2 ส.ค. 2021 เวลา 04:44 • การตลาด
Trends Shift Up
เรียนรู้เทรนด์ลัด สู่กระบวนทัศน์ใม่หลุดกรอบ
.” The new Norms” How life will Unfold after COVID
เรียนรู้เทรนด์ลัด สู่กระบวนทัศน์ใม่หลุดกรอบ
.” The new Norms” How life will Unfold after COVID
1. Reverse Globalization ผ่านการการะจายกำลังผลิตไปยังที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่จีน จีนเป็นประเทศต้นกำเนิดการแพร่กระจายของไวรัส ประเทศจีนถือเป็นฐานการผลิตใหญ่ให้แบรนด์สินค้าทั่วโลก และจากการแพร่ระบาดของโควิด ทำให้การผลิตชะงัก สิ่งที่คาดการณ์ในอนาคต การผลิตจะกระจายสู่ท้องถิ่นในประเทศตนเอง หรือประเทศใหม่ๆ ที่มีต้นทุนที่ถูกว่า โดยมีพึงพาเพียงประเทศเดียว ซึ่งในด้านดีประเทศไทยอาจจะเป็นเพียงหนึ่งตัวเลือกในกลุ่มประเทศเหล่านี้
2. Digital Takeover อินเตอร์เน็ตกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานในยุคปัจจุบัน เพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภค เช่น ธุรกิจ Marketplace , Delivery การจัดส่งสินค้า หรือแม้กระทั้ง Digital Payment เมื่อ E-commerce ได้รับการยอมรับมากขึ้น คนไทยที่ต้องการ Human Interaction หรือการปฏิสัมพันธ์กับผู้ขาย ในช่วงโควิด 19 ยังเกิดการใช้งานอย่างต่อเนื่อง ผู้ให้บริการได้นำเสนอสินค้าในรูปแบบ Internet of things รวมถึงประสบการณ์ Virtual Experience ประสบการณ์ในโลกเสมือนจริง โดยผ่านการ Live Stream ต่าง ๆ
3. EMERGENCE of Big Data การเติบโตของการใช้บิ๊กดาต้าทำให้ผู้บริโภคมองว่าบิ๊กดาต้าไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และพวกเขาต้องการเข้าถึงดาต้ามากขึ้น เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้กับตัวเองจนเป็นความเคยชิน ความเคยชินกับดาต้าทำให้ผู้บริโภคมองถึงความน่าเชื่อถือ คือโอกาสของแบรนด์สินค้าต่างๆ สามารถปรับเปลี่ยนตามข้อมูลของลูกค้าเพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดต่อไป
4. ELEVATED HEATH AND WELLNESS โควิด 19 ทำให้ผู้บริโภค ใส่ใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้น เพราะผู้บริโภคค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการรับมือเตรียมพร้อม และการป้องกันไม่ให้การติดโรค การใส่ใจสุขภาพกลายเป็นกิจวัตรสำคัญของผู้บริโภคในยุคโควิด 19 สำหรับในมุมมองธุรกิจ หลายๆ แบรนด์มีการปปรับกลยุทธ์เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นการเข้าใจและเตรียมพร้อมในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในเรื่องความสะอาดและสุขภาพอนามัย
5. PHYSICAL DISTANCE CONTINUES โควิด 19 ทำให้ผู้บริโภค WFH มากขึ้น และเริ่มหากิจกรรมสร้างความสุขให้กับตัวเอง เช่น การทำอาหาร ปลูกต้นไม้ การตกแต่งบ้าน การดูสตีมมิ่งอื่นๆ จัดการพื้นที่ส่วนตัว เพื่อตัวเองและสังคม ดังนั้นจึงเป็นโอกาสให้แบรนด์ต่างๆ สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้บริโภค เช่น ครอสออนไลน์ต่างๆ หรือการเรียนออนไลน์จากมหาวิทยาลัย ดังนั้นการเว้นระยะห่างทางสังคมทำให้เกิดการปรับตัวใหม่ในการใช้ชีวิต ของผู้บริโภค ทำให้เกิดพฤติกรรมที่เรียกว่า Individually together การสร้างความมั่นใจด้านสุขภาพอนามัยการบริโภคแบบรายบุคคลได้ จะเป็นสิ่งดึงดูดผู้บริโภคให้สนใจและตัดสินใจในการเลือกซื้อ ตัวอย่างเช่น ร้านอาหารที่รับปรับตัวการรับประทานอาหาร สำหรับทานคนเดียว อาหารเซทสำหรับทานเดี่ยว
6. HAPPINESS IS REDEFINED ในช่วงที่ผู้บริโภคไม่สามารถออกไปใช้ชีวิตในสังคมได้ปกตินั้น ทำให้ผู้บริโภคสร้างความสุขเล็ก ๆ จากสิ่งรอบตัว เช่น สัตว์เลี้ยง คนในครอบครัว และจะใส่ใจกันมากขึ้น ดังนั้นแบรนด์ต่างๆ จะคิดค้นอุปกรณ์ ต่างๆ ที่ทางผู้บริโภคสามารถทำเองและเผลิดเพลินในพื้นที่ตัวเอง เครื่องอาบน้ำสัตว์เลี้ยง เครื่องชงกาแฟขนาดเล็ก ที่สามารถทำเองได้
7. PREPARE FOR THE NEXT DISRUPTION ทำให้แบรนด์และผู้บริโภคต่างๆ ตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมหากเกิดวิกฤติครั้งใหม่ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพยายามพึ่งพาตนเองและเสริมทักษะพื้นฐานต่างๆ ที่จำเป็นในชีวิต หรือการทำงานจากที่บ้าน ในอนาคตแบรนด์จึงควรมีบทบาทสำคัญในการส่งเสิรมหรือช่วยเหลือผู้บริโภคสามารถพึงพาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
เรียบเรียงโดย ดร ภิชยะ อนันติโชติ
ข้อมูลจาก Mindshareworld
โฆษณา