Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รวมเละ !!!
•
ติดตาม
3 ส.ค. 2021 เวลา 02:49 • ประวัติศาสตร์
🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭
เพลงชาติไทย ในปัจจุบัน และประวัติความเป็นมาของ ธงชาติไทย
ระยะเวลาการใช้ธงชาติไทย : สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2325 (ธงเรือหลวง) , สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2398 (ธงเรือเอกชน)
การบังคับใช้ธง : ใช้เป็นธรรมเนียม สืบมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ลักษณะ : ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแดงเกลี้ยง
ระยะเวลาการใช้ธงชาติไทย : พ.ศ. 2325 - 2360
การบังคับใช้ธง : พระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ลักษณะ : ธงสี่เหลี่ยมพื้นแดง ตรงกลางมีรูปวงจักรสีขาว
ระยะเวลาการใช้ธงชาติไทย : พ.ศ. 2360 - 2398
การบังคับใช้ธง : พระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ลักษณะ : ธงสี่เหลี่ยมพื้นแดง ตรงกลางมีรูปช้างเผือกในวงจักรสีขาว
ระยะเวลาการใช้ธงชาติไทย : พ.ศ. 2398 - 2459
การบังคับใช้ธง : พระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รศ. 110 , ร.ศ. 116 , ร.ศ. 118 , ร.ศ. 129
ลักษณะ : ธงสี่เหลี่ยมพื้นแดง ตรงกลางมีรูปช้างเผือกเปล่าหันหน้าเข้าหาเสาธง
ระยะเวลาการใช้ธงชาติไทย : พ.ศ. 2459 - 2460
การบังคับใช้ธง : พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 (ธงราชการ)
ลักษณะ : ธงสี่เหลี่ยมพื้นแดง ตรงกลางมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าหาเสาธง
ระยะเวลาการใช้ธงชาติไทย : พ.ศ. 2459 - 2460
การบังคับใช้ธง : พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459[10] (ในชื่อ "ธงค้าขาย")
ลักษณะ : ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว 9 ส่วน กว้าง 6 ส่วน แบ่งออกเป็นแถบสีแดงกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีขาวกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีแดงตรงกลางกว้าง 2 ส่วน
ระยะเวลาการใช้ : พ.ศ. 2460 - ปัจจุบัน
การบังคับใช้ธง : พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460 , พ.ศ. 2479 , พ.ศ. 2522
ลักษณะ : ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน แบ่งออกเป็นแถบสีแดงกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีขาวกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีน้ำเงินขาบตรงกลางกว้าง 2 ส่วน
เพลงชาติไทยมีต้นกำเนิดยังไง ?
เคยได้ยินประโยคนี้กันรึเปล่า ? “หากคนไทยหันมาฆ่ากันเอง จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง ?”
เอาจริงๆ ประโยคนี้อาจไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราจะนำมาบอกเล่าให้ฟังกันในวันนี้สักเท่าไหร่ เพียงแต่อยากขยายความให้ชัดเจนว่า เพลงชาติคืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไร ?
เพลงชาติ หรือเพลงประจำชาติ หากมองเผินๆ เป็นเหมือนหนึ่งเครื่องมือที่คอยบอกเล่าให้คนในชาติ รัก และเทิดทูนไว้ซึ่งแผ่นดินเกิด แผ่นดินที่เราอยู่อาศัย โดยภายในเนื้อเพลงได้พยายามบอกเล่าวีรกรรมของบรรพบุรุษในชาติ ว่ากว่าจะได้มาซึ่งบ้านเกิดที่ให้เรามีกิน มีสุข พวกเขาต้องผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง ผ่านความยากลำบากมาขนาดไหน เราถึงได้ครอบครอง เป็นเจ้าของแผ่นดินร่วมกันดังเช่นในทุกวันนี้ หรือหากมองเป็นความหมายโดยตรง ก็คงเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ทำให้เราตระหนัก และระลึกถึงบ้านเกิดเมืองนอนแห่งนี้อยู่เสมอ ไม่ว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่บริเวณไหนของโลกใบนี้ก็ตาม ผ่านการเปล่งเสียงร้องร่วมกันจนเป็นประเพณีปฏิบัติที่สมควรกระทำในทุกๆ วัน
ในหลากหลายประเทศทั่วโลกต่างก็มีเพลงประจำชาติเป็นของตนเอง ไม่เว้นแม้แต่บ้านเราที่ก็มี “เพลงชาติไทย ” มาตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งในสมัยที่ชาติสยามยังปกครองด้วยระบอบ “สมบูรณาญาสิทธิราช” ได้มีการใช้ “เพลงสรรเสริญพระบารมี” เป็นเพลงเพื่อถวายความเคารพกษัตริย์ต่างชาติที่เสด็จเยี่ยมประเทศสยามตามธรรมเนียมสากล
จนมาถึงปีพุทธศักราช 2482 รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศ จาก “สยาม” เป็น “ประเทศไทย” จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขเพลงประจำชาติไทยใหม่ โดยเปิดให้มีการส่งเนื้อเพลงชาติเข้าประกวด มีหลักการอยู่ว่าต้องแต่งให้เข้าทำนองของเพลงชาติฉบับเดิม ซึ่งในการยื่นประกวดแต่งเนื้อร้องครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดคณะกรรมการได้ตัดสินคัดเลือกเนื้อร้องของ “หลวงสารานุประพันธ์” นำเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัย ไม่นานจึงมีมติรับเนื้อเพลงใหม่นี้ และได้รับแก้ไขบ้างในบางช่วงตามความเหมาะสม
ในวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2482 รัฐบาลได้ออกประกาศ “รัฐนิยมฉบับที่ 6” ให้ใช้ทำนองเพลงชาติของ “พระเจนดุริยางค์” ตามแบบฉบับเดิมที่กรมศิลปากร ส่วนเนื้อร้องให้ใช้ของ “หลวงสารานุประพันธ์” ซึ่งประพันธ์ทั้งหมดขึ้นใหม่ในนามของ “กองทัพบก” จึงกลายมาเป็นแบบฉบับที่เราได้ฟัง ได้ร้องกันอยู่ในทุกวันนี้ ..
เพลงชาติไทย 🇹🇭🎵
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงค งไว้ได้ทั้งมวล
ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย
จริงๆก่อนหน้านี้ก็มีเนื้อร้องที่ ขุนวิจิตรมาตรา ประพันธ์เริ่มแรกสุดแต่ไม่เป็นทางการ และ เป็นฉบับต้องห้าม ก่อนที่จะมีการแก้ไขเมื่อมีการประกวดเนื้อเพลงชาติ
ฉบับราชการ ใน พ.ศ. 2476 มีดังนี้
(โปรดเทียบกับเนื้อร้องฉบับราชการ พ.ศ. 2477 ในหัวข้อ เพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ. 2475 และ พ.ศ. 2477)
แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา ร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย
บางสมัยศัตรูจู่มารบ ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตะลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราษฎร์คือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสสระเสรี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย สถาปนาสยามให้เทิดชัยไชโย
ประวัติหลวงสารานุประพันธ์ ผู้แต่งเพลงชาติไทย
พันเอก หลวงสารานุประพันธ์ หรือ นวล ปาจิณพยัคฆ์ เกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พุทธศักราช 2439 เป็นนักเขียน นักประพันธ์ และบรรณาธิการหนังสือ ซึ่งหลวงสารนุประพันธ์นั้นเป็นผู้แต่งเพลงชาติไทยฉบับที่เราร้องกันอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งหลวงสารานุประพันธ์ยังเป็นนายกสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลายวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ คนที่ 4 เมื่อปีพุทธศักราช 2483
มื่อเริ่มแรก พันเอก หลวงสารานุประพันธ์ เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยทหารบกและเป็นบรรณาธิการหนังสือ เสนาศึกษา และเแผ่วิทยาศาสตร์ ก่อนจะลาออกจากราชการเมื่อพทุธศักราช 2468 ออกมาก่อตั้งนิตยสาร สารานุกูล และเป็นผู้ประพันธ์นิยายเรื่อง หน้าผี แพรดำ ราสปูติน ทูตแห่งกาลี หลวงสารานุประพันธ์ เคยเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (จอมพล แปลก พิบูลสงคราม) ท่านเป็นผู้แปลนวนิยายเรื่อง เชอร์ล็อก โฮมส์ ของ เซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ เป็นคนแรก ต่อมาท่านยังได้ประพันธ์คำร้องเพลงชาติไทยฉบับปัจจุบัน เมื่อพุทธศักราช 2482 เมื่อครั้งที่มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยาม เป็น ไทย
พันเอก หลวงสารานุประพันธ์ หรือ นวล ปาจิณพยัคห์ เกิดที่บ้านตำบนสะพานถ่าย จังหวัดพระนคร ปัจจุบัน คือ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนเดียวของนายนูน และนางบุญเกิด ปาจิณพยัคฆ์ เจ้าของและครูใหญ่โรงเรียนราษฎร์ “บำรุงวิชา” สมรสกับนางสารานุประพันธ์ หรือ ทิพย์วิมล ปาจิณพยัคฆ์ มีบุตรธิดารวม 6 คน โดยเมื่อครั้งที่กระทรวงกลาโหมได้ขอโอนตัวนายนวลไปรับราชการสอนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ความสามารถของนายนวลเป็นที่เลื่องลือมาก นอกจากในเรื่องสอนแล้วก็ยังทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการของหนังสือเสนาศึกษาและแผ่วิทยาศาสตร์ จนกระทั่งได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่บรรณาธิการแทน พันโท พระสารสาสน์พลขันธ์ หรือลอง สุนทานนท์ที่ลาออกจากราชการ ซึ่งนายนวลได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พลวงสารานุประพันธ์
พุทธศักราช 2482 รัฐบาลในขณะนั้นได้เปลี่ยนชื่อประเทศ จาก ประเทศสยาม เป็น ประเทศไทย จึงต้องมีการแก้ไขเพลงชาติและจัดให้มีการแข่งประกวดแต่งเนื้อร้องเพลงชาติ ชิงเงินรางวัล 1,000 บาท ซึ่งในขณะนั้น หลวงสารานุประพันธ์ ดำรงตำแหน่งเป็น รองเจ้ากรมเสมียนตรา กระทรวงกลาโหม เข้าร่วมแข่งขัน แต่หากชนะจะไม่ขอรับเงินรางวัล เมื่อคณะกรรมการตัดสิน ได้คัดเลือกให้เพลงชาติฉบับของ หลวงสารานุประพันธ์ และมีการประกาศใช้ใน รัฐนิยมฉบับที่ 6 โดยที่มีการแก้ไขไปบ้างตามความเหมาะสม ทำให้ พันเอก หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) มีความปลาบปลื้มและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ถึงขนาดกับสั่งเสียไว้กับบุตรธิดาว่า
“ฉันได้สั่งบุตรธิดาของฉันไว้ทุกคนว่า
ในกาลภายหน้าเมื่อถึงวาระที่ฉันจะต้องเกษียรอายุลาโลกไปแล้ว
ขณะจะใกล้ขาดอัสสาสะ ขอให้หาจานเสียงเพลงชาติอันนี้ มาเปิดให้ฟังให้จงได้
เพื่อบังเกิดความชุ่มชื่นระรื่นใจ อันไม่มีเสื่อมคลายตราบสิ้นปราณ”
ธงชาติสยาม-ไทย 🇹🇭
ธงชาติไทยในปัจจุบัน มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ธงไตรรงค์ มี 3 สีด้วยกัน โดยธง 3 สีแต่ละสี แต่ละสีของธงชาติไทยมีความหมายในตัวเองได้แก่
❤️สีแดง : หมายถึงอะไร?
สีแดง หมายถึง ชาติ, บ่งบอกถึงความเป็นไทย เลือดเนื้อของบรรพบุรุษชาวไทย
🤍สีขาว : หมายถึงอะไร?
สีขาว หมายถึง ศาสนา ในประเทศไทยคนส่วนใหญ่มากกว่า 50% นับถือศาสนาพุทธ สีขาวจึงหมายถึง ความบริสุทธิ์
💙สีน้ำเงิน : หมายถึงอะไร?
สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ ผู้เป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจของคนไทยทั้งชาติ หาได้ยากในโลกที่จะมีประเทศใดมี พระมหากษัตริย์ เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจเหมือนประเทศไทยเรา
ธง ชาติไทยนั้นมี 5 แถบ 5 สี ซึ่งสี 5 แถบนั้นสร้างขึ้นเพื่อให้ดูสมมาตร ทั้งการชักขึ้นและลงก็จะดูสวยงามสมมาตร ถึงแม้จะมีการกลับด้าน ก็ยังสมมาตรสวยงามเหมือนเดิม
เพลงชาติไทยฉบับแรก🇹🇭
เพลงชาติไทยที่นับว่าเป็นเพลงชาติ(สยาม) ฉบับแรกในประวัติศาสตร์ไทยนั่นคือเพลงที่ ขุนวิจิตรมาตรา เป็นผู้ประพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ หลังจากนั้นจึงมีการแก้ไขให้ดีขึ้นก่อนที่จะมีการส่งเข้าประกวดในปี พ.ศ.2476
เพลงชาติไทยฉบับเต็มกรมประชาสัมพันธ์
youtube.com
เพลงชาติไทยฉบับเต็มของกรมประชาสัมพันธ์ รวมเพลงพม่าประเทศเพลงขึ้นเทียบเวลา
เพลงชาติไทยฉบับเต็มความยาว 2-3 นาทีนี้เป็นเสียงของดนตรีบรรเลงก่อนจะเคารพธงชาติในทุกๆวันจากกรมประชา สัมพันธ์ เป็นความรู้สึกที่ได้ฟังแล้วเหมือนว่าไปโรงเรียนสาย เราจะได้ยินเพลงชาติไทยแบบนี้ในทุกๆเวลาก่อนเคารพธงชาติช่วง 8:00 น. และ 18:00 น. ของทุกๆวัน ผ่านทางสื่อต่างๆโดยเฉพาะวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งจะมีข้อความขึ้นต้นก่อนจะมีเสียงนาฬิกาว่า
“ธงชาติ และเพลงชาติไทย
เป็นสัญลักษณ์ ของความเป็นไทย
เราจงร่วมใจ ยืนตรง เคารพธงชาติ
ด้วยความภาคภูมิใจ ในเอกราช
และความเสียสละ ของบรรพบุรุษไทย”
5 อย่างที่ต้องรู้เกี่ยวกับเพลงชาติไทย🇹🇭
1.ทำไมต้องแสดงความเคารพเพลงชาติไทย
ขึ้นชื่อว่า เพลงชาติไทย ก็คือเพลงๆ หนึ่ง เป็นเรื่องปกติที่เราไม่ได้แสดงความเคารพเพลงทุกเพลงที่เราฟัง เพราะแต่ละเพลงที่แต่งขึ้นมาล้วนแล้วแต่มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ซึ่งเพลงชาติก็ถูกแต่งขึ้นมาเพื่อแสดงความเป็นชาติที่มีเอกราชมาช้านาน สามารถบอกเล่าความเป็นไทย เป็นตัวแทนที่ทำให้เราระลึกถึงบรรพบุรุษที่สละเลือดเนื้อเพื่อรักษาแผ่นดินไทยไว้ ฉะนั้น เมื่อเพลงชาติเป็นสัญลักษณ์ของชาติเช่นนี้ เราจึงควรเคารพเพลงชาติไทย
2.บุคคลที่ควรระลึกถึง
บุคคลที่ทำให้เรามีเพลงชาติไทยทุกวันนี้ คือ บุคคลสำคัญที่เราควรระลึกถึงพระคุณของท่านนั้นๆ มีหลายท่านด้วยกัน เริ่มต้นด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระดำริว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศสยามจะมี “เพลงชาติไทย” เป็นของตัวเอง เพราะเราไม่ใช่เมืองขึ้นของใคร รวมไปถึงคณะบุคคลที่มีส่วนร่วมในการแต่งเนื้อร้องและทำนองเพลงชาติไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
3.กว่าจะเป็นเพลงชาติไทย
เพลงชาติไทยที่เราร้องกันอยู่ในทุกวันนี้ มิใช่ว่าแต่งครั้งเดียวจบ ใช้ได้เลย แต่ยังต้องมีการทดลอง ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เพลงออกมาดีขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้เหมาะแก่การบรรเลงภายในประเทศและต่อหน้าประชาชนนานาชาติจากทั่วโลก สำหรับเพลงชาติไทยที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นฉบับที่ 7 เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2487 จนถึงปัจจุบัน และนับเป็นเนื้อเพลงฉบับที่มีการใช้งานยาวนานที่สุด ถึง 76 อีกทั้งยังคาดว่าจะยังคงไม่มีการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม
4.เครื่องหมายของคุณธรรมประจำชาติ
เนื้อหาที่ได้ถูกระบุเอาไว้ในเพลงชาติ เป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกความเป็นไทยได้ ฉะนั้น เราจึงสามารถสรุปเป็นคุณธรรมประจำชาติได้ว่า ปกติของคนไทยเป็นคนมีน้ำใจรักความสามัคคี รักสงบ ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นักสู้ที่พร้อมจะปกป้องประเทศชาติ แต่ก็ไม่เคยเบียดเบียนใคร เป็นคนกล้าหาญ ตลอดจนเป็นคนที่มีความกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณ
5.ต้องมีเอกราชจึงมีเพลงชาติไทยได้
สิ่งที่คนไทยทั้งหลายต้องรู้เป็นประการสุดท้าย ชาติใดที่จะมีเพลงชาติเป็นของตนเองได้ จะต้องเป็นชาติที่มีเอกราชเพียงเท่านั้น หากประเทศใดตกเป็นเมืองขึ้น อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอื่นก็คงจะหมดสิทธิ์ร้องเพลงชาติเป็นของตนเอง จำเป็นต้องร้องเพลงชาติของเขาเพื่อแสดงว่าเรายังยินยอมอยู่ในอำนาจ ฉะนั้น เมื่อประเทศไทยยังมีเอกราช สามารถร้องเพลงชาติไทยที่เป็นเพลงชาติของตนเองได้ เราจึงควรภาคภูมิใจและหวงแหนการแสดงออกซึ่งความเคารพในสิ่งที่สมควรทำ ที่เรายังมีวันนี้ได้ เพราะเรายังสามารถรักษาเอกราชเอาไว้ได้นั่นเอง
ขออนุญาตเจ้าของโพส และขออภัยด้วย ถ้าข้อมูลไม่ครบถ้วน หากใครมีความคิดเห็นอย่างไร ร่วมแชร์กันได้นะคะ 🙏🏼😊
Cr.วิกิพีเดีย
Cr.เพลงชาติ.com
Cr.sanook.com
บันทึก
4
2
2
4
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย