5 ส.ค. 2021 เวลา 03:50 • ธุรกิจ
ทำไมบางบริษัท ขาดทุนติดต่อกันหลายปี แต่ยังทำธุรกิจต่อไปได้
เราคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่า บริษัทที่เพิ่งเริ่มดำเนินธุรกิจในปีแรก ๆ ถ้าอยากเติบโตเร็ว ก็ต้องแลกกับการไม่มีกำไร
ตัวอย่างบริษัทใกล้ตัวเรา ก็อย่างเช่น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่าง Lazada, Shopee หรือบริษัทที่ให้บริการฟูดดิลิเวอรี อย่าง Grab, Foodpanda
2
บริษัทที่ว่ามาเหล่านี้ขาดทุนติดต่อกันมาแล้วหลายปี แต่จำนวนผู้ใช้งานและรายได้ ก็กำลังเติบโตแบบก้าวกระโดดเช่นกัน
1
หรือหากเราลองดูจากบริษัทชื่อดังระดับโลกหลายบริษัท ก็จะพบว่า หลายบริษัทต้องใช้เวลาหลายปีเลยทีเดียวกว่าจะมีกำไร เช่น
- Facebook ใช้เวลา 5 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทจึงจะสามารถทำกำไรได้
- Amazon.com ใช้เวลา 7 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทจึงจะสามารถทำกำไรได้
คำถามต่อมาคือ บริษัทที่ยังไม่มีกำไร ทำธุรกิจต่อไปได้อย่างไร ?
เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า กำไรหรือขาดทุน ที่เราเห็นในงบการเงินนั้นคืออะไร
1
กำไร หรือ กำไรทางบัญชี คือ ยอดขาย หักลบด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น เราทำการเปิดร้านขายเสื้อผ้า
โดยทั้งปีมียอดขายอยู่ที่ 10 ล้านบาท
มีต้นทุนในการผลิตเสื้อผ้า 5 ล้านบาท
ค่าจ้างพนักงานและค่าโฆษณาร้านเรา รวมกันปีละ 2 ล้านบาท
5
ดังนั้นค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่ากับ 7 ล้านบาท
เหลือเป็นกำไร 3 ล้านบาท
2
แต่สำหรับบริษัทที่อยู่ในช่วงเริ่มต้น มักจะมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่ายอดขายที่ทำได้ ซึ่งเมื่อหักลบกันแล้ว บริษัทก็จะขาดทุนนั่นเอง
ซึ่งถ้าถามว่าอะไรที่ทำให้บริษัทอยู่รอดได้ในทุก ๆ ปี คำตอบคือ “เงินสด”
1
หากบริษัทยังมีเงินสดเพียงพอที่จะสามารถจ่าย ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ทันเวลา หรือมีเงินทุนเพียงพอสำหรับการลงทุนในโครงการใหม่ ๆ บริษัทก็จะยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ถึงแม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม
1
คำถามคือ แล้วบริษัทจะไปหาเงินสดมาใช้จ่าย ได้จากที่ไหน ?
1. เงินกู้
1
วิธีที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้วคือการ “กู้เงิน” หรือพูดง่าย ๆ คือการยืมเงินนั่นเอง
ซึ่งช่องทางหลักคือ การกู้เงินจากธนาคาร ซึ่งวิธีนี้ก็ต้องแลกด้วยการจ่าย “ดอกเบี้ย” ให้กับผู้ที่ให้เรากู้ยืม
1
อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ ธุรกิจที่อยู่ในช่วงเริ่มต้น ก็อาจเจอปัญหา ขอกู้เงินจากธนาคารได้ยากในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ เนื่องจากการดำเนินธุรกิจในช่วงแรกอาจมีความไม่แน่นอนหลายอย่าง ทำให้ธนาคารเองก็ไม่กล้าที่จะให้ยืมเงินมากนัก
2. เงินที่ได้จากการระดมทุน
คือ การได้รับเงินทุนจากคนที่สนใจในบริษัท โดยพวกเขาจะได้รับสิ่งตอบแทนคือหุ้นของบริษัท
โดยส่วนมากจะเป็นนักลงทุนที่สนใจใน การดำเนินธุรกิจของบริษัท
หรือโครงการใหม่ ๆ ที่คาดว่าจะทำให้บริษัทเติบโตได้ในอนาคต
ซึ่งวิธีในการระดมทุนนั้นก็มีหลากหลาย เช่น
1
Venture Capital
โดยส่วนมากหากเป็นในช่วงระยะเริ่มต้นของธุรกิจ
มักจะได้รับเงินทุนจาก Venture Capital หรือ VC ที่รวบรวมเงินที่ได้จากนักลงทุน แล้วนำเงินไปเป็นเงินทุนให้กับบริษัทต่าง ๆ ที่ VC สนใจ
3
Corporate Venture Capital หรือ CVC ที่มีแนวทางเหมือนกับกอง VC ทั่วไป เพียงแต่จะเป็นเงินจากการรวบรวมจากบริษัทใหญ่ ๆ ที่มีเงินสดในมือเป็นจำนวนมาก
1
ตัวอย่างของ CVC ในไทย เช่น Beacon Venture Capital ของธนาคารกสิกรไทย, InVent ของ Intouch Holdings
นอกจากนี้ยังมีการระดมทุนวิธีอื่นอีก เช่น
- IPO หรือการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก ซึ่งเป็นการนำหุ้นจำนวนหนึ่งของบริษัทมาขายให้กับสาธารณะหรือนักลงทุนทั่วไปที่สนใจ
- Crowdfunding ซึ่งเป็นการระดมทุนในยุคอินเทอร์เน็ต โดยส่วนมากจะทำผ่านแพลตฟอร์ม
ตัวอย่างเช่น Kickstarter ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับให้คน 2 ฝั่งได้มาเจอกัน
ฝั่งหนึ่งมีไอเดีย อีกฝั่งมีเงินทุนมาสนับสนุนโครงการ หรือไอเดียที่ตัวเองสนใจ
1
3. กระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินธุรกิจ
คือ เงินที่ได้มาจากการทำธุรกิจของเรา โดยจะนับเฉพาะเงินสดที่บริษัทได้รับและจ่ายออกไปจริง ๆ
ซึ่งจะต่างจากกำไรทางบัญชี ที่มีบางรายการที่รอรับรู้รายการในอนาคต เช่น รายได้รับล่วงหน้าที่เราได้เงินสดมาแล้ว แต่ยังไม่รับรู้รายได้ทางบัญชี
3
ตัวอย่างการนับว่าอะไรเป็นเงินสด ก็เช่น
- เราขายเสื้อให้นาย A นาย A จ่ายเงินสดทันที แบบนี้เรานับเป็นทั้งยอดขาย และเงินสด
- เราขายเสื้อให้นาย B แต่นาย B จ่ายเงินล่วงหน้าก่อนส่งมอบสินค้าจริง แบบนี้เราได้รับเงินสดล่วงหน้ามาแล้ว แต่ยังไม่ได้รับรู้รายได้ทางบัญชี
3
ตัวอย่างรายการรับเงินสดล่วงหน้าของธุรกิจต่าง ๆ ก็จะเป็น การขายบัตรเติมเงินล่วงหน้า, การขายตั๋วล่วงหน้า, การขาย Subscription แบบจ่ายเงินล่วงหน้า
โดยหากบริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเข้ามาเรื่อย ๆ และเพียงพอใช้หมุนเวียนในการดำเนินกิจการ ธุรกิจของบริษัทก็จะยังคงดำเนินต่อไปได้
อ่านมาถึงจุดนี้คงพอเข้าใจแล้วว่าทำไมบริษัท
จึงยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แม้จะมีการขาดทุนทางบัญชี
เราลองมาดูตัวอย่างกันบ้าง
อย่างเช่น Spotify แพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลงและพอดแคสต์ที่เรารู้จักกันดี
หากเราลองมาดูผลประกอบการของ Spotify
3
ปี 2019 รายได้ 222,467 ล้านบาท ขาดทุน 6,117 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 259,173 ล้านบาท ขาดทุน 19,109 ล้านบาท
1
แม้ Spotify จะมีผลการดำเนินงานที่ขาดทุน แต่หากเราไปดูที่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัท
ปี 2019 มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 18,845 ล้านบาท
ปี 2020 มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 8,518 ล้านบาท
กระแสเงินสดยังคงเป็นบวก และบริษัทยังมีเงินสดเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของบริษัท
สาเหตุหนึ่งมาจากการที่ Spotify มีโมเดลธุรกิจเป็นแบบ Subscription ทำให้บริษัทมีกระแสเงินสดเข้ามาอย่างต่อเนื่องทุก ๆ เดือน ซึ่งนี่ถือเป็นจุดเด่นของ Subscription Model เลยก็ว่าได้
1
คำถามต่อไปก็คือ
ถ้าบริษัทมีกระแสเงินสดติดลบ บริษัทนั้นจะหาเงินสดจากการกู้ หรือการระดมทุนไปเรื่อย ๆ ได้หรือไม่
3
คำตอบก็คือ บริษัทจะกู้เงิน หรือระดมทุนได้มากถึงจุดหนึ่งเท่านั้น
เพราะเมื่อผู้ให้กู้ หรือผู้ให้เงินทุน หมดความหวังในอนาคตของบริษัท ก็อาจหยุดให้เงินเพื่อสนับสนุนต่อ
1
และเมื่อเงินหมด แต่บริษัทยังมีกระแสเงินสดที่ติดลบ นั่นอาจหมายถึงจุดจบของบริษัท
2
ซึ่งจากสถิติพบว่า สตาร์ตอัปที่ไม่ประสบความสำเร็จ และล้มหายตายจากไปมีสัดส่วนสูงถึง 90%
แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ชัยชนะของการประสบความสำเร็จอาจดูหอมหวาน แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะสามารถอยู่รอดได้ในเกมนี้
1
และสุดท้าย ก็คงไม่มีนักลงทุนคนไหน
ที่จะอยากลงทุนหรือให้เงินสนับสนุนกับธุรกิจ ที่ไม่ว่าอีกกี่ปี ก็ไม่มีวันทำกำไรได้เลย..
2
โฆษณา