7 ส.ค. 2021 เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
6 อัตราส่วนทางการเงิน” ที่นักลงทุนมือใหม่ควรรู้ก่อนลงทุน
"ฉบับง่ายมาก ๆ"
4
👓 การวิเคราะห์ส่วนของอัตราส่วนทางการเงิน เป็นอีกเครื่องมือที่สำคัญในการวิเคราะห์บริษัท นักลงทุนหลายคนสงสัยว่า ทำไมควรรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนทางการเงิน นั่นก็เพื่อเป็นการเช็คสุขภาพงบการเงิน บ่งบอกว่าบริษัทแข็งแกร่งหรือวิกฤต ค่ามากค่าน้อยคืออะไร ความหมายเป็นอย่างไร บทความนี้มาเริ่มต้นจากศูนย์กันเลย
2
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน มีอัตราส่วนมากมาย แต่บทความนี้จะเลือกอัตราส่วนที่สำคัญ ใช้บ่อยและนิยมใช้กันมาก ในการวิเคราะห์บริษัท เหมาะสมกับนักลงทุนมือใหม่ที่กำลังศึกษาการลงทุน และเรียนรู้อัตราส่วนทางการเงินนะครับ
📍 (1) อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratios)
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratios) = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน (หน่วย = เท่า)
.
Current Ratios เป็นอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน ที่มีความสัมพันธ์เปรียบเทียบระหว่าง สินทรัพย์หมุนเวียน กับ หนี้สินหมุนเวียน
.
🟢Current Ratios มีค่ามากกว่า 1 เท่า แสดงว่าสินทรัพย์หมุนเวียน
มากกว่า หนี้สินหมุนเวียน
🟢Current Ratios มีค่าน้อยกว่า 1 เท่า แสดงว่าสินทรัพย์หมุนเวียน
น้อยกว่า หนี้สินหมุนเวียน
🟢Current Ratios มีค่าเท่ากับ 1 เท่า แสดงว่าสินทรัพย์หมุนเวียน
เท่ากับ หนี้สินหมุนเวียน
Current Ratios เป็นอัตราส่วนที่บอกถึงสภาพคล่องของบริษัท สามารถชำระหนี้ระยะสั้นได้หรือไม่ โดยบริษัทที่ดีควรมี Current Ratios ที่มากกว่า 1 เท่า แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียน เป็นสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้เร็วในระยะ 1 ปี มากเพียงพอสามารถจ่ายชำระหนี้สินหมุนเวียน เป็นหนี้สินระยะสั้นที่มีกำหนดชำระภายใน 1 ปี สามารถจ่ายเงินชำระหนี้ได้ทันที และไม่จำเป็นต้องกู้เงินเพิ่ม
.
แต่ถ้า Current Ratios ที่น้อยกว่า 1 เท่า แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียน ไม่มีเพียงพอจ่ายชำระหนี้สินหมุนเวียน บริษัทขาดสภาพคล่องของ จำเป็นต้องหาเงินเพิ่ม เพื่อชำระหนี้สินระยะสั้น อาจจำเป็นต้องกู้เงินหรือขายสินทรัพย์บางอย่างออกไป
2
📍 (2) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E Ratio)
1
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E Ratio) = หนี้สินรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น (หน่วย = เท่า)
.
D/E Ratio เป็นอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ที่มีความสัมพันธ์เปรียบเทียบระหว่าง หนี้สินรวม กับ ส่วนของผู้ถือหุ้น
.
🟢D/E Ratio มีค่ามากกว่า 1 เท่า แสดงว่าหนี้สินรวม มากกว่า ส่วนของผู้ถือหุ้น
🟢D/E Ratio มีค่าน้อยกว่า 1 เท่า แสดงว่าหนี้สินรวม น้อยกว่า ส่วนของผู้ถือหุ้น
🟢D/E Ratio มีค่าเท่ากับ 1 เท่า แสดงว่าหนี้สินรวม เท่ากับ ส่วนของผู้ถือหุ้น
.
D/E Ratio เป็นอัตราส่วนที่บอกถึงความเสี่ยงของบริษัทจากภาระหนี้สิน บริษัทมีหนี้สินรวมเป็นกี่เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้น บริษัทมีหนี้สินถือเป็นความเสี่ยง เนื่องจากหนี้สินเป็นเงินของคนอื่น บริษัทต้องชำระเงินคืนจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นเงินของบริษัท
.
โดยบริษัทที่ดีควรมี D/E Ratio ควรที่น้อยกว่า 1 เท่า แสดงว่า ภาระหนี้สินของบริษัทน้อย ใช้เงินส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่ และนิยมให้ค่าไม่เกิน 2 เท่า แต่ถ้า D/E Ratio มีค่ามาก ภาระหนี้สินของบริษัทมาก ถ้าในการดำเนินงานของบริษัทไม่ได้กำไรตามคาดการณ์ ไม่มีเงินเพียงพอชำระหนี้สิน จะเกิดปัญหาตามมา
1
📍(3) อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)
.
อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) = (กำไรขั้นต้น / ยอดขาย) * 100 (หน่วย = เปอร์เซ็นต์)
.
Gross Profit Margin อัตรากำไรขั้นต้น ที่มีความสัมพันธ์เปรียบเทียบระหว่าง กำไรขั้นต้น กับ ยอดขาย
(กำไรขั้นต้น = ยอดขาย – ต้นทุนขาย)
.
🟢Gross Profit Margin มีค่ามาก แสดงว่า อัตรากำไรขั้นต้นมาก
🟢Gross Profit Margin มีค่าน้อย แสดงว่า อัตรากำไรขั้นต้นน้อย
Gross Profit Margin เป็นอัตราส่วนที่บอกถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัท ความสามารถในการทำกำไรขั้นต้นของบริษัท เมื่อเทียบกับยอดขาย ส่วน Gross Profit Margin มีค่ามากหรือค่าน้อย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของบริษัทหรือค่าเฉลี่ยภายในอุตสาหกรรมนั้น ๆ
.
Gross Profit Margin มักใช้เปรียบเทียบบริษัทตัวเองในอดีต ค่าของ Gross Profit Margin ถือว่าดีต้องเป็นค่าอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปีอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง อาจจะเกิดขึ้นจากบริษัทสามารถบริหารต้นทุนขายได้ดี และเปรียบเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือเปรียบเทียบบริษัทที่คล้ายคลึงกัน เปรียบเทียบได้ค่ายิ่งมากกว่า ยิ่งดีกว่า
1
📍(4)อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)
.
อัตรากำไรสุทธิ = (กำไรสุทธิ / ยอดขาย) * 100 (หน่วย = เปอร์เซ็นต์)
.
Net Profit Margin เป็นอัตรากำไรสุทธิ ที่มีความสัมพันธ์เปรียบเทียบระหว่าง กำไรสุทธิ กับ ยอดขาย
.
🟢Net Profit Margin มีค่ามาก แสดงว่า อัตรากำไรสุทธิมาก
🟢Net Profit Margin มีค่าน้อย แสดงว่า อัตรากำไรสุทธิน้อย
Net Profit Margin เป็นอัตราส่วนที่บอกถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัท ความสามารถในการทำกำไรสุทธิของบริษัท เมื่อเทียบกับยอดขาย ส่วน Net Profit Margin มีค่ามากหรือค่าน้อย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของบริษัทหรือค่าเฉลี่ยภายในอุตสาหกรรมนั้น ๆ
.
Net Profit Margin มักใช้เปรียบเทียบบริษัทตัวเองในอดีต ค่าของ Net Profit Margin ถือว่าดีต้องเป็นค่าอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปีอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง อาจจะเกิดขึ้นจากบริษัทสามารถบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ดี และเปรียบเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือเปรียบเทียบบริษัทที่คล้ายคลึงกัน เปรียบเทียบได้ค่ายิ่งมากกว่า ยิ่งดีกว่า
1
📍(5) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ Return On Assets (ROA)
.
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ ROA = กำไรสุทธิ / สินทรัพย์รวม (หน่วย = เปอร์เซ็นต์)
.
ROA เป็นอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ ที่มีความสัมพันธ์เปรียบเทียบระหว่าง กำไรสุทธิ กับ สินทรัพย์รวม
.
🟢ROA มีค่ามาก แสดงว่า สินทรัพย์รวมสามารถก่อให้เกิดกำไรสุทธิได้มาก
🟢ROA มีค่าน้อย แสดงว่า สินทรัพย์รวมสามารถก่อให้เกิดกำไรสุทธิได้น้อย
1
ROA เป็นอัตราส่วนที่บอกถึงความสามารถในนำสินทรัพย์รวมไปก่อให้เกิดกำไรสุทธิมากน้อยแค่ไหน ส่วน ROA มีค่ามากหรือค่าน้อย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของบริษัทหรือค่าเฉลี่ยภายในอุตสาหกรรมนั้น ๆ เนื่องจากบริษัทมีการดำเนินงานของบริษัทแตกต่างกัน ลงทุนไม่เหมือนกัน หารายได้ไม่เหมือนกัน
.
ROA มักใช้เปรียบเทียบบริษัทตัวเองในอดีต ค่าของ ROA ถือว่าดีต้องเป็นค่าอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปีอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ยิ่งมากขึ้น ยิ่งดี เนื่องจากสินทรัพย์รวมสามารถก่อให้เกิดกำไรสุทธิได้มากขึ้นเรื่อย ๆ และเปรียบเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือเปรียบเทียบบริษัทที่คล้ายคลึงกัน เปรียบเทียบได้ค่ายิ่งมากกว่า ยิ่งดีกว่า
📍(6) อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น Return On Equity (ROE)
.
อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น ROE = กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น (หน่วย = เปอร์เซ็นต์)
.
ROE เป็นอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น ที่มีความสัมพันธ์เปรียบเทียบระหว่าง กำไรสุทธิ กับ ส่วนของผู้ถือหุ้น
.
🟢ROE มีค่ามาก แสดงว่า ส่วนของผู้ถือหุ้นสามารถก่อให้เกิดกำไรสุทธิได้มาก
🟢ROE มีค่าน้อย แสดงว่า ส่วนของผู้ถือหุ้นสามารถก่อให้เกิดกำไรสุทธิได้น้อย
ROE เป็นอัตราส่วนที่บอกถึงความสามารถในส่วนของผู้ถือหุ้นไปก่อให้เกิดกำไรสุทธิมากน้อยแค่ไหน คุ้มค่ากับเงินที่ผู้ถือหุ้นลงไปหรือไม่ หรือนำเงินทุนของส่วนของผู้ถือหุ้นมาสร้างผลตอบแทนได้มากน้อยแค่ไหน
.
ROE มักใช้เปรียบเทียบบริษัทตัวเองในอดีต ค่าของ ROE ถือว่าดีต้องเป็นค่าอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปีอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง เนื่องจากส่วนของผู้ถือหุ้นสามารถก่อให้เกิดกำไรสุทธิได้มากขึ้นเรื่อย ๆ นำเงินไปลงทุนสร้างผลตอบแทนได้ดี และเปรียบเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือเปรียบเทียบบริษัทที่คล้ายคลึงกัน เปรียบเทียบได้ค่ายิ่งมากกว่า ยิ่งดีกว่า
📈 ทั้งหมดเป็นอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญที่นิยมใช้บ่อยมาก และนักลงทุนมือใหม่ควรรู้ไว้ เพื่อทำการวิเคราะห์บริษัท เข้าใจบริษัท ต่อยอดความรู้ และเป็นโอกาสทางการลงทุน แต่ยังมีอัตราส่วนทางการเงินอีกมากมาย นักลงทุนจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมลึกลงไปในรายละเอียด
.
สุดท้ายอัตราส่วนทางการเงินเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ใช้ประกอบในการวิเคราะห์บริษัท ในการคัดเลือกหุ้น ก่อนการตัดสินใจลงทุน นักลงทุนก็ควรศึกษาข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนด้วยนะครับ
ชอบ "กดถูกใจ" ใช่ "กดแชร์"
แล้วพบกับบทความดี ๆ จาก SkillLane อีกมากมาย
กดติดตามไว้ได้เลย!
พบกับคอร์สออนไลน์การเงินการลงทุน โดยกูรูระดับประเทศที่ SkillLane
👉 คลิกเลย https://skl.website/2U54Ces
1
โฆษณา