6 ส.ค. 2021 เวลา 13:00 • หนังสือ
“ข้อคิดที่ผมได้จากการอ่านหนังสือสัปดาห์ละ 1 เล่ม”
.
The more that you read, the more things you will know. The more that you learn, the more places you’ll go. —Dr. Seuss
.
ยิ่งอ่านมากเท่าไร ยิ่งรู้มากเท่านั้น
และยิ่งเรียนรู้มากเท่าไร ยิ่งท่องโลกกว้างไกลเท่านั้น — ด็อกเตอร์ซุส
.
.
คำกล่าวนี้ของด็อกเตอร์ซุส นักเขียนนิทานเด็กชื่อดัง แม้จะเป็นประโยคสั้นๆ เข้าใจง่าย แต่ก็เต็มไปด้วยสัจธรรมของ “การอ่านหนังสือ” และยิ่งไปกว่านั้น นี่อาจเป็นเหตุผลที่อธิบายว่า ทำไมคนที่ประสบความสำเร็จอย่าง บิล เกตส์ หรือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มีกิจกรรมอย่างหนึ่งที่คล้ายกัน
.
3
พวกเขาทั้งคู่รักการอ่าน
.
อาจเป็นเพราะความชื่นชอบส่วนตัว หรือแรงบันดาลใจจากคนเหล่านี้ หลายๆ คนจึงมีเป้าหมายที่อยากจะอ่านหนังสือให้ ‘มากขึ้น’ ในทุกๆ ปี อย่างไรก็ตาม การอ่านเป็นเรื่องยากกว่าแต่ก่อนมาก เพราะการเข้ามาของเทคโนโลยีที่ทำให้สมาธิ (Attention Span) ของเราสั้นลงอย่างไม่น่าเชื่อ
.
ไม่แปลกที่เราจะใช้เวลาเป็นเดือนในการอ่านหนังสือให้จบ 1 เล่ม จากแต่ก่อนที่เราสามารถอ่านจบได้ภายในไม่กี่สัปดาห์
.
แม้การอ่านจะไม่ง่ายเช่นเดิม แต่ผู้เขียนยังเชื่อว่ามีหลายคนที่พยายามจะอ่านให้มากขึ้น วันนี้เลยอยากจะแบ่งปัน ‘ข้อคิด’ ที่ชายคนหนึ่งได้จากการอ่านหนังสือสัปดาห์ละ 1 เล่ม เป็นเวลา 4 ปี และ ‘เทคนิค’ ที่จะช่วยให้เราอ่านได้อย่างสม่ำเสมอขึ้น
.
5
จุดเริ่มต้น: ทำไมผมถึงอ่านหนังสือสัปดาห์ละเล่ม?
.
ในปี 2015 ขณะ Youtuber เจ้าของช่องชื่อ Inerize กำลังเรียนมหาวิทยาลัยอยู่ แต่เขาพบว่าเขาไม่ได้ความรู้อะไรจากการไปเรียนเลย สิ่งที่อาจารย์สอนช่างล้าหลังและนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงไม่ได้ เขาเลยรู้สึกว่าถึงเวลาแล้ว ที่เขาต้อง ‘รับผิดชอบ’ การเรียนรู้ของเขา ‘ด้วยตนเอง’
.
การอ่านหนังสือสัปดาห์ละเล่มจึงเริ่มต้นขึ้น
.
ในช่วงต้นสัปดาห์เขาจะเลือกหนังสือมา 1 เล่มและนำจำนวนหน้าไปหารด้วยเลข 7 เขาจะได้รู้ว่าต้องอ่าน ‘วันละกี่หน้า’ ถึงจะจบเล่ม ตัวอย่างเช่น หากหนังสือยาว 150 หน้า เท่ากับว่าเขาต้องอ่านวันละประมาณ 21-22 หน้า
.
6
การแบ่งภารกิจใหญ่ๆ ให้เป็นก้อนเล็กๆ เช่นนี้ ช่วยให้เป้าหมายของเรามีความเป็นไปได้ และฟังดูไม่ยากจนเกินไป ที่สำคัญ ความสำเร็จเล็กๆ ในแต่ละวัน ทำให้เรารู้สึกถึง Sense Of Accomplishment ซึ่งจะช่วยกลายเป็นแรงผลักดันให้เราทำสิ่งนั้นต่อไปได้ในวันถัดไป
.
อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่าช่วง 2 เดือนแรกเป็นช่วงที่ยากที่สุด เพราะการอ่านหนังสือเป็น “สิ่งที่ต้องทำ” แต่ไม่นานก็ปรับตัวได้และการอ่านถึงกลายเป็น “สิ่งที่อยากทำ”
.
รู้ตัวอีกทีเขาก็พกหนังสือไปไหนมาไหนด้วยแทบทุกที่แล้ว
.
2
ผลลัพธ์: ข้อคิดที่ได้จากการอ่านตลอด 4 ปี
.
1) จุดประกายความสงสัยด้วยการเรียนรู้ ‘แบบใหม่’
มนุษย์ทุกคนมีความสงสัยอยู่ในตัว เราอยากรู้และอยากเข้าใจเรื่องราวที่เจอในแต่ละวัน ทว่าการเรียนการสอนแบบในโรงเรียนนั้นทำให้ ‘การเรียนรู้’ เป็นเรื่องน่าเบื่อ แค่ได้ยินก็อยากวิ่งหนีไปให้ไกลแล้ว
.
ต่างกันกับการเรียนรู้ผ่านการอ่าน เรามีอิสระในการเลือกหัวข้อที่เราสนใจ เลือกผู้สอน (ซึ่งก็คือนักเขียน) และช่วงเวลาที่เราอยากเรียนรู้ได้
.
“ผมพบว่าแต่ละวิชากลายเป็นเรื่องน่าหลงใหลได้ ถ้าสอนโดยคนที่ใช่และถูกวิธี”
.
เมื่อการเรียนกลายเป็นเรื่องสนุก ขอบเขตของการเรียนรู้ก็ขยายโดยอัตโนมัติ จากในช่วงปีแรกๆ ที่เขาอ่านแค่หัวข้อที่ชอบ เช่นการพัฒนาตัวเองและธุรกิจ ในช่วงหลังๆ เขาเริ่มสนใจหัวข้ออื่นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ ปรัชญา หรือประวัติศาสตร์
.
5
2) วิธีคิดเปลี่ยนไปเพราะโลกใบใหม่ที่กว้างขึ้น
ใจความที่เราได้จากในหนังสือแต่ละเล่ม ผู้เขียนอาจจะต้องผ่านประสบการณ์ยากๆ บางอย่าง หรือไม่ก็ใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อตกตะกอนความรู้นั้นออกมา แต่ในฐานะผู้อ่าน เรามีโอกาสในการเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง ภายในเวลาที่สั้นกว่ามาก
.
ราวกับว่าเราได้เรียนรู้โลกทั้งใบของคนๆ หนึ่งผ่านหนังสือเล่มเดียว
.
เมื่อเรายิ่งอ่านเยอะ เรายิ่งมี ‘แว่นตา’ ในการมองโลกหลายอัน หากเราต้องเจอกับปัญหา เราสามารถใช้มุมมองใหม่ๆ ที่แตกต่างมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าที่เคย
.
5
3) เข้าใจศักยภาพที่แท้จริงของตัวเองผ่านการมี Self-awareness
การอ่านช่วยให้เขาเข้าใจร่างกาย สมอง และความคิดมากขึ้น ผลที่ตามมาคือเขา ‘เข้าใจ’ ว่าต้องทำอย่างไรถึงจะพัฒนาตัวเองได้ เขาเริ่มตระหนักถึงพฤติกรรมแย่ๆ ที่ไม่ทำให้ชีวิตของเขาก้าวหน้าไปไหนและเลิกทำสิ่งนั้น
.
ความเข้าใจในศักยภาพของตนเองนี้ ประกอบกับแรงบันดาลใจและโลกที่กว้างกว่าเดิมที่เขาได้รับรู้ผ่านตัวหนังสือ ช่วยให้เขาตระหนักว่าความฝันของเขาเอง ‘ไม่ไกลเกินเอื้อม’ หากพยายามมากพอ
.
หากวันนั้นเขาไม่ได้ตัดสินใจอ่านหนังสือ อยู่ในชีวิตเดิมๆ ที่มีเพียงความคิดของพ่อ แม่ คนใกล้ตัว และบทเรียนล้าหลังในมหาวิทยาลัย ความฝันของเขาอาจยังเป็นเรื่องเพ้อฝันอยู่ก็ได้
.
4
เคล็ดลับการอ่านให้มากขึ้นในยุคที่การอ่านเป็นเรื่องยาก
.
แน่นอนว่าหลายคนมีเป้าหมายตั้งแต่ต้นปีว่า ‘ปีนี้จะอ่านหนังสือ xx เล่ม’ ผู้เขียนเองก็เช่นกัน วันนี้จึงได้รวบรวมเทคนิคที่จะช่วยให้เราอ่านหนังสือได้เยอะขึ้น จากบทความใน The New York Times และ Youtubers หนอนหนังสือชื่อดังหลายท่านมาให้
.
2
- เริ่มที่การตั้งเป้าหมายเล็กๆ ทุกวัน เช่น อ่านวันละ 15 หน้า
- ปิดการแจ้งเตือนอุปกรณ์สื่อสารทุกอย่าง
- อ่าน ‘หนังสือที่เราชอบ’ ไม่ต้องสนว่าคนอื่นจะคิดอย่างไร
- ยืมหนังสือจากห้องสมุดบ้าง จะได้มีพลังจากเดดไลน์มาช่วยกดดัน
- เข้าร่วมชมรมหนังสือ หรือกลุ่มนักอ่านใน Social Media
- หนังสือที่คนอื่นแนะนำว่า ‘ต้องอ่าน’ ถ้าเราลองอ่านแล้วรู้สึกไม่สนุกกับมันจริงๆ ก็อย่าฝืนเลย
- พกหนังสือไปไหนมาไหนด้วย
- การใช้ที่คั่นหนังสือหรือนิ้วไล่ตามบรรทัดที่อ่านก็ช่วยให้เราโฟกัสได้ดีขึ้น (แม้ครูจะบอกตอนเด็กๆ ว่าห้ามชี้ แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว และคนเราก็สมาธิสั้นขึ้น)
- เปิด Audiobook ฟังไปด้วย
- อ่านเพราะ ‘อยากอ่าน’ ไม่ใช่อ่านเพราะ ‘อยากอ่านให้จบ’
.
2
ในฐานะคนชอบอ่านหนังสือ (แต่ชอบซื้อมากกว่า) เราหวังว่าผู้อ่านบทความนี้อยู่จะได้แรงบันดาลใจและเริ่มต้นทลาย ‘กองดอง’ ที่ดองไว้ตั้งแต่ต้นปีกันบ้างนะ
.
ตอนนี้อ่านหนังสือเล่มไหนอยู่บ้าง อ่านถึงไหนแล้ว อัปเดตให้ฟังหน่อย
หรือใครมีเทคนิคการอ่านดีๆ ก็แชร์กันมาได้เลย
.
.
อ้างอิง
.
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#selfimprovement
1
โฆษณา