30 ก.ค. 2021 เวลา 02:22 • ความคิดเห็น
☘️ความเป็นมาของวันเข้าพรรษา
ในช่วงปฐมโพธิกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ทีวัดเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ ในสมัยนั้นพระพุทธองค์ยังไม่ได้ทรงบัญญัติเรื่องการอยู่จำพรรษา
.
ภิกษุสงฆ์จึงเที่ยวจากริกไปตามสถานที่ต่างๆในช่วงฤดูฝน เป็นฤดูการในการทำไร่ทำนาของชาวบ้าน เพราะเป็นฤดูกาลที่มีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ เมื่อภิกษุเที่ยวจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ บางครั้งไม่ได้ระมัดระวัง ก็เผลอเหยียบข้าวกล้าในนา ทำความเสียหายแก่พืชพรรณของชาวบ้าน
.
บางครั้งก็พลาดพลั้งไปเหยียบสัตว์ตายบ้าง ชาวบ้านจึงพูดกันว่า ทำไมพระภิกษุซึ่งเป็นเชื้อสายพระสมณศากยบุตรจึงได้เที่ยวจาริกไปในฤดูฝน และได้เหยียบย่ำข้าวของชาวไร่ชาวนา แถมยังทำชีวิตสัตว์เล็กสัตว์น้อยให้ตกร่วงไปด้วย
.
แม้พวกปริพาชกผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยังรู้จักพักอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน กระทั่งฝูงนกก็ยังทำรังอยู่บนยอดไม้ตลอดฤดูฝน แต่พระภิกษุเหล่านี้กลับเที่ยวจาริกไปตลอดทุกฤดูกาล
.
☘️ เมื่อภิกษุสงฆ์ได้ยินชาวบ้านว่ากันอย่างนี้จึงนำเรื่องไปกราบทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ
พระพุทธองค์จึงบัญญัติพระวินัยให้ภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาเป็นเวลาตลอดสามเดือน
.
ในเรื่องการบัญญัติพระวินัยนี้มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่อย่างหนึ่งก็คือ พุทธองค์พึงคำนึงถึงประโยคที่ภิกษุจะพึงได้รับเพื่อท่านจะได้ฝึกหัดขัดเกลาตัวเองให้สมบูรณ์ยิ่ง ๆขึ้นไป ไม่ได้เป็นไปเพื่อมุ่งร้ายหรืออาศัยอคติความลำเอียงแต่อย่างใด
.
☘️ประโยชน์สิบประการ คือ
เป็นไปเพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
เพื่อความอยู่สำราญแห่งหมู่สงฆ์
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ ยาก
เพื่อความอยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
เพื่อกำจัดอาสวะที่จะบังเกิดขึ้นในอนาคต
เพื่อความเลื่อมใสของชนที่ยังไม่เลื่อมใส
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชนที่เลื่อมใสแล้ว
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
และประการสุดท้ายก็เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย
.
พระสงฆ์ต่างก็สงสัยกันว่า จะต้องเริ่มเข้าอยู่จำพรรษาช่วงเดือนไหนดี จึงทูลถามพระพุทธองค์อีกครั้ง
.
พุทธองค์ตรัสตอบว่าเราอนุญาตให้ภิกษุอยู่จำพรรษาในฤดูฝน ซึ่งวันเข้าพรรษามีอยู่สองวันด้วยกันคือ
☘️ วันเข้าพรรษาต้นและวันเข้าพรรษาหลัง
วันเข้าพรรษาต้นคือวันที่พระจันทร์เสวยล่วงอาสฬหะล่วงแล้วหนึ่งวันตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘
ส่วนวันเข้าพรรษาหลังคือวันที่พระจันทร์เสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้ว ๑ เดือน ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙
.
หากภิกษุรูปใดมาจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้นไม่ทัน อาจเป็นเพราะติดศาสนกิจอย่างใดอย่างหนึ่งก็สามารถเข้าพรรษาในวันเข้าพรรษาหลังได้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาภิกษุสงฆ์ก็เริ่มเข้าอยู่จำพรรษาตามพุทธบัญญัติ
โฆษณา