28 ก.ค. 2021 เวลา 08:03 • กีฬา
‘แม็กกี้ แมคนีล’ ถูกพ่อแม่ชาวจีนทอดทิ้งในนโยบายลูกคนเดียว
ชาวแคนาดารับอุปการะ คว้าเหรียญทองแรกว่ายน้ำโอลิมปิก
3
โอลิมปิก 2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นับว่ามีเป็นการแข่งขันที่มีเรื่องราวน่าสนใจต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะกับนักกีฬาผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ที่เต็มไปด้วย ‘สตอรี่’ ภูมิหลังต่างๆ ที่แทบจะหยิบเรื่องราวของเขาหรือเธอคนนั้นมาสร้างเป็นภาพยนต์ได้เลยทีเดียว
1
อีกหนึ่งนักกีฬาที่สร้างเสียฮือฮาก็คือ ‘แม็กกี้ แมคนีล’ นักกีฬาว่ายน้ำหญิงชาวแคนาดาเชื้อสายจีน ที่สามารถสร้างสถิติในการแข่งขันในว่ายน้ำท่าผีเสื้อระยะทาง 100 เมตร เอาชนะตัวเต็งในการแข่งขันอย่าง ‘จาง หยูเฟย’ นักว่ายน้ำชาวจีน ไปด้วยเวลา 55.59 วินาที เฉือนเอาชนะนักกีฬาเชื้อสายเดียวกันแต่ต่างสัญชาติไปเพียง 0.05 วินาทีเท่านั้น คว้าเหรียญทองโอลิมปิกเหรียญแรกของกีฬาว่ายน้ำให้กับแคนดาได้สำเร็จ
1
🔵 เงือกสาวจอมทำลายขีดจำกัด
แม็กกี้เริ่มแข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกตอนอายุ 8 ขวบ และเป็นนักกีฬาของโรงเรียนมาโดยตลอด แม้เธอจะเกิดมามีสุขภาพไม่แข็งแรง เพราะต้องต่อสู้กับโรคหอบหืด แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรค์กับการเล่นกีฬาที่เธอรัก
เมื่อเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน เธอกลายเป็นนักกีฬาว่ายน้ำดาวรุ่งของสถาบัน ซึ่งเธอเป็นเพื่อนร่วมทีมเดียวกับ ‘ชีวอน ฮอยฮี’ นักกีฬาว่ายน้ำชาวฮ่องกงที่ร่วมการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้และสามารถคว้าเหรียญเงินประวัติศาสตร์ให้กับฮ่องกงในท่าฟรีสไตล์หญิง 200 เมตร
3
‘แม็กกี้ แมคนีล’ ในวัย 8 ขวบ ตอนลงแข่งว่ายน้ำครั้งแรก cr.instagram @macnmagg
ความสามารถของเธอปรากฎอย่างชัดเจนในการแข่งขันชิงแชมป์โลกที่เมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ในปี 2019 ซึ่งเธอสามารถเอาชนะ 'ซาราห์ สโยสตรอม' ชาวสวีเดน เจ้าของสถิติโลกในผีเสื้อ 100 เมตร คว้าเหรียญทองด้วยเวลา 55.83 วินาที นับเป็นการทำลายสถิติระดับชาติและเครือจักรภพอีกด้วย
2
แม็กกี้ได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘ดาราโอลิมปิก’ ในทันทีหลังจากได้รับรางวัลนักว่ายน้ำยอดเยี่ยมแห่งปีของแคนาดาและนักกีฬาหญิงแห่งปีของมหาวิทยาลัยมิชิแกน
เมื่อโอลิมปิก 2016 ที่เมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล เธอคว้าอันดับที่ 6 ในการแข่งขันท่าผีเสื้อ 100 เมตร และในเดือนมิถุนายนปีนี้ เธอมีคุณสมบัติที่จะเป็นตัวแทนของแคนาดาในโอลิมปิกที่กรุงโตเกียว ซึ่งเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เธอลงช่วยทีมแคนาดาในการว่ายผลัดฟรีสไตล์ 4 × 100 เมตร ในรอบชิงชนะเลิศ และว่ายน้ำทำเวลาที่ 53.47 วินาที ช่วยให้ทีมของเธอคว้าเหรียญเงินประวัติศาสตร์เหรียญแรกของทีมว่ายน้ำแคนาดาได้สำเร็จ ก่อนที่เธอจะมาคว้าเหรียญทองในท่าผีเสื้อ 100 เมตร จากการฉายเดี่ยวของเธอล้วนๆ
2
วินาทีที่เธอรู้ตัวว่าเป็นผู้ชนะได้กลายเป็นกระแสไวรัลในโซเชียลมีเดีย จังหวะที่เธอว่ายแตะขอบสระ แล้วหันมาดูที่จอภาพซึ่งฉายผลคะแนน เธอหรี่ตามองโดยใช้เวลาสักครู่เพื่อดูว่าเธอชนะรอบชิงชนะเลิศหรือไม่ เนื่องจากเธอมีสายตาสั้นและไม่ได้ใส่คอนแทคเลนส์หรือแว่นตาขณะทำการแข่งขัน จากนั้นเธอก็อุทานออกมาว่า “โอ้ พระเจ้า” หลังจากที่นึกขึ้นได้ว่าเธอคือแชมป์โอลิมปิก
1
“ฉันได้ยินชื่อของฉันถูกเรียก ดังนั้นฉันคิดว่าฉันต้องทำได้ แต่มันจะไม่ชัวร์เลยจนกว่าฉันจะหันกลับมาและเห็นผลคะแนนที่ฉันรู้ว่าฉันชนะ”
1
มันเป็นความสำเร็จที่น่าทึ่งสำหรับแคนาดาที่คว้าเหรียญทองแรกของนักว่ายน้ำทีมชาติ จากความทุ่มเทอย่างเต็มที่ในการฝึกฝน
1
“ฉันไม่ได้รู้สึกเครียดอย่างที่ควรจะเป็นเกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฉันมุ่งความสนใจไปที่การว่ายน้ำจริงๆ เมื่อฉันอยู่ที่สระว่ายน้ำ และมุ่งความสนใจไปที่การเรียน และทั้งสองก็เชื่อมโยงกันจริงๆ เพียงเพราะฉันจะไม่คิดถึงมัน แต่ว่าฉันอยู่ในที่นี่แล้ว"
🔵 เด็กน้อยที่พ่อแม่ไม่ต้องการ จากนโยบายลูกคนเดียว
แม็กกี้ มีเชื้อสายจีนโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2000 ในเมืองจิ่วเจียง มณฑลเจียงซี แต่พ่อและแม่ของเธอเลือกที่จะไม่เลี้ยงเธอและน้องสาว โดยนำทั้งคู่ไปไว้ยังสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า จากนโยบายลูกคนเดียวของรัฐบาลจีนที่ประกาศบังคับใช้มาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ยุคปี 1980 ซึ่งตอนนั้นเธอและน้องสาวมีอายุแค่ไม่กี่เดือน
1
หนึ่งปีต่อมา “ซูซาน แมคนีล” และ “เอ็ดเวิร์ด แมคนีล” ได้รับอุปการะเธอและน้องสาวจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าท้องถิ่น แล้วพาพวกเธอไปอยู่ที่แคนาดา โดยได้ไปแจ้งเกิดเธอใหม่ที่เมืองลอนดอน รัฐออนแทรีโอ ทำให้เธอถือสัญชาติแคนดานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
2
สำหรับแม็กกี้แล้ว เธอมีความชัดเจนมาตลอดว่าเธอคือใคร เธอเกิดที่ไหน และปัจจุบันรวมทั้งอนาคตเธอคือคนของประเทศอะไร
“ฉันเกิดที่ประเทศจีน ถูกรับเลี้ยงตั้งแต่ยังเด็ก และนั่นคือสิ่งที่เป็นอดีตที่ได้จีน” เธอกล่าวในการแถลงข่าวหลังการแข่งขัน
“ฉันเป็นคนแคนาดาและเป็นชาวแคนาดามาโดยตลอด ดังนั้นนั่นเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ในการเดินทางของฉัน เพื่อมาสู่จุดที่เป็นฉันในวันนี้ มันเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องเมื่อพูดถึงการว่ายน้ำ"
นโยบายลูกคนเดียวของจีนเริ่มตันในปี 1980 และถูกบังคับใช้มานานกว่า 3 ทศวรรษก่อนที่จะเปิดเสรีเป็นนโยบายลูกสองคนได้ในปี 2015 และผ่อนคลายมากขึ้นอีกครั้งเป็นนโยบายลูกสามคนในปีนี้ เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรรุ่นใหม่ จากการที่ประเทศจีนเผชิญกับวิกฤตการณ์สังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับอัตราการเกิดที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เกิดภาวะความอดอยากครั้งใหญ่ในช่วงปี 1959 - 1962 เมื่อประเทศต้องทนทุกข์ทรมานกับการเสียชีวิตจากความอดอยากของจำนวนประชาชนราว 10 ล้านคน
2
ภายใต้นโยบายลูกคนเดียว หน่วยงานท้องถิ่นที่พยายามบรรลุเป้าหมายด้านประชากรมักใช้มาตรการที่รุนแรง เช่น การบังคับทำแท้งและทำหมัน ความเชื่อของสังคมครอบครัวคนจีนที่มักเลือกมีแต่ลูกผู้ชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท ส่งผลให้มีการทำแท้ง การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมหรือการละทิ้งเด็กผู้หญิงจำนวนมาก ทำให้เกิดความไม่สมดุลทางเพศอย่างใหญ่หนักในจีน
2
ครอบครัวใดที่ละเมิดนโยบายลูกคนเดียวและลูกสองคนต่อมาต้องเผชิญกับปัญหาที่หนักหน่วงและความยากลำบากในการหางานทำ เมื่อเร็วๆ นี้ในปี 2020 หน่วยงานท้องถิ่นในมณฑลเสฉวนสั่งปรับเงินครอบครัวหนึ่งเป็นเงิน 718,080 หยวน (3,636,864 บาท) เนื่องจากครอบครัวนี้มีลูกมากถึง 7 คน
2
ด้วยเหตุผลนี้ทำให้หลายครอบครัวต้องทอดลูกสาววัยทารกที่ประตูสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า โรงเรียน หรือแม้แต่บนถนน ด้วยความหวังว่าบ้านหรือครอบครัวอื่นจะพาไปดูแลต่อ
🔵 จีนเด็กกำพร้าพุ่ง แต่สถานรับเลี้ยงจำกัด
กระทรวงกิจการพลเรือนรายงานว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้ มีเด็กกำพร้าในจีนจำนวนถึง 190,000 คน แต่ในจำนวนนี้มีสถานสงเคราะห์เด็กดูแลเพียงแค่ 59,000 แห่งทั่วประเทศเท่านั้น
เมื่อปี 2012 ประเทศจีนมีจำนวนเด็กกำพร้าอยู่ที่ 570,000 คน แต่สำหรับปี 2021 จำนวนเด็กกำพร้าพุ่งสูงขึ้นมาก และตลอดทั้งปีนี้อาจจะเพิ่มขึ้น 3 เท่า
2
เรื่องราวของแม็กกี้ทำให้นึกถึงเรื่องราวของ ‘มอร์แกน เฮิร์ด’ นักยิมนาสติกชาวอเมริกัน ซึ่งเธอก็มีเชื้อสายจีน เกิดในมณฑลกวางสี ในปี 2001 เธอได้รับการรับอุปการะจากแม่บุญธรรมของเธอ ซึ่งเป็นชาวเมืองมิดเดิลทาวน์ รัฐเดลาแวร์ เมื่ออายุ 11 เดือน และเริ่มเล่นยิมนาสติกเมื่ออายุ 3 ขวบ
2
เฮิร์ดเป็นนักยิมนาสติกแนวหน้าของสหรัฐฯ ที่สวมแว่นตาขนาดใหญ่เป็นเอกลักษณ์เวลาลงแข่ง และคว้าเหรียญทองชิงแชมป์โลกในปี 2017 – 2018
1
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุในจำนวนเด็ก 82,456 คน ที่ชาวอเมริกันรับอุปการะจากจีนระหว่างปี 1999 - 2013 โดยจำนวนมากเป็นเด็กผู้หญิงถึง 82.14%
1
🔵 ชาวเน็ตจีนซัด เราพลาดเด็กมีพรสวรรค์ไปแล้วกี่คน
1
การที่แม็กกี้ และเด็กเชื้อสายจีนที่ได้ไปอยู่ในครอบครัวชาวต่างชาติ และสามารถประสบความสำเร็จในการแข่งขันบนเวทีระดับโลกได้ กลายเป็นประเด็นที่ชาวอินเตอร์เน็ตของจีนต่างฮือฮาวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก มีความคิดถึงบนสื่อสังคมออนไลน์ของจีนอย่าง Weibo มากมายเช่น เนื่องจากมีสื่อท้องถิ่นหลายแห่งพยายามนำเสนอเธอว่า เคลมเธอว่าเป็นคนจีน เป็นความสำเร็จของจีน
1
“มีเด็กผู้หญิงกี่คนที่ไม่รับรู้ถึงศักยภาพในตนเอง เนื่องจากครอบครัวชื่นชอบเด็กผู้ชายมากกว่า”
“มีผู้หญิงมากความสามารถกี่คน ที่พวกเราไม่ใส่ใจ เราพลาดพรสวรรค์ของผู้หญิงไปกี่คนแล้ว?”
ชาวเน็ตชาวจีนคนอื่นๆ ยืนยันว่า ถึงแม้ผู้ชนะโอลิมปิกจะเป็นชาวจีนโดยกำเนิด แต่เหรียญทองของแม็กกี้ไม่ได้เพิ่มเกียรติให้กับจีน
“ชัยชนะของเธอพิสูจน์แล้วว่าเชื้อชาติไม่สำคัญต่อกีฬาอย่างไร ในขณะที่ชาวเอเชียคว้าเหรียญทองและเงินในการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้”
"เธอถือสัญชาติแคนาดา และเครดิตทั้งหมดควรตกเป็นของบรรดาผู้ที่เลี้ยงดูและฝึกฝนเธอมาเป็นอย่างดีในแคนาดา"
.
“ฉันรู้สึกละอายใจที่เห็นสื่อพูดถึงว่าแม็กกี้เกิดที่จีน สิ่งที่ควรค่าแก่การกล่าวถึงมากกว่านั้น อาจเป็นเราปล่อยเธอไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว”
1
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
1
โฆษณา