31 ก.ค. 2021 เวลา 05:28 • ท่องเที่ยว
ความต้องการเสื้อผ้าที่มีคุณภาพ คือจุดเริ่มต้นของ #Patagonia
Patagonia เกิดจากความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อไปปีนเขาเขาเริ่มจากผลิตอุปกรณ์ปีนเขา เช่น หมุดปัก เพราะหมุดปักที่มีอยู่ไม่มีคุณภาพและไม่เหมาะกับหินในอเมริกา ต่อมาเขาก็ได้ผลิตเสื้อผ้า และกางเกงปีนเขา
YVON CHOUINARD (อีวอง ชูนาร์ด) คือ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Patagonia เขาเป็นคนที่ชื่นชอบการปีนเขาเป็นอย่างมากตั้งแต่อายุ 14 ปี ชื่อของแบรนด์มาจากดินแดนที่เต็มไปด้วยหุบเขาในอเมริกาใต้ และภาพภูเขาที่เห็นในโลโก้ของ PATAGONIA (พาทาโกเนีย) นั้นคือเงาของ FITZ ROY (ชื่อหุบเขาแห่งหนึ่งใน PATAGONIA) ซึ่ง สีสันของแบคกราวพื้นหลังแต่ละสีก็ล้วนมี ความหมาย พื้นสีฟ้าแทนทะเลใต้ และเส้นสี แดงม่วงฟ้าแทนท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยพายุ
ในปี 1971 ทำให้ชีวิตเขาเปลี่ยนไป เมือเขาพบรักและแต่งงานกับ Malinda Pennoyer ที่กลายมาเป็นทั้งคู่ชีวิตและคู่ธุรกิจ และปีนี้เองเขาได้เริ่มผลิตเสื้อผ้า กางเกงปีนเขา ที่ทำจากผ้าลูกฟูกหนา จากโรงทอในอังกฤษ ด้วยเหตุผลเดิมๆ ที่ว่าคือ ต้องการเสื้อผ้าที่มีคุณภาพดี คงทน ในการปีนเขา ให้กับตัวเองและเพื่อนๆ ต่อมาเขาถึงตระหนักว่า เขาค้นพบตลาดสินค้าใหม่ด้วยความบังเอิญ เขาเริ่มจำหน่ายเสื้อผ้าปีนเขาและผลิตภัณฑ์เอาต์ดอร์ “Hand Made” จนมีชื่อเสียงและมีร้านเป็นของตนเอง และเพื่อไม่ให้สับสนกับ Chouinard Equipment ที่จำหน่ายอุปกรณ์ปีนเขา ในปี 1973 เขาจึงหาชื่อใหม่ให้กับธุรกิจเสื้อผ้าของเขา และลงเอยที่ชื่อ “Patagonia” อันเป็นชื่อดินแดนที่เต็มไปด้วยหุบเขา
ในอเมริกาใต้
Patagonia ให้ความใส่ใจสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอน และยึดมั่นการให้ความสำคัญกับธุรกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างเท่าเทียมกันและมีพันธกิจที่ไม่รบกวนสิ่งแวดล้อม และขั้นตอนการผลิตนอกจากจะใช้ฝ้ายออร์แกนิกเป็นวัตถุดิบหลักแล้ว วัตถุดิบอื่นๆ ก็ต้องดีกับสิ่งแวดล้อมเช่นกัน เช่น ไนลอนรีไซเคิล ผ้าขนสัตว์รีไซเคิล ขนเป็ดรีไซเคิล รวมทั้งการสรรหานวัตกรรมการผลิตวัตถุดิบจากธรรมชาติ และยังมีโรงงานสีเขียวที่ใช้พลังงานลมและแสงอาทิตย์ อาคารสำนักงานเป็นอาคารประหยัดพลังงาน และอาคารสีเขียวที่ผ่านมาตรฐาน LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) และใช้วัสดุก่อสร้างส่วนหนึ่งจากวัสดุรีไซเคิล และpatagonia ไม่มีแผนที่จะนำเข้าตลาดหุ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคตเพราะเชื่อว่าจะทำให้คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย
แคมเปญ ‘อย่าซื้อแจ็กเก็ตตัวนี้’ (Don’t Buy this Jacket) ที่เคยลงเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ The New York Times ในวัน Black Friday หรือวันช้อปปิ้งแห่งชาติของชาวอเมริกัน เพื่อต้องการให้ลูกค้าคิดก่อนซื้อ และซื้อเท่าที่จำเป็น หรืออย่าซื้อเลยถ้าไม่ต้องการจริงๆ และนั้นมันสื่อถึงหัวใจของแบรนด์
นอกเหนือจากการใส่ใจสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนของการทำธุรกิจแล้ว ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา Patagonia ยังมอบเงินบริจาค 1% ของยอดขายในแต่ละปีให้กับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมและเอ็นจีโอระดับฐานรากหลายร้อยแห่งทั่วโลก บริษัทมีจุดยืนในการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมไม่ต่างกับเอ็นจีโอ เช่น การต่อต้านเขื่อนทุกประเภท การฟื้นฟูแม่น้ำ และการต่อต้านการขุดเจาะน้ำมัน
ขอบคุณข้อมูลจาก:
1- Line Today : Cheez-Looker
2- The Standard
3- Positioning
เรียบเรียงโดย : งานแบรนด์
โฆษณา