4 ส.ค. 2021 เวลา 07:12 • สุขภาพ
มีอาการ ”นิ้วล็อก” ช่วงโควิด ดูแลตัวเองยังไงดี ?
ช่วงนี้สถานการณ์โควิด รพ.ต่าง ๆ เต็มไปด้วยการเตรียมพร้อมสำหรับการดูแลผู้ป่วยโควิดที่ทยอยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเริ่มมารักษาตัวที่ รพ.มากขึ้น
นั่นแหละครับ ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวด ตึง อ่อนแรงแขนและขาไม่กล้ามา รพ.
............กลัวติดโควิด...
ผู้ป่วยทางฝั่งนี้ก็จะลดลงในระดับหนึ่ง
วันนี้ผมก็จะมีโรคยอดนิยมช่วงนี้มาเล่าให้ฟัง
โรคนิ้วล็อก
Trigger finger
อาการ
- ระยะของนิ้วล็อก ช่วงแรก ๆ มันจะปวดเล็กน้อยที่ข้อนิ้ว
จากนั้นเอ็นมันจะเริ่มเหยียดนิ้วที่ปวดไม่ออก ถ้าไม่รักษา ไม่ออกกำลังกายจะเป็นหนักแบบว่ากำไม่ได้เหยียดไม่ออก หนักสุดคือนิ้วเกิดผิดรูป
สาเหตุ
เราต้องเข้าใจโครงสร้างการเกิดก่อนนะครับ
- ปกตินิ้วมือของเราจะมีกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่ช่วยงอนิ้ว และเหยียดนิ้ว
ซึ่งเส้นเอ็นที่นิ้วจะถูกคลุมด้วยตัว sheath ซึ่งจะผลิตของเหลวช่วยให้มันเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่นในการงอแหละเหยียดนิ้ว
- เมื่อมีการอักเสบและบวมของเอ็นหรือ sheath จะทำให้ตัวเอ็นเคลื่อนไหว
ได้ไม่ราบรื่นและอาจเกิดเป็นปมเล็ก ๆ (nodule) การงอแหละเหยียดนิ้วจะลำบาก
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/trigger-finger/symptoms-causes/syc-20365100
วิธีการรักษาทั่วไป
- พัก... จริง ๆ ครับ ถ้าทำงานโดยใช้นิ้ว กำมือบ่อย พักก่อนนะครับ
- ทานยา.....ทานยา NSAIDs จะช่วยบรรเทาอาการปวด
- ใส่อุปกรณ์ที่ช่วยลดการทำงานของนิ้ว
- ฉีดเสตียรอยด์
- ผ่าตัด
- ทำกายภาพบำบัด
วิธีทำกายภาพบำบัดตัวเองที่บ้าน
- ประคบร้อน ….ใช้ถุงน้ำร้อน ถ้าใช้แผ่นร้อนให้เอาผ้ารองก่อนป้องกันภาวะไหม้ของผิวหนัง ทำตอนเช้า – เย็นใช้เวลา 15-20 นาที
- แช่นิ้วในน้ำอุ่น...จุ่มมือลงไปในน้ำอุ่น ย้ำ น้ำอุ่น จากนั้นใช้มืออีกข้างใช้นิ้วคลึงเบา ๆ ที่บริเวณที่ล็อกหรือเป็นปุ่ม ๆ (ในกรณีที่ปวดมากไม่แนะนำ) ไม่กดแรง
ทำตอนเช้า – เย็นใช้เวลา 15-20 นาที การคลึงอาจใช้เวลา 3-5 นาทีพอ
วิธีออกกำลังกาย
..เชิญชมในคลิปได้เลยครับผม
ขอบคุณทุกท่านที่อ่านและรับชมนะครับ
สำหรับใครมีข้อสงสัยสามารถคอมเม้นท์มาถามได้นะฮะ
ถ้าใครชอบฝากกดไลค์ กดแชร์ กดติดตามได้นะครับผม
สำหรับใครที่มีปัญหานิ้วล็อกก็ขอให้หายเร็ว ๆ นะครับ
ขอบคุณแหล่งความรู้ดี ๆ สามารถหาข้อมูลได้จากเว็บต่าง ๆ เหล่านี้ได้นะครับ
โฆษณา