5 ส.ค. 2021 เวลา 15:17
ลดวงเงินคุ้มครองเงินฝาก…What? Why? And So?
การประกันวงเงินฝาก หรือ การคุ้มครองเงินฝาก เป็นสิ่งที่แต่ละประเทศออกเป็นนโยบายเพื่อคุ้มครองประชาชนที่ฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ในวงเงินทั้งหมดที่ฝากหรือบางส่วนแล้วแต่ประเทศ ในกรณีที่ธนาคารไม่สามารถจ่ายคืนเงินให้กับผู้ฝากได้ โดยจุดประสงค์ที่ต้องมีการคุ้มครองเงินฝากหลักๆแล้วคือการสร้างเสถียรภาพและความเชื่อมั่นทางการเงินให้กับประเทศนั่นเอง
โดยทั่วไปธนาคารที่เราฝากเงินเค้าจะไม่ได้เก็บเงินเราไว้เฉยๆเพื่อให้เรามาถอนใช้ตามต้องการ แต่เค้าจะเอาเงินฝากนั้นไปปล่อยกู้และลงทุนเพื่อสร้างผลกำไรเช่นกัน โดยสัดส่วนที่ธนาคารสามารถนำเงินไปปล่อยกู้หรือลงทุนจะถูกกำกับโดยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เราเรียกว่า Reserve Ratio ซึ่งตัวสัดส่วนนี้เองแบงค์ชาติใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ หรือใช้เป็นเครื่องรับประกันว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นธนาคารไม่มีเงินสดให้ประชาชนถอนออกมาใช้หรือที่เราเรียกว่า Bank Run
ในส่วนของรัฐโดยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก(สคฝ.)ก็จะมีบอร์ดที่มีผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย ฯลฯ กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ทางอ้อมเช่นกันในบทบาทของ”เอเย่น” ที่ธนาคารพาณิชย์ต้องจ่ายเงินเพื่อทำประกันหรือพูดง่ายๆธนาคารต้องซื้อประกันเพื่อให้เราได้เงินฝากคืนกรณีที่เค้าล้มแล้วไม่สามารถจ่ายเงินคืนเราได้ ผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ได้รับความคุ้มครอง คือ เงินฝากที่เปิดไว้ที่สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก เป็นเงินสกุลบาทและเป็นบัญชีเงินฝากภายในประเทศ ในปัจจุบันมี 5 ประเภท ได้แก่
• เงินฝากกระแสรายวัน
• เงินฝากออมทรัพย์
• เงินฝากประจำ
• บัตรเงินฝาก
• ใบรับฝากเงิน
ทีนี่เรามาดูประเทศอื่นๆตั้งวงเงินที่คุ้มครองเท่าไหร่กันบ้างถ้าเทียบกับวงเงิน 1 ล้านบาท หรือ 30,083.63 USD ของไทย เช่นมาเลเซีย 59,276.85 USD, ฟิลิปปินส์ 9,932.28, ฮ่องกง 64,285.96 USD, เกาหลีใต้ 43,775.91 USD, หรือประเทศในแถบยุโรปส่วนใหญ่คือ 1 แสนยูโรหรือ 118,352.35 USD ซึ่งดอกเบี้ยสีทองก็ไม่รู้ว่าแต่ละประเทศใช้เกณฑ์อะไรในการตั้งวงเงินดังกล่าวแต่ที่แน่ๆจะเป็นเลขที่สวยๆของสกุลเงินนั้นๆ555 และไม่มีประเทศไหนเลยที่ยังคุ้มครองเงินฝากแบบเต็มจำนวนอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากมีงานวิจัยที่สรุปชัดแล้วว่า การคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนนั้นจะทำให้เกิดปัญหา Moral Hazard กับแบงค์ คือแบงค์จะไปลงทุนหรือทำธุรกรรมที่เสี่ยงมากขึ้นๆจนอาจมีผลต่อความมั่นคงทางการเงินของชาติได้ ไม่ต่างกับคนทำประกันสุขภาพที่ไม่ค่อยกังวลว่าตัวเองจะเข้ารพ. และยังมีข้อมูลว่าการคุ้มครองเงินฝากในสัดส่วนที่สูงทำให้ผู้ฝากเงินละเลยในการเฝ้าระวังตรวจสอบการดำเนินการของธนาคารอีกด้วยนะ
2
ปัจจุบันการคุ้มครองเงินฝากก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันในเชิงวิชาการว่าท้ายที่สุดมันจะสร้างเสถียรภาพทางการเงินหรือทำให้เสื่อมเสถียรภาพกันแน่ เพราะมันไม่มีอะไรที่ One Size Fits All หรือวงเงินไหนที่จะเกิดประโยชน์สูงสุด แต่สิ่งที่วันนี้เราต้องการคือการคุ้มครองเงินฝากอย่างน้อยก็ทำให้เกิดประโยชน์กับคนได้มากที่สุดซึ่งก็คือกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางที่มีอยู่ในสัดส่วนที่มากที่สุดในประเทศและมีเงินฝากไม่ถึง 1 ล้านบาท เพราะในความเป็นจริงยังมีมาตรการอีกมากที่กำกับดูแลสถาบันการเงินนอกเหนือจากการคุ้มครองเงินฝาก
1
โฆษณา