6 ส.ค. 2021 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เมื่อญี่ปุ่น กำลังเต็มไปด้วย คนไม่ทำงาน
3
คนที่ไม่ทำงานทำการอะไรเลย จะถูกเรียกว่า “ชาวนีต” หรือ NEET หรือที่คนญี่ปุ่นจะนิยมเรียกว่า “นีตโตะ”
3
NEET มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Not in Education, Employment or Training ซึ่งก็คือ บุคคลที่ไม่ได้อยู่ในสถานะเรียน ทำงาน หรือฝึกงานใด ๆ
1
แล้วญี่ปุ่น กำลังมี ชาวนีต มากขนาดไหน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
3
ชาวนีตส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นจะมีอายุอยู่ที่ราว 18-34 ปี ซึ่งจัดอยู่ในวัยนักศึกษา และวัยเริ่มทำงาน แต่คนเหล่านี้กลับเลือกที่จะเก็บตัวอยู่แต่บ้าน เล่นเกม หรือไม่ก็นั่ง ๆ นอน ๆ ไปวัน ๆ
5
บางคนก็ถึงขนาดหลอกลวงคนที่บ้าน หรือหลอกเพื่อนฝูงว่ามีหน้าที่การงานที่ดี ออกจากบ้านแต่เช้าแล้วกลับค่ำ ๆ ทุกวัน
แต่ความจริงไม่ได้ไปทำงาน กลับไปนั่งอยู่ร้านเกม หรือร้านปาจิงโกะ ใช้ชีวิตให้หมดไปหนึ่งวัน
9
ชาวนีตเหล่านี้อาศัยอยู่บ้านกับพ่อแม่ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดก็มาจากเงินจากพ่อแม่ ครอบครัวไหนที่มีฐานะดี ลูกที่เป็นนีตก็มีเงินพอจะออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน
1
แต่บางครอบครัวพ่อแม่เกษียณแล้วได้รับบำนาญไม่มาก หรือพ่อแม่ทำงานแต่มีเงินใช้ไม่พอ พ่อแม่ก็อาจจะต้องหางานเพิ่มเพื่อเลี้ยงดูลูกนีต
3
สาเหตุของการเป็นชาวนีตมีได้หลากหลาย
ทั้งจาก การเบื่อชีวิตการทำงานที่หนักหนาและเคร่งเครียดของสังคมญี่ปุ่น, ความรู้สึกสิ้นหวังในชีวิตวัยเรียน จากการถูกบุลลีในชั้นเรียน
9
ทำให้หลายคนเลือกที่จะปลีกตัวออกจากสังคมมาตั้งแต่นั้น
รวมถึงการเลี้ยงดูของบางครอบครัวที่ตามใจลูกมากจนเกินไป จนทำให้ลูกไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพชีวิตในสังคมได้
7
ชาวนีตที่เก็บตัวอยู่ที่บ้านและไม่ออกไปไหนนาน ๆ เข้า มีแนวโน้มสูงที่จะกลายเป็น “ฮิคิโคโมริ” หรือบุคคลที่ไม่ออกจากบ้าน ไม่ออกไปพบปะกับใครเลยนอกจากคนในครอบครัว เป็นเวลานานกว่า 6 เดือน
3
จำนวนชาวนีตในญี่ปุ่นไม่สามารถระบุได้แน่ชัด เพราะส่วนใหญ่มักไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นนีต
แต่ก็ถูกคาดการณ์ว่าอาจมีไม่ต่ำกว่า 650,000 คน
ส่วนองค์กร OECD มีการคาดการณ์ว่า อาจมีชาวนีตอยู่มากกว่า 1,000,000 คนทั่วประเทศญี่ปุ่น
 
นอกจากชาวนีตแล้ว ในสังคมญี่ปุ่นยังมีคนอยู่อีกกลุ่มหนึ่ง ที่ถูกเรียกว่า “ฟรีเตอร์ (Freeter)” หรือที่คนญี่ปุ่นนิยมเรียกว่า ฟรีตะ..
10
Freeter มาจากภาษาอังกฤษว่า Free รวมกับภาษาเยอรมัน Arbeiter ซึ่งแปลว่า คนทำงาน
เมื่อรวมกันจึงแปลว่า คนที่รับงานเป็นจ๊อบ ๆ
6
แต่งานสำหรับชาวฟรีเตอร์ ส่วนมากมักเป็นงานที่ต่ำกว่าวุฒิ และได้รับค่าแรงต่ำ เช่น งานในร้านสะดวกซื้อ งานแจกสินค้าทดลอง หรืองานในร้านอาหาร
4
สาเหตุที่ทำให้ต้องมาเป็นชาวฟรีเตอร์ ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากการหลีกหนีชีวิตการทำงานประจำที่เคร่งเครียดและทำงานหนัก จึงลาออกมาทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ แทน และมักเปลี่ยนงานไปเรื่อย ๆ บางคนก็เฝ้ารองานในฝันที่ตัวเองอยากทำ จนไม่ยอมทำงานประจำอื่น ๆ เลย
7
ชาวฟรีเตอร์บางส่วนก็ยังคงอาศัยอยู่บ้านกับพ่อแม่ แต่ก็มีไม่น้อยที่แยกไปหาห้องเช่าถูก ๆ เพราะยังพอมีรายได้อยู่บ้าง บางคนก็นิยมการย้ายที่พักไปเรื่อย ๆ ตามงานที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
2
จำนวนของชาวฟรีเตอร์ในญี่ปุ่นก็ประมาณได้ยากเช่นกัน เพราะไม่ค่อยมีใครยอมรับว่าเป็นฟรีเตอร์ แต่ประมาณกันว่าในญี่ปุ่นปัจจุบันมีฟรีเตอร์อยู่ราว 10 ล้านคน
9
หากลองรวมจำนวนของทั้งชาวนีตและชาวฟรีเตอร์ก็จะพบว่า
จำนวนนี้มีอยู่สูงถึงเกือบ 11 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 8% ของประชากรญี่ปุ่น
และคิดเป็นสัดส่วนถึง 15% ของวัยแรงงานในประเทศญี่ปุ่น
6
Cr.silpa-mag
สภาพสังคมที่เต็มไปด้วยชาวนีตและฟรีเตอร์ ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจหลายอย่าง
ทั้งการทำให้ผู้ประกอบการหาแรงงานได้ยากยิ่งขึ้น ในภาวะขาดแคลนแรงงานที่รุนแรงขึ้น
กิจการหลายแห่งก็อาจต้องปิดตัวลง หรือย้ายไปลงทุนยังต่างประเทศ
มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางเศรษฐกิจของประเทศก็ลดต่ำลงเรื่อย ๆ
3
ในปี 1995 GDP ของประเทศญี่ปุ่น อยู่ที่ 5.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 178 ล้านล้านบาท
ซึ่งเคยมากกว่า GDP ของทุกประเทศในทวีปเอเชียที่เหลือรวมกัน
4
เวลาผ่านไปเกือบ 30 ปี GDP ของญี่ปุ่นในปี 2020 อยู่ที่ 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
แทบไม่แตกต่างจาก GDP ปี 1995
4
เรียกได้ว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลยตลอดเวลาเกือบ 30 ปี จนคนทั้งโลกรู้จักกันในชื่อ “3 ทศวรรษที่หายไป” ของญี่ปุ่น
6
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดทศวรรษที่หายไป มาจากจำนวนประชากรที่ลดลง และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ญี่ปุ่นมีคนสูงอายุมากกว่า 65 ปี คิดเป็นสัดส่วนถึง 28.4% ของประชากรทั้งหมด ในปี 2020
6
แต่สังคมญี่ปุ่นยังมีปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่มากกว่านั้น ก็เพราะมีคนในวัยทำงานจำนวนไม่น้อย ที่เป็นชาวนีต
2
เมื่อไม่มีแรงงานประจำ รัฐบาลก็มีแนวโน้มเก็บภาษีมาใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ ได้ลดลง โดยเฉพาะการเลี้ยงดูผู้สูงอายุของญี่ปุ่นที่นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
1
การเป็นภาระของครอบครัวในการเลี้ยงดู ชาวนีตหลายคนมีอายุถึงวัยเลข 4 แล้ว แต่ยังคงพึ่งพาเงินจากพ่อแม่ บางคนพ่อแม่ก็เข้าสู่วัยเกษียณแล้ว เมื่อรายได้ไม่พอก็อาจเลือกก่อปัญหาอาชญากรรม จนกลายเป็นภาระให้สังคมต่อ
11
ชาวนีตและฟรีเตอร์ส่วนมากมักอยู่ตัวคนเดียว ไม่มีครอบครัว และไม่คิดที่จะมีด้วย อัตราเกิดของญี่ปุ่นที่ตกต่ำอยู่แล้ว ก็ยิ่งมีแนวโน้มจะลดต่ำลงไปอีก
7
รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามแก้ไขปัญหาเพื่อไม่ให้คนรุ่นใหม่กลายเป็นชาวนีตและฟรีเตอร์ มาตั้งแต่ปี 2004
ทั้งการจัดโปรแกรม “Job Education” ลงไปในหลักสูตรของโรงเรียน เพื่อให้เด็ก ๆ เข้าใจโลกของการทำงานหลังเรียนจบ และมีความคิดที่ดีต่อการทำงานในอนาคต
10
การเพิ่มความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคธุรกิจให้มากขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสฝึกงาน และเรียนรู้ชีวิตการทำงานให้มากที่สุด รวมถึงการจัดค่ายเยาวชน ให้เยาวชนได้พบปะกับบุคคลอื่น เพื่อสร้างทักษะทางสังคมที่ดี
4
แต่อย่างไรก็ตาม แนวโน้มปัญหานี้ก็ยังคงไม่คลี่คลายมากนัก เพราะค่านิยมการทำงานแบบญี่ปุ่น ที่ทุ่มเทให้กับองค์กร และการทำงานหนักยังคงมีอยู่มากในสังคมการทำงาน ซึ่งก็ยิ่งผลักดันให้คนรุ่นใหม่เลือกที่จะเป็นชาวนีตและชาวฟรีเตอร์กันมากขึ้น
13
รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ ทั้งการขยายอายุเกษียณไปจนถึง 65 ปี เพื่อให้มีวัยแรงงานมากเพียงพอที่จะเสียภาษี
7
การเปิดรับแรงงานต่างชาติมากขึ้น เพื่อมาทดแทนแรงงานที่ขาดหายไป ทั้งแรงงานที่สูงวัย และแรงงานที่ไม่ยอมทำงาน
6
ก็เป็นที่น่าคิดว่า สังคมญี่ปุ่นในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไรต่อไป
3
โดยเฉพาะในปี 2050 หรืออีก 30 ปีข้างหน้า
ที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีผู้สูงอายุ ที่อายุมากกว่า 65 ปี คิดเป็นสัดส่วนถึง 37.6% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
5
ซึ่งดูเหมือนว่า “ทศวรรษที่หายไปของญี่ปุ่น” จะยังคงไม่กลับคืนมาง่าย ๆ..
3
โฆษณา