2 ส.ค. 2021 เวลา 12:21
(41/100)
ยาสำหรับทาภายนอกมีกลไกการทำงานอย่างไร?
อ้าอิงที่เราหาได้คือ
1.“ยาใช้ภายนอก (External Use drug)” สืบค้นข้อมูลได้จาก https://s3.amazonaws.com/thai-health/ยาใช-ภายนอก-external-use-drug
ยาใช้ภายนอก หรือ ยาภายนอก (External use drug ย่อว่า ED หรือ E-D) คือ ยาที่ใช้เพื่อหวังผลในการรักษาเฉพาะที่ โดยทั่วไปไม่ได้มุ่งหมายให้เกิดการดูดซึมผ่านเข้ากระแสเลือด แต่ต้องการให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ ได้แก่ ยาทา (ยาน้ำ ครีม ขี้ผึ้ง) ยาหยอด ยาดม ยาชำระล้างบาดแผล ฯลฯ ตัวอย่างยาใช้ภายนอก เช่น ยาทารักษาโรคผิวหนัง ยาผงโรยแผล ยาหยอดหู จมูก หรือตา ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ผิวหนังสามารถดูดซึมยาเข้าสู่กระแสเลือดได้เช่นกันถึงแม้จะในปริมาณน้อยกว่ายารับประทาน
2.”การดูดซึมทางผิวหนัง (Percutaneous absorption)” สืบค้านข้อมูลได้จาก https://ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php?file=390
การดูดซึมทางผิวหนัง คือ การศึกษากลไกหรือวิถีการดูดซึมของยาผ่านผิวหนังเพื่อออกฤทธิ์เฉพาะที่ผิวหนัง หรือเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดและออกฤทธิ์ทั่วร่างกายหรืออวัยวะเป้าหมาย การดูดซึมทางผิวหนังอาศัยหลักการแพร่เป็นสำคัญ
3.”ยาทาภายนอก...ออกฤทธิ์ที่ไหน?” สืบค้นข้อมูลได้จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/539/service-knowledge-article.php
ยาทาภายนอกมีมากมาย แบ่งตามการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้หลายกลุ่ม ยกตัวอย่างจากในอ้างอิง เช่น ยาลดอาการคัน (antipruritics) อาการคันในโรคผิวหนังหลายชนิดเกิดจากผิวหนังอักเสบ จึงมีการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกที่กล่าวข้างต้น นอกจากนี้ยังมียาอื่นอีกหลายชนิดที่ลดอาการคันได้ รวมถึงยาต้านฮีสตามีนชนิดทาภายนอก ซึ่งยาออกฤทธิ์ลดผลของฮีสตามีนที่กระตุ้นปลายประสาทและทำให้เกิดอาการคัน ยาเหล่านี้ต้องสามารถแทรกซึมผ่านหนังกำพร้าชั้นสตราตัมคอร์เนียมลงสู่ผิวหนังชั้นล่างได้
(ใช้เวลา 25 นาที)
โฆษณา