30 ก.ค. 2021 เวลา 06:10 • การเมือง
วิกฤติ กับ โอกาส ต้องการคนมีอำนาจหรือคนที่เป็นมืออาชีพ???
วันนี้ไม่ว่าใครจะอยู่แห่งหนไหนในประเทศไทย ทุกคนจับตามองทุกเศรษฐกิจ กำลังจะล่มหรือเปล่า เราจะกลับไปสู่จุดเริ่มต้นพัฒนาใหม่ หรือจุดที่เราต้องมาซ่อมแซมจากสิ่งทีพังไป อดีตนายกหญิง นารีขี่ม้าข่าวได้โพสบางอย่าง “ดิฉันกังวลค่ะว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นกำลังทำลายระบบเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน มาตรการของภาครัฐทำให้ประชาชนจำนวนมากขาดอาชีพ ขาดรายได้ และมีความเสี่ยงตกงานเพิ่มขึ้น หนี้ครัวเรือนพุ่งไม่หยุด ผู้ประกอบการทั้งรายย่อย รายเล็ก รายกลาง แม้แต่รายใหญ่ในหลายธุรกิจ กำลังเผชิญกับภาวะขาดรายได้ ขาดสภาพคล่อง ขณะที่หลายโรงงานในภาคส่งออกที่เป็นเครื่องจักรเดียวของเศรษฐกิจมีผู้ติดเชื้อเป็นหลักพัน ส่งผลกระทบไปทั้งห่วงโซ่อุปทานการผลิต เสี่ยงลามไปถึงระบบธนาคารที่เป็นหัวใจ และเส้นเลือดของระบบเศรษฐกิจ เพราะเมื่อรายได้หดหายลง การชำระเงินต้นและดอกเบี้ยก็จะยากมากขึ้น”
“ดิฉันขอส่งความห่วงใยไปยังครอบครัวของผู้สูญเสียและร่วมเป็นแรงใจให้คนไทยผ่านพ้นความยากลำบากทั้งความปลอดภัยจากโรคร้ายและภัยทางเศรษฐกิจที่กำลังรุมเร้าไปให้ได้นะคะ ดิฉันมั่นใจค่ะว่าในทุกวิกฤติยังมีความหวังและโอกาสหากประเทศเรามีผู้นำและรัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์ แต่สถานการณ์ในปัจจุบันประเทศต้องการมืออาชีพเข้ามาแก้ไขปัญหา พร้อมกับจัดหาวัคซีนที่สามารถรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์อย่างเร่งด่วน และต้องไม่ลืมที่จะดูแลเยียวยาประชาชนที่กำลังหายใจรวยรินเพราะพิษเศรษฐกิจจากการบริหารผิดพลาดของรัฐบาล
จากคำพูดเบื้องต้น เรามีรัฐบาลที่วิสัยทัศน์ รวมทั้งผู้นำแต่ต้องไม่ลืมว่า วันนี้เราต้องการคนที่เป็นมืออาชีพที่สุด
วิกฤติที่มาพร้อมกับโรคภัยคือสาธารณูปโภค ถ้าสาธารณูปโภคพื้นฐานล่มด้วยทุกอย่างก็จบ วันนี้เรารับมือกับวิกฤตการณ์โรคภัย และสิ่งที่ตามมาคือ เศรษฐกิจที่ไม่ว่ารายเล็กหรือรายใหญ่ต่างค่อยๆล้มตามไปที่ล่ะอย่างๆ คำพูดนึงจึงออกมาให้ได้ยิน” มีเงินก็เก็บไว้ก่อน อย่าลงทุนเพราะถ้าลงทุนไปแล้วสายป่าน ยาวไม่พอ ก็ล่มสลายเช่นกัน” เราต้องทองในสิ่งที่เป็นไปได้มากกว่าสิ่งที่เรามานึกฝันว่า อาจจะเป็นไปได้ สิ่งที่ต้องการมากกว่ากำลังกาย คือ กำลังใจที่มีให้กันและกัน ในทุกภาคส่วน
ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
คนไทยที่เป็นหนี้ต่างชาติ กลายเป็นหนี้เพิ่มขึ้นเกือบจะ 2 เท่าในทันที
เงินหายออกไปจากระบบ ไม่ใช่แค่ตลาดหุ้นตก หรือแค่โครงการสร้างไม่เสร็จเท่านั้น
แต่เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังธุรกิจต่างๆ เกิดการลดคน เลิกจ้าง จนถึงขั้นเลิกกิจการมากมาย
ประเทศไทยจะใช้คำว่า “เจ๊ง” ก็คงไม่ผิดนัก
คำว่าสองเท่าในตอนนั้น คือ กู้ 25 ดอลล่า จ่ายคืน 50 ดอลล่าร์ ในช่วงเวลานั้น เครดิตของประเทศ มองเพื่อนบ้านซ้ายขวาหน้าหลัง ไม่มีใครให้เครดิตจนเกิดการกู้
510,000 ล้านบาท จาก ไอเอ็มเอฟ เพื่ออะไร? เพื่อสำรองในคลัง แปลว่า เงินคงไม่เหลือหรืออาจจะเหลือ ตามมาด้วยการกู้เงินเพื่อการฟื้นฟูอีก 1.14 ล้านล้านบาท เพื่อช่วยพยุงสถาบันการเงินไม่ให้ล้มดังคลื่น!!!
นี่คือยุค ต้มยำกุ้ง…
ในวันนั้นชายชาติทหาร ผู้นำระดับบิ้ก พูดประโยคนึงว่า”
ถึงเวลาอยู่ดีกินดี” ท่านคือความหวัง ท่านชนะการเลือกตั้ง ท่านกุมทุกอำนาจ จนจุดเปลี่ยนมาถึงวันที่ท่านเซ็นเอกสาร วันที่ 2 กรกฎาคม เอกสารเงินบาทลอยตัว
หลายๆอย่างตามมาพร้อมกับประชาชน ในวันที่ 6 พฤศจิกายน มีการประกาศลาออกความเป็นนายกรัฐมนตรี ……..และไม่ใช่เพราะสาเหตุอะไร นอกจากแรงกดดันจากผลสืบเนื่องของวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่สะท้อนการบริหารงานที่หลายคนใช้คำว่า “ล้มเหลว!”
อ่านดีๆๆว่าไม่ใช่เพราะต้มยำกุ้งทำให้ท่านลาออก แต่เป็นการสืบเนื่องของการบริหาร ที่บอกว่าล้มเหลว….
เก่งไม่กลัว วิสัยทัศน์ดีไม่กลัว แต่ต้องการมืออาชีพที่รู้ทางหนี ทีไล่ มากกว่า อันนี้คือจุดเรียนรู้ว่า วันนี้เราอยู่ในมุมที่คลุมเครือ โรคภัยส่วนนึง เศรษฐกิจก็อีกส่วน
เอาอดีตมาแก้ไขจากมุมเศรษฐกิจ เพื่อสะท้อนถึงการล้อคดาวน์ การที่วันนี้เราอยู่กับที่ ระบบขนส่งยังเดินหน้า เศรษฐกิจเงินตราก็เดินหน้า แล้วรัฐบาลจะเอามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มีเงินแต่ใช้ไม่เป็น ระบบก็รวน มีอำนาจแต่สั่งผิดคน มันก็เจ้ง ครับนาย…
โฆษณา