31 ก.ค. 2021 เวลา 12:34 • ประวัติศาสตร์
วัดท่าใน นครชัยศรี นครปฐม
วัดท่าใน เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย
ตั้งอยู่ในตำบลท่าพระยา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
วัดท่าใน เดิมชื่อว่า "วัดท่า" ประกาศตั้งวัดเมื่อ พศ. 2223
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้สร้างวัด
จากข้อมูลในการลงสำรวจทำให้ทราบว่าวัดนี้เดิมอาจ
จะมีความเป็นวัดมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ช่วงปี พศ.2091 ซึ่งหลักฐานที่เก่าแก่ที่พบภายในวัด
ทางสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุล้วนอยู่ในยุคสมัย
อยุธยาตอนต้นทั้งสิ้นตั้งแต่ เสมารอบพระอุโบสถ
เจดีย์หลังพระอุโบสถรวมไปถึงพระประธาน
ภายในพระอุโบสถ
เชิงอรรถ (วิกิพีเดีย อำเภอนครชัยศรี)
รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ (พ.ศ. 2091-2111)
โปรดให้สร้างเมืองใหม่ แขวงเมืองราชบุรีจึงถูกแบ่งพื้นที่
บางส่วนรวมกับพื้นที่บางส่วนของแขวงเมืองสุพรรณบุรี
ตั้งเป็นเมืองนครชัยศรี เพื่อรองรับพลเมืองไทย
ที่หนีสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่เริ่มมาตั้งแต่
รัชสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช (พ.ศ. 2077-2089)
ไปอยู่ตามป่าเขาให้กลับเข้ามาเป็นกำลังของพระนคร
ยามมีศึก โดยมีตัวเมืองอยู่ใต้ปากคลองบางแก้ว
(ห่างจากตัวอำเภอปัจจุบันประมาณ 2 กิโลเมตร)
เดิมนั้นสังกัดกรมมหาดไทย ภายหลังได้โอนไปสังกัดกรมท่า
สาเหตุที่ชื่อวัดท่าเพราะวัดแห่งนี้เป็นท่าเรือซึ่งเป็น
ศูนย์กลางของการคมนาคมทางน้ำระหว่างกาญจนบุรี นครปฐม กรุงเทพมหานคร สุนทรภู่ท่านก็ได้มานมัสการ
องค์พระปฐมเจดีย์โดยใช้เส้นทางคมนาคมนี้
โดยปรากฎนิราศพระประธม ในนิราศได้กล่าวถึงการเดิน
ทางโดยเรือ และมาสิ้นสุดระยะทางที่วัดท่าแห่งนี้
ต่อจากนั้นได้นั่งเกวียนต่อไปยังองค์พระปฐมเจดีย์
และยังปรากฎใน"นิราศพระแท่นดงรัก" ซึ่งผู้แต่งคือ
นายมีหรือเสมียนมีเป็นกวีเอกอีกท่านที่ร่วมสมัยเดียวกับ
ท่านสุนมรภู่ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ได้กล่าวถึงวัดท่า
แห่งนี้ในลักษณะเดียวกันแต่เป็นการเดินทางเพื่อไป
นมัสการพระแท่นดงรังที่จังหวัดกาญจนบุรี
นั้นหมายความว่าสถานที่แห่งนี้ย่อมมีความสำคัญ
ในการเป็นเส้นทางการเดินทางสันนิษฐานว่า
น่าจะมีความสำคัญมาตั้งแต่อยุธยา
พระอุโบสถ
ข้อมูลทางสถาปัตยกรรมจาการลงสำรวจพื้นที่ภายในวัด
เนื่องจากวัดอยู่ในเขตพื้นที่นครชัยศรีซึ่งมีข้อมูลมากมาย
เกี่ยวกับความเป็นทวารวดี-อู่ทองและวัดในระแวกเดียวกัน
ก็ล้วนมีศิลปะวัตถุ-สถาปัตยกรรม ในยุคใกล้เคียงกันแทบ
ทั้งสิ้นจากการสอบถามจากพระมหาไพบูลย์ ทำให้ทราบ
ข้อมูลบางอย่างว่า เดิมวัดท่าในในสมัย หลวงปู่ห่วงท่านมา
ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอธิการวัดใหม่ๆ นั้นวัดเกือบจะเป็น
วัดร้าง สันนิษฐานว่าก่อนปีพศ.2475 พระอุโบสถหลังเก่า
สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระอุโบสถแบบมหาอุตแบบอยุธยา
แต่ก็ชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก เดิมนั้นเสมาหินทรายจะปัก
รอบพระอุโบสถจะเป็นเสมาคู่ เท่ากับว่าวัดนี้น่าจะเป็น
วัดหลวงมาแต่เดิม
ปัจจุบันได้มีการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ทับพื้นที่เดิม
ในสมัยหลวงปู่ห่วง สร้างขึ้นในปีพศ.2502 โดยมีหลักฐาน
ปรากฎปีสร้างอยู่ที่บริเวณใต้หน้าบันพระอุโบสถ
ด้านหน้าพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก
และในบริเวณด้านหลังพระอุโบสถ์
ประดิษฐานพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์
เสมารอบพระอุโบสถ
เสมาหินทรายมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับเสมาที่วัดสิงห์
ซึ่งเป็นวัดในระแวกเดียวกันเป็นเสมาหินทรายแดงแบบ
อยุธยาตอนต้นแกะสลักลวดลายซึ่งล้วน
ได้รับการกำหนดอายุไว้ว่าเป็นเสมาสมัยอู่ทอง
ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17
พระประธานภายในพระอุโบสถ
เป็นพระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิลักษณะ
องค์พระในพระอุโบสถถ้าดูโดยรวมแล้ว
พุทธลักษณะเป็นศิลปะพระพุทธรูปแบบ
สมัยอยุธยาแบบอู่ทองรุ่นสองโดยมีลักษณะ
พระพักตร์รูปสี่เหลี่ยมขมวดพระเกศาเล็ก
มีไรพระศกชายสังฆาฏิเป็นแผ่นขนาดใหญ่
ซึ่งอยู่กลุ่มพระพุทธรูปพุทธศตวรรษ 17-19
แต่องค์พระพุทธรูปก็มีการบูรณะอยู่หลายครั้ง
จึงทำให้มีความผิดเพี้ยนไปตามยุคสมัยแต่ก็พอ
เห็นเค้ารางโดยรวมได้บ้าง
ซึ่งอายุของพระพุทธรูปก็จะอยู่ร่วมสมัยเดียวกับ
พระพุทธรูปของวัดสิงห์และวัดหลวงประชาบูรณะ
อ.นครชัยศรี ข.นครปฐมซึ่งเป็นวัดที่อยู่ในพื้นที่
ระแวกเดียวกัน
เจดีย์คู่
หลักฐานที่ยืนยันอายุวัดปรากฎที่หน้าพระอุโบสถ
ข้อมูลจากวารสารเมืองโบราณระบุข้อมูลเจดีย์ที่
วัดท่าในเป็นลักษณะเจดีย์ขนาดเล็กแบบปาละ
ไม่มีบัลลังก์ คล้ายกับเจดีย์ที่พบที่วัดสิงห์และ
เจดีย์ที่วัดหลวงประชาบูรณะ ซึ่งเป็นเจดีย์ที่มี
อายุการสร้างใกล้เคียงกัน
วิหารบูรพาจารย์
เป็นวิหารใหม่สร้างแล้วเสร็จในปี พศ.2560
ภายในประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลองและ
รูปเหมือนหลวงปู่ห่วงเจ้าอธิการองค์สำคัญของ
วัดท่าใน
เครดิตข้อมูล
พระมหาไพบูลย์ วิปุโล (วัดท่าใน จ.นครปฐม)
เอกสารประกอบ "อยุธยาย่านกรุงเทพฯ"
ผู้แต่ง ผศ.ดร. ประภัสสร ชูวิเชียร 2561
ข้อมูล บทที่4 ใบเสมาร่องรอยการสถาปนาวัดวาอาราม
สมัยอยุธยาในกรุงเทพและปริมณฑล
หน้า 132-165
วารสารเมืองโบราณ ปีที่8ฉบับที่3 หน้า28
วิกิพีเดีย วัดท่าใน
วิกิพีเดีย อำเภอนครชัยศรี
โฆษณา