปี 2563 นักวิชาการคาดคะเนว่า ในผู้ติดเชื้อไวรัสจะแสดงอาการมากถึง 80% และติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการ 20%
แต่เมื่อเวลาผ่านมาหนึ่งปีเศษ จากการเก็บข้อมูลผู้ป่วยจริงและการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ก็ประมาณการว่า
ผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการมีเพียง 20% หรือหนึ่งในห้า และมีการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการมากถึง 80% หรือสี่ในห้าส่วน
โดยที่ศักยภาพการตรวจมาตรฐานเพื่อหาไวรัสหรือ RT-PCR มีข้อจำกัดทั้งเรื่องการเก็บตัวอย่างที่ยุ่งยาก ต้องใช้บุคลากรทางสาธารณสุข ต้องจัดหาอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่มีความซับซ้อนและราคาแพง ตลอดจนน้ำยาชุดตรวจก็มีค่าใช้จ่ายสูง การรอผลการตรวจก็กินเวลามาก
จึงทำให้เป็นข้อจำกัด ที่ทุกประเทศจะต้องเน้นตรวจเฉพาะผู้ที่แสดงอาการเป็นหลัก
4
และถ้ายังมีศักยภาพเหลือบางส่วน จึงจะนำไปตรวจผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ แต่มีประวัติสัมผัสเสี่ยงที่เรียกว่า การตรวจเชิงรุก
1
ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน จึงพบรายงานผลการตรวจในแต่ละวันว่า ผู้ติดเชื้อจะอยู่ในกลุ่มตรวจพบในระบบบริการ มากกว่าการตรวจเชิงรุก
1
เช่น ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 เป็นการตรวจพบในระบบบริการ 10,407 ราย ในขณะที่เป็นการตรวจเชิงรุกเพียง 3,459 ราย
และเมื่อเก็บข้อมูลสะสมย้อนหลังไป 14 วัน พบว่าเป็นการตรวจพบในระบบ 126,181 ราย คิดเป็น 76.20% ในขณะที่เป็นการตรวจเชิงรุกเพียง 39,402 รายคิดเป็น 23.80%
ซึ่งสอดคล้องกับสัดส่วนของการตรวจพบผู้ติดเชื้อแสดงอาการ และไม่แสดงอาการดังกล่าวข้างต้น
1
จึงคาดได้ว่า ยังมีประชากรที่ติดเชื้อแล้ว แต่ยังไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเล็กน้อยมาก จึงยังไม่ได้รับการตรวจด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCT เป็นจำนวนมาก
และประชากรส่วนนี้ อาจเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้การเกิดการแพร่ระบาดและควบคุมโรคได้ยาก
1
เพราะเจ้าตัวเอง ก็ไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ จึงไม่ได้ระมัดระวัง
การเร่งตรวจเชิงรุก เพื่อหาผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ จึงเป็นมาตรการสำคัญยิ่ง เพื่อที่จะสกัดหรือทำการควบคุมการระบาดของ
โควิด-19
3
ในขณะนี้ ได้มีการพัฒนาชุดทดสอบหาไวรัสด้วยตนเองที่บ้านเรียกว่า Antigen Test Kit :ATK ซึ่งทำได้ง่าย ทราบผลเร็ว ราคาถูก และผลิตได้เป็นจำนวนมาก
ขณะนี้ทางการของไทย ก็ได้อนุญาตให้ประชาชนสามารถหาซื้อมาตรวจด้วยตนเองได้แล้ว
จึงเกิดประเด็นคำถามสำคัญขึ้นว่า ถ้ามีการระดมตรวจด้วยชุดทดสอบด้วยตนเองที่บ้าน (ATK) อย่างกว้างขวาง จะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีกมากน้อยเพียงใด และจะเป็นภาระในการดูแลผู้ติดเชื้อเหล่านี้อย่างไรต่อไป
2
มีวิธีการคาดเดาหรือประเมินได้สองวิธีดังนี้
1) ประเมินจากองค์ความรู้ ที่บอกว่า ผู้ที่ติดเชื้อไวรัส 100 คน จะแสดงอาการเพียง 20 คน แล้วติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการถึง 80 คน สัดส่วนหนึ่งต่อสี่
ขณะนี้กรุงเทพมหานคร พบผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 137,263 ราย เป็นการตรวจพบผู้ติดเชื้อที่มีอาการในระบบ 104,594 ราย ทำให้คาดได้ว่าน่าจะมีผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเป็นสี่เท่าเท่ากับ 418,378 ราย
1
แต่ในการตรวจของกรุงเทพมหานครนั้นได้ตรวจเชิงรุกพบผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการไปแล้ว 39,402 ราย
เมื่อนำมาหักออกจากค่าประมาณการ 418,378 ราย จึงคาดว่าจะเหลือผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการอยู่อีก 378,976 ราย
1
2) ประเมินจากการพบสัดส่วนผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ ด้วยชุดทดสอบตนเองที่บ้านแล้ว พบว่ามีการตรวจพบผู้ติดเชื้อ 11.70% ของจำนวนผู้ทดสอบทั้งหมด (โดยมาจากตัวอย่างเบื้องต้น 9427 ตัวอย่าง)
1
เมื่อคำนวณประชากรของกรุงเทพมหานคร ตามทะเบียนราษฎร์ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 5,487,876 คน
จึงคาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อ 642,081 คนขณะนี้ตรวจไปแล้วทั้งสิ้น 137,263 คน จึงเหลือผู้ที่ติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการอยู่ 504,818 คน
2
จะเห็นได้ว่า การประเมินหรือคาดเดา จากทั้งสองวิธีนั้น มีตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ ในเขตกรุงเทพฯประมาณ 4-5 แสนคน
ทำให้ผู้รับผิดชอบในเขตกรุงเทพฯ จำเป็นที่จะต้องวางระบบ เพื่อรองรับ ผู้ที่ตรวจพบผลเป็นบวก จากชุดทดสอบด้วยตนเองดังกล่าว
ซึ่งทางการได้ประกาศว่า จะแจกหรือใช้ตรวจให้กับประชาชนฟรีจำนวน 8.5 ล้านชุดทดสอบ
ถ้าเราตรวจพบผู้ติดเชื้อในเขตกรุงเทพฯ 4- 500,000 รายดังกล่าว ซึ่งเกือบทั้งหมดจะเป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ จึงสามารถกักตัวอยู่ที่บ้านได้
มีเพียงส่วนน้อย ที่อาจจะต้องเข้าโรงพยาบาลสนามหรือโรงพยาบาลหลัก
การจัดระบบความพร้อม ของผู้ที่กักตัวอยู่ที่บ้าน (Home Isolation) จำนวนมากนี้ จำเป็นจะต้องมีซอฟต์แวร์หรือแพลตฟอร์มที่จะรายงานอาการของผู้ที่กักตัวอยู่ที่บ้าน ให้ทราบการเปลี่ยนแปลงและแจ้งผลมาที่โรงพยาบาลหลักโดยเร็วทุกวัน เพื่อที่จะรองรับการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อที่บ้าน
และจากการคาดหมายในทำนองเดียวกัน ในเขตปริมณฑลอีกห้าจังหวัด ซึ่งมีประชากรรวม 5,228,137 คน เทียบเท่ากับประชากรของ กรุงเทพมหานครจำนวน 5,487,876 ราย
แยกเป็น
สมุทรปราการ 1,332,683 คน
นนทบุรี 1,266,730 คน
ปทุมธานี 1,166,979 คน
นครปฐม 910,511 คน
สมุทรสาคร 551,234 คน
ก็คงจะมีผู้ติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการและตรวจพบด้วยชุดทดสอบด้วยตนเองที่บ้านในจำนวนใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ
ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ และต้องดูแลรักษาตัวที่บ้านในเขตกรุงเทพและปริมณฑลมีจำนวนมากถึง 800,000 ถึง 1,000,000 คน จากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 10,000,000 คน
1
จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จะต้องจัดระบบรองรับเป็นอย่างดีต่อไป
โฆษณา