7 ส.ค. 2021 เวลา 08:50 • สุขภาพ
## สายน้ำไม่ไหลย้อนกลับฉันใด ติดโควิดแล้ว..ชีวิตก็ไม่เหมือนเดิมฉันนั้น ##
2
ทุกคนอาจจะเคยได้ยินภาวะ “Long COVID” หรือ "โควิดเรื้อรัง" กันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ ภาวะนี้เป็นกลุ่มอาการที่ปรากฏให้เห็นได้ แม้คุณจะไม่มีเชื้อไวรัสโควิดอยู่ในร่างกายแล้วก็ตาม อาการเหล่านั้น เกิดจากการที่เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายบางส่วนของอวัยวะสำคัญในร่างกาย เช่น ปอด หัวใจ สมอง นั่นเองค่ะ
5
คุณคิดว่า อาการพวกนี้จะเกิดขึ้นหลังการรักษาหายแล้วใช่ไหมคะ คำตอบคือ ผิดค่ะ เพราะตั้งแต่ที่คุณได้รับเชื้อโควิดเข้ามาในร่างกาย การใช้ชีวิตของคุณจะไม่มีทางเหมือนเดิมอีกต่อไป ผลกระทบที่จัดว่าอาจร้ายแรงที่สุด ก็คือ ผลกระทบต่อสมอง มันเกิดขึ้นได้อย่างไรกันนะ เรามาร่วมหาคำตอบไปพร้อมๆ กันนะคะ
3
โควิดกินสมองจนเป็นอัลไซเมอร์ได้ไหม? เราจะรู้ได้อย่างไร?
การได้เห็นภาพ 'เพียงภาพเดียว' ก็อาจแทนคำพูดได้เป็นพันๆ คำ หากแต่การที่เราได้เห็นภาพหลายร้อยหลายพันภาพนั้น ก็ยิ่งเน้นย้ำ เป็นเหมือนแผนที่นำทางเราให้ไปถึงจุดหมายได้อย่างชัดเจนมากขึ้น จริงไหมคะ?
5
ภาพสแกนสมองบอกอะไรบางอย่างกับเรา
งานวิจัยเรื่อง Brain imaging before and after COVID-19 in UK Biobank จาก ธนาคารชีวภาพ ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยที่รวบรวมข้อมูลระยะยาวทางพันธุกรรมและสุขภาพในเชิงลึกในสหราชอาณาจักร นำข้อมูลภาพถ่ายสมองของผู้เข้าร่วมกว่า 40,000 - 50,000 คน ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19
5
จากนั้นจะคัดให้เหลือ 782 คน โดยพบว่าประชาชน 394 คน ติดเชื้อโควิด และมีการนำข้อมูลนั้นมาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของสมองทั้งก่อนและหลังการติดเชื้อ กับกลุ่มควบคุม ที่มีอายุ เพศ เชื้อชาติ และปัจจัยด้านการย่อยและดูดซึมอาหารที่คล้ายกันด้วย
7
นึกภาพตามง่ายๆ นะคะ คือ งานวิจัยนี้ทำการเปรียบเทียบระหว่างภาพถ่ายสมองของผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 394 คน ทั้งในระหว่างที่ติดเชื้ออยู่ และหายจากการติดเชื้อแล้ว กับภาพถ่ายทางสมองของคนทั่วไป ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพเหมือนพวกเขาเป๊ะๆ หรือใกล้เคียงกันสุดๆ นั่นเองค่ะ
3
โดยผลการเปรียบเทียบ พบว่า เนื้อสมองสีเทา (Grey matter) หรือ เรียกสั้นๆ ว่า “เนื้อเทา” ของผู้ป่วยโควิด มีขนาดลดลง โดยเนื้อเทานี้ เป็นส่วนสำคัญของเยื่อหุ้มสมอง ซึ่งเต็มไปด้วยเซลล์ประสาท และหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก
2
หากถามว่า ‘สำคัญแค่ไหน’ ให้คุณลองคิดว่า ถ้าเราได้รับก๊าซออกซิเจนเข้าร่ายกาย 100% ออกซิเจน 20% จะถูกส่งไปเลี้ยงสมอง และ 95% ของออกซิเจนส่วนนั้น จะถูกส่งไปยังเนื้อเทาค่ะ
1
เพราะเนื้อเทานั้น ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ และ การให้ความรู้สึกต่างๆ เช่น การรับรู้ความรู้สึกจากประสาทสัมผัส ความนึกคิด การจำ การมองเห็น การได้ยิน หรือแม้กระทั่งการพูดค่ะ นอกจากนี้ยังพบ การเกิดการอักเสบ และความเสียหายของเนื้อเยื่อสมองมากขึ้นด้วยค่ะ
3
จากงานวิจัยชิ้นนี้ ทำให้เราอาจตีความได้ว่า การติดเชื้อโควิดนั้น ทำให้ขนาดและความหนาแน่นของสมองลดลงได้ค่ะ ไวรัสสามารถไปทำลายสมองส่วนต่างๆ แม้ในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงหรือ 'ไม่แสดงอาการ' ก็ตาม
3
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้รส และดมกลิ่น ความจำ การประมวลความรู้สึก การเข้าใจภาษา การควบคุมความคิดที่ซับซ้อน รวมถึงการควบคุมพฤติกรรมของตัวเราเองด้วย และหากทิ้งระยะเวลานานขึ้น ผลกระทบดังกล่าวอาจนำไปสู่โรคทางสมอง เช่น ภาวะสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ ต่อไปได้
และจากการชันสูตรผู้เสียชีวิตจากโควิด พบว่า สมองและระบบประสาทมีความเสียหายอย่างรุนแรง หากคุณเคยรู้ว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (H1N1) สามารถเจาะทะลุผนังหลอดเลือดในสมอง และทำให้เกิดอาการแสดงคล้ายกับโรคพาร์กินสันได้แล้ว เชื้อโควิดนี้ดูเลวร้ายมากกว่าหลายเท่าทีเดียว
3
งานวิจัยดังกล่าว อาจเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญนะคะ ที่พบว่า สมองส่วนการรับรู้รส และดมกลิ่น เป็นด่านหน้าสุดที่ต้องเจอกับไวรัส ทำให้ระหว่างการติดเชื้อ จะเป็นบริเวณที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะเป็นจุดที่ไวรัสเข้าโจมตีสมอง ทั้งระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนของสมองด้านซ้าย ไม่ว่าจะเป็น รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส (Left parahippocampal gyrus) หรือสมองใหญ่ส่วนใน (Left insula) รวมถึงบริเวณเยื่อหุ้มสมองที่เชื่อมต่อจากระบบการรับรู้รส และดมกลิ่นด้วยค่ะ
4
วิธีป้องกันและรักษาอาการทางสมองจากโควิด หรือแม้แต่จากภาวะ “โควิดเรื้อรัง” ที่ดีที่สุด ทำได้อย่างไร?
3
คำตอบก็คือ การป้องกันให้ “ไม่ติดโควิด” นั่นเองค่ะ
6
ตอนนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วนะคะว่า เชื้อไวรัสโควิด สายพันธุ์เดลต้านั้น “แพร่ทางอากาศ” ได้ การใช้ชีวิตดูแลป้องกันตัวเองและคนที่คุณรัก ด้วยมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อทางอากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งค่ะ
1
มาตรการที่ว่านั้น ทำได้อย่างไรบ้าง? เมื่อคนไทยทุกคนยังไม่ได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ วิธีดังต่อไปนี้ จะเป็นวิธีอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้ เราร่วมกัน ฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปได้ค่ะ
เริ่มจาก การสวมหน้ากากอนามัย N95 หรือหน้ากากที่มีคุณภาพใกล้เคียง ใส่ให้มิดชิดและถูกวิธีด้วยนะคะ การรักษาระยะห่างและรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล นอกจากนี้ควรมีการตรวจคัดกรองการติดเชื้อโควิดทุกวันด้วยชุดตรวจแอนติเจน (Rapid Antigen Test) ค่ะ รวมถึงการตรวจวัดการถ่ายเทอากาศในอาคารหรือยานพาหนะเป็นประจำ ด้วยเครื่องวัดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพื่อดูคุณภาพอากาศบริเวณนั้นๆ ด้วยนะคะ
1
ในส่วนของการดูแลสมอง ต่อจากนี้ไป ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ติดเชื้อแล้วหรือไม่ มีการวิจัยค้นพบว่า “สมอง” มนุษย์มีความสามารถยืดหยุ่นได้ (Neuroplasticity) หมายถึง สมองสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อซ่อมแซมตัวเองค่ะ ด้วยการดูแลสภาพสมอง และจิตใจอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
สมองที่เจ็บป่วยก็สามารถฟื้นฟูได้นะคะ แต่ก็ขึ้นอยู่กับอาการของคนแต่ละคนด้วยเช่นกันค่ะ แม้ในบางรายจะยากหรือยากมาก แต่พวกเราอย่าเพิ่งสิ้นหวังนะคะ เพราะการดูแลสุขภาพทั้งทางสมอง และจิตใจอย่างเหมาะสม คือหนทางในการเยียวยารักษาที่ดีที่สุดต่อไปค่ะ
ZERO COVID THAILAND ขอร่วมเป็นกำลังใจ และส่งความปรารถนาดีให้ทุกๆ คนนะคะ ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร หรืออยู่ที่ไหน จะติดเชื้อ หรือยังไม่ติดก็ตาม ขอให้ทุกคนร่วมมือกันดูแลตัวเอง และรวมพลังลดยอดติดเชื้อให้เหลือ “0”
2
เพื่อที่เราจะได้หยุดยั้งความเจ็บป่วยเหล่านี้ แล้วนำชีวิต ความสุข และอิสระคืนสู่สังคมและครอบครัวของเรากันค่ะ
╔═══════════╗
ZERO COVID THAILAND เพจสำหรับแชร์ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อช่วยยุติการแพร่กระจายของโควิด-19ในไทย
╚═══════════╝
1
เพื่อรับแนวทางป้องกันโควิด-19 อย่างทันท่วงที งานวิจัย และ ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์แบบเข้มข้น ติดตามเราได้ที่
1
อ้างอิง
Brain imaging before and after COVID-19 in UK Biobank
Neuroscientists Report That Coronavirus Is Changing Our Brains Even If We Haven’t Contracted It: 7 Steps You Can Take
'COVID Brain' and the New Frontiers of Neuroplasticity
The Science Behind How the Coronavirus Affects the Brain | WSJ Wall Street Journal
Covid survivors may face life-long brain injuries - BBC News
2-Minute Neuroscience: Prefrontal Cortex Neuroscientifically Challenged
โฆษณา