2 ส.ค. 2021 เวลา 13:01 • หุ้น & เศรษฐกิจ
"หนี้สาธารณะ" จ่อทะลุเพดาน...รัฐบาลยังไหวอยู่หรือไม่?
1
หนี้สาธารณะจ่อทะลุเพดาน...รัฐบาลยังไหวอยู่หรือไม่?
การจะฟื้นฟูประเทศและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด จำเป็นต้องใช้เงินอย่างมหาศาล อย่างช่วงปีที่ผ่านมาเราคงได้เห็นว่ารัฐบาลออกพ.ร.ก. กู้เงินฯ จำนวน 1 ล้านล้านบาท โดยมีจุดประสงค์ในการนำเงินไปใช้เพื่อ
1
(1) แก้ปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
1
(2) ช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ
1
(3) ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบ
1
ซึ่งในปัจจุบันมีการเบิกจ่ายจนเกือบหมดแล้ว (สำหรับท่านที่สนใจติดตามการใช้เงินกู้ก้อนนี้อย่างละเอียด)
1
อย่างไรก็ดี การแพร่ระบาดที่ยังไม่มีวี่แววจะสิ้นสุดลงส่งผลให้รัฐบาลยังจำเป็นต้องใช้เงินอีกจำนวนมากเพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ
1
ล่าสุด คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 ปรับปรุงครั้งที่ 3 โดยเพิ่มวงเงินที่สามารถกู้ได้เป็น 1,797,131.74 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับการที่รัฐบาลต้องกู้เงินมาใช้สำหรับการดำเนินมาตรการเยียวยาต่างๆ
1
นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้คาดว่าจะส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 ไปอยู่ที่ 58.88% ใกล้จะถึงเพดานที่ 60% ซึ่งสถาบันการเงินหลายแห่งก็คาดว่าการกู้เงินที่เพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2565 จะทำให้ตัวเลขหนี้สาธารณะต่อ GDP เกินเพดานนี้แน่นอน จึงอาจทำให้หลายคนกังวลใจเป็นอย่างมาก
2
📌 ทำไม "หนี้สาธารณะ" ต่อ GDP ต้องห้ามเกิน 60% ถ้าเกินแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
อันที่จริง การจะบอกว่า "หนี้สาธารณะ" ควรอยู่ที่เท่าไหร่ เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย เพราะบริบทของแต่ละประเทศ และสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลาแตกต่างกัน แต่เกณฑ์ที่มักถูกอ้างถึงบ่อยที่สุดนั้นมาจากกรอบวินัยการคลังของไทยที่กำหนดว่าหนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่ควรเกิน 60% ซึ่งธนาคารโลกได้ศึกษาเรื่องนี้ไว้ว่า ประเทศที่มีหนี้ภาครัฐสูงต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตของประเทศ ทำให้หลายประเทศจึงมีการกำหนดระดับของเพดานหนี้ภาครัฐ/GDP เป็นหนึ่งในกรอบวินัยการคลังของตน
1
นอกจากนี้ งานวิจัยของ IMF ในปี 2011 ได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่าหากหนี้สาธารณะต่อ GDP เกินกว่า 60% แล้ว ก็จำเป็นต้องมีการประเมินความเสี่ยงต่อความยั่งยืนทางการคลัง แต่ไม่ได้หมายความว่าตัวเลขที่เกินกว่า 60% จะน่ากังวลใจ หรือตัวเลขที่น้อยกว่า 60% จะปลอดภัยเสมอไป
1
สำหรับประเทศตลาดเกิดใหม่บางประเทศ แม้ว่าหนี้สาธารณะต่อ GDP จะต่ำกว่า 60% ก็อาจจะไม่ได้ปลอดภัย และยังจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์รายละเอียดเพิ่มเติมอีกด้วย
1
ตัวเลข 60% นี้จึงเป็นเสมือนเครื่องชี้และเป็นจุดเตือนภัยว่า คนที่เกินควรมีการวิเคราะห์โครงสร้างหนี้สาธารณะอย่างละเอียดมากกว่า
1
📌 หนี้สาธารณะของไทยในช่วงโควิดเป็นอย่างไรบ้าง
ก่อนอื่นต้องอย่าลืมว่าการที่หนี้สาธารณะต่อ GDP สูง เกิดได้จาก 2 ทาง คือ (1) หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น (2) GDP ลดลง
1
เมื่อปีที่ผ่านมาที่เราต้องเผชิญกับโควิด รัฐบาลต้องกู้เงินเพิ่มเพื่อนำมาเยียวยาผลกระทบ และ GDP ก็ลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจไม่สามารถดำเนินไปได้ตามปกติถึง 6.1% ทั้งสองปัจจัยนี้เองจึงส่งผลให้หนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย
2
ในช่วงสิ้นสุดปีงบประมาณ 2563 หนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 49.4% ก่อนที่จะพุ่งขึ้นไปอยู่ราว ๆ 56% ตอนสิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่ง 80% ของหนี้สาธารณะนี้เป็นหนี้ของรัฐบาล
สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP
เมื่อพิจารณาถึงกำหนดชำระหนี้ 14% ของหนี้ทั้งหมดนั้นเป็นหนี้ระยะสั้น หรือคิดเป็นมูลค่า 1.3 ล้านล้านบาท และค่าเฉลี่ยของกำหนดชำระหนี้ก็สั้นลงจากในช่วงสิ้นปีงบประมาณ 2562 กำหนดชำระหนี้โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 10.5 ปี แต่ในเดือนมีนาคมอยู่ที่ 9.4 ปี นั่นหมายถึงว่า เราพึ่งพาแหล่งเงินกู้ระยะสั้นมากขึ้นภายใต้พ.ร.ก. กู้เงินโควิด
อายุคงเหลือเฉลี่ยของหนี้สาธารณะลดลงตั้งแต่เดือนเมษายน 2563
อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทย 98% ของหนี้ทั้งหมดอยู่ในสกุลเงินบาท ทำให้ประเด็นความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนอาจไม่น่ากังวลมากนัก และสัดส่วนของหนี้สาธารณะต่อรายได้ของรัฐบาลก็อยู่เพียง 8% เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าเพดานที่ 35% อยู่มาก จึงอาจกล่าวได้ว่ายังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้
1
หนี้สาธารณะตามสกุลเงินกู้
📌 แล้วสรุปเราต้องกังวลหรือไม่?
การเป็นหนี้ท่วมหัวคงไม่ใช่เรื่องดีแน่ แต่เมื่อรัฐจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อมาเยียวยาประชาชน และฟื้นฟูประเทศในขณะนี้ ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ ตราบใดที่รัฐบาลยังคงมีความสามารถในการชำระหนี้ได้ (เปรียบเทียบง่ายๆ เราเก็บเงินใส่ในกระปุกไว้ เพื่อยามเกษียณ แต่หากมีปัญหาเกิดขึ้น มีความจำเป็น การทุบกระปุกเอาเงินมาใช้ก่อน ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้)
5
สิ่งที่เราต้องติดตามคือหนี้ที่ประชาชนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันก้อนนี้ จะถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด อีรุยฉุยแฉกแค่ไหน และช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ทั่วถึงแค่ไหน
2
เพราะหากเศรษฐกิจยังคงชะลอตัวไปเรื่อยๆ และรัฐยังจำเป็นต้องกู้เงินมาเรื่อย ๆ นั่นหมายถึงว่าพื้นที่ของการใช้นโยบายการคลัง (Fiscal space) เพื่อเป้าหมายต่างๆ ในวันข้างหน้าของรัฐก็จะยิ่งเหลือน้อยลง
4
รัฐบาลในวันข้างหน้าก็อาจจะต้องเก็บภาษีประชาชนเพิ่มขึ้นเพื่อมาจ่ายหนี้ก้อนหนี้ ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนลดลงและไปกระทบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมอีก และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ก็คือทุกบาทที่ใช้ไป สุดท้ายแล้วจะต้องไปเก็บเงิน จากประชาชนอย่างเรา เพื่อไปคืนหนี้ดังกล่าวต่อไป
2
ผู้เขียน : ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference:
IMF (2011). Modernizing the Framework for Fiscal Policy and Public Debt Sustainability Analysis. Policy Papers 2011, 034, A001, available from:
โฆษณา