3 ส.ค. 2021 เวลา 13:17 • สุขภาพ
งดเหล้า เข้าพรรษา
รออะไรวัยรุ่น!!!
คุณยุทธ(นามสมมุติ) เคยเป็นผู้นำชุมชน ต่อมามีความเครียด ดื่มสุรามาก ดื่มสุราขาวทุกวัน จนทำให้เสียการงาน เสียความสัมพันธ์ในครอบครัว เสียความนับถือในตนเอง จนทำให้รู้ว่าที่ทำอยู่นี้ เป็นวิธีการใช้ชีวิตที่ทำให้สุขภาพเสีย ไม่มีความสุข และไม่สามารถแก้ปัญหาความเครียดที่มีอยู่ได้ จึงตัดสินใจเข้ารับการบำบัดรักษากับทางโรงพยาบาลจิตเวช หลังได้รับคำแนะนำ และรับประทานยาเพื่อป้องกันการชักในผู้บำบัดสุรา จนสามารถหยุดดื่มสุราได้ 1 เดือน จึงกลับมารับยาต่อที่โรงพยาบาลชุมชนใกล้บ้าน
Dr. : ตอนนี้มีอาการสั่น อยากดื่มสุรา หรือนอนไม่หลับมั้ยคะ
Y: ไม่มีอาการครับหลับดีมากขึ้น
Dr: ดีค่ะ ตอนนี้ความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นอย่างไรบ้างคะ มีใครชม หรือตำหนิอะไรมั้ย การงานเป็นอย่างไรบ้างคะ
Y: ตอนนี้ครอบครัวมีความสุขมากขึ้น ผมได้รับคำชมจากภรรยา สามารถทำงานที่เคยทำอยู่ได้ดีเหมือนๆเดิม
คุณยุทธตอบด้วยความภูมิใจในตนเอง
Dr : ยินดีด้วยนะคะ หมอรบกวนสอบถาม ถ้ามีเพื่อน หรือใครๆ ชวนให้ไปดื่มสุราอีก คุณจะทำยังไงคะ
Y: ผมคงตอบว่าไม่สะดวก หรือไม่ก็เดินหนีจากตรงนั้นไปครับ
Dr. : ดีมากๆค่ะ หมอยินดีด้วยที่คุณสามารถกลับมาดูแลสุขภาพของตัวเองได้ วันนี้จะปรับยาลดลงให้นะคะ พยายามต่อไปนะคะ มีอะไรปรึกษาหมอเพิ่มเติมมั้ยคะ
Y: ผมอยากชักชวนคนในชุมชนเลิกสุราแบบผมจังเลยครับ เพราะหลังจากที่ผมเลิกได้ ชีวิตผมดีขึ้นมาก
Dr : ดีมากๆเลยค่ะ คุณสามารถเล่าประสบการณ์ของคุณให้กับคนที่ลังเลอยากเลิกสุราได้นะคะ และแนะนำเข้ารับการบำบัดกับทางโรงพยาบาล เพื่อรับยาสำหรับผู้ป่วยบำบัด ถ้าแนะนำแล้ว เพื่อนที่ฟังยังไม่พร้อมบำบัด ไม่ต้องเสียใจนะคะ เพราะคุณทำหน้าที่ที่ต้องการแนะนำผู้อื่นได้ดีแล้ว ที่เหลือคือให้กำลังใจเค้าต่อไปค่ะ
จิตวิทยาการเปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแบ่งได้ 6 ขั้น
1. ขั้นเฉยเมย Precontemplation
>> ผู้ป่วยยังไม่ตระหนักว่าตนมีปัญหา มองไม่เห็นผลเสีย ไม่คิดว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพ
To do: ให้ข้อมูลความรู้ ความเข้าใจโรคอย่างถูกต้องแก่ผู้ป่วย
2.ขั้นลังเล Contemplation
>> ผู้ป่วยยอมรับว่ามีผลเสีย ผู้ป่วยอาจประสบกับผลกระทบในทางลบ ผู้ป่วยเริ่มพิจารณาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ภายใน 6 เดือน
To do : พูดคุยถึงข้อดี ข้อเสียของการเปลี่ยนแปลง
3.ขั้นตัดสินใจเปลี่ยนแปลง Determination
>> ผู้ป่วยตัดสินใจหยุดพฤติกรรมหรือปรับพฤติกรรม ภายใน 1 เดือน
To do: ให้ทางเลือก ให้ผู้ป่วยเลือกอย่างอิสระ เน้นความรับผิดชอบในการเลือกของผู้ป่วยและส่งเสริมศักยภาพของผู้ป่วย
4.ขั้นกระทำการเปลี่ยนแปลง Action
>> ผู้ป่วยตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยลงมือทำการเปลี่ยนแปลง ในช่วง 6 เดือนแรก
To do: ส่งเสริมให้ผู้ป่วยกระทำตามวิธีที่ตนเลือกอย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจในวิธีการ
5.ขั้นคงไข้ซึ่งการเปลี่ยนแปลง Maintenance
>> ผู้ป่วยทำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มาประมาณ 6 เดือน อารมณ์ความคิด มันคง
To do: ป้องกันการกลับไปทำพฤติกรรมที่เสียสุขภาพซ้ำ หมั่นสังเกตสัญญาณที่สื่อถึงการกลับไปทำซ้ำ
6.ขั้นย้อนกลับสู่พฤติกรรมเดิม Relapse
>> ผู้ป่วยอาจกลับไปทำพฤติกรรมเดิมได้อีก พาตัวเองไปอยู่สถานการณ์เสี่ยง มีความเปราะบางทางอารมณ์และจิตใจ ผู้ป่วยอาจรู้สคกผิด ซ้ำเติมตนเอง
To do: ให้ความช่วยเหลือ และสร้างความเข็มแข็งให้สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและดึงผู้ป่วยกลับไปทำพฤติกรรมที่ดีให้เร็วที่สุด
หลายปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพใจที่เกิดขึ้น สามารถใช้หลักการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเข้ามาช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักตัวเองมากขึ้น เพื่อเข้าใจความสำคัญและปัญหาสุขภาพที่มีอยู่ และสามารถแก้ปัญหาได้เหมาะสมและดีต่อสุขภาพตนเอง
การเลิกสารเสพติด ต้องใช้กำลังใจจากรอบรอบข้างและต้องสร้างกำลังใจให้แก่ตนเองด้วย
ผู้สนใจบำบัด สุรา สารเสพติดอื่นๆ สามารถติดต่อเข้ารับการบำบัดได้ที่โรงพยาบาลรัฐใกล้บ้าน
สายด่วน เลิกเหล้า 1413
อ้างอิง
-คู่มือสำหรับผู้อบรมการให้คำปรึกษาและการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในผู้ป่วยที่มีปัญหาการดื่มสุรา. เชียงใหม่: แผนงานการพัฒนาระบบรูปแบบ และวิธีกำรบำบัดรักษาผู้มีปัญหาการบริโภคสุราแบบบูรณาการ (ผรส.);
stages of change
โฆษณา