8 ส.ค. 2021 เวลา 04:52 • ประวัติศาสตร์
บันทึกตำนาน
ประวัติพระครูสิริพุฒาจารย์ (หลวงปู่ห่วง วัดท่าใน)
 
"พระครูสิริวุฒาจารย์" หรือ "หลวงพ่อห่วง สุวัณโณ"
วัดท่าใน จ.นครปฐม พระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองนครปฐม
ที่แม้กระทั่ง "หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม"
ยังให้ความเคารพนับถืออย่างมาก
และท่านมักจะเรียกขานว่า "หลวงพี่" มาโดยตลอด
หลวงพ่อห่วง ท่านเป็นชาวนครปฐมโดยกำเนิด
เกิดที่ อ.สาม พราน เมื่อวันเสาร์ที่ 19 กย. พศ.2428
เมื่อท่านอายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท
ณ พัทธสีมาวัดทรงคนอง จ.นครปฐม
หลวงพ่อรุ่ง วัดทรงคนองเป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงพ่อมี วัดทรงคนองเป็นพระกรรมวาจาจารย์
หลวงพ่อแจ่ม วัดทรงคนอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายา "สุวัณโณ"
ท่านเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ ถือสมถะ รักสันโดษ
และใฝ่ใจศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนาธุระ
จนแตกฉาน เมื่อถึงช่วงออกพรรษาท่านมักจะ
ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ แสวงหาที่สงบ
เพื่อปลีกวิเวก ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ท่านเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อหรุ่น
วัดช้างเผือก อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
พระอาจารย์รุกขมูลชื่อดัง
ครั้งหนึ่งท่านสามารถนำพระธุดงค์หลายสิบรูป
ข้ามแม่น้ำลำคลองได้โดยไม่ต้องใช้เรือ-แพ
เพียงใช้สายสิญจน์จูงเดินนำหน้า แล้วให้พระธุดงค์
เดินตามโดยจับสายสิญจน์เส้นเดียวกับท่าน
จนเป็นที่กล่าวขวัญไปทั่ว
คำบอกเล่าจากพระมหาไพบูลย์ เล่าให้ฟังช่วงที่
ท่านก่อนจะมาเป็นเจ้าอธิการวัดท่าใน
หลวงพ่อหรุ่นช่วงที่พระมาเรียนและธุดงค์กับท่าน
ในช่วง1-2พรรษาแรกท่านจะนำให้พอหลังจาก
นั้นลูกศิษย์ที่เรียนกับท่านต้องออกธุดงค์เพียง
ลำพังหรือจะไปกัน1-2รูปโดยที่หลวงพ่อหรุ่น
จะไม่นำทางให้แต่ลูกศิษย์ของท่านก็จะเดินธุดงค์
ตามเส้นทางที่เคยเดินแต่ด้วยอภิญญาณของท่าน
จะทำให้ทราบได้ว่าลูกศิษย์ของท่านมีภัยหรือไหม
และถ้ามีเหตุเภทภัยท่านก็จะกำหนดจิตเพื่อช่วย
เหลือศิษย์ของท่านตลอดเส้นทางในการธุดงค์
หลวงพ่อห่วงก็เช่นกันหลังจากพรรษาที่ 3
ท่านก็เดินธุดงค์เพียงลำพังเพื่อแสวงหาสงบ
จนมาในพรรษาที่ 6 ท่านเดินธุดงค์โดยมีจุด
มุ่งหมายที่จะไปนมัสการพระแท่นดงรัง ที่
อำเภอท่ามะกา จ.กาญจนบุรี
หมายเหตุ: การออกธุดงค์นั้นเป็นกิจของ
สมณะที่แสวงหาความสุขสงบ โดยมีจุดมุ่ง
หมายเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาตามสถานที่
ต่างๆ ซึ่งแต่ละรูปก็จะมีจุดหมายไม่เหมือนกัน
และเหตุที่ท่านผ่านมาในเส้นทางนี้เนื่องจาก
ท่านได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของพี่สาวท่าน
ที่อยู่ที่ สามพราณ ท่านจึงมีความเป็นห่วง
โยมบิดา มารดา จึงผ่านยังเส้นทางสายนี้
โดยเป็นการเดินทางในขากลับจากที่ท่านได้
ไปนมัสการพระแท่นดงรัง ซึ่งเป็นเส้นทางที่
จะผ่านไปสามพราณจนมาปักกลดที่บริเวณ
ป่ากระจงระแวกใกล้วัดท่าใน
(ปัจจุบันอยู่บริเวณ อบต.ท่าพระยา)
โดยปรกติแล้วพระธุดงค์ท่านจะไม่เข้า
ไปพักที่วัดไม่ว่าวัดนั้นจะร้างหรือไม่ก็
ตามนอกจากจะมีชาวบ้านนิมนต์ให้ท่าน
เข้าไปพักซึ่งเป็นธรรมเนียมปฎิบัติของ
พระโบราณที่ครูบาอาจารย์สอนกันมา
และเหตุที่ท่านได้เข้าไปภายในวัดเพราะ
ชาวบ้านนิมนต์ท่านให้เข้ามาพักที่วัดท่าใน
และท่านก็ทราบว่าหลวงพ่อหรุ่นท่านมารอ
อยู่ที่วัดท่าในและท่านได้สอบถาม พูดคุย
กับหลวงพ่อห่วง ถึงการเดินทางมายังเส้น
ทางสายนี้ ก็ทำให้ทราบเรื่องราวการเสียชีวิต
ของพี่สาวหลวงพ่อห่วง หลวงพ่อหรุ่นท่านจึง
เห็นว่า จะให้หลวงพ่อห่วงเดินทางธุดงค์ก็คง
ไม่สะดวกนักเพราะหลังจากนี้ท่านต้องคอย
ดูแล โยมบิดา มารดาของท่าน ท่านจึงให้
หลวงพ่อห่วงท่านอยู่ที่วัดท่าใน เพราะจากวัด
ท่าในไปสามพราณไม่ไกลกันนัก
หลวงปู่ห่วงท่านจึงรับปากหลวงปู่หรุ่นด้วยเป็น
คำสั่งอาจารย์ ท่านจึงรับหน้าที่ดูแลวัดท่าใน
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ซึ่งขณะนั้นวัดมีชำรุดทรุดโทรมมาก ประกอบ
กับเป็นที่เพิ่งสอนธรรมแกชาวบ้านในระแวก
วัดท่าในท่านจึงเป็นกำลังสำคัญในการบูรณ
ปฏิสังขรณ์วัด และเป็นที่นับถือของชาวบ้าน
นอกเหนือจากพัฒนาและบำรุงเสนาสนะต่างๆ
ภายในวัดให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับแล้ว
ท่านยังคงปฏิบัติกิจสงฆ์อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
สั่งสอนธรรมะ แนะนำช่วยเหลือผู้เดือดร้อน
จนเป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านและพื้นที่
ใกล้เคียง เมื่อท่านเอ่ยปากว่าจะบูรณะวัดท่าใน
เมื่อใด ญาติโยมก็จะให้ความร่วมมือช่วยเหลือ
ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ จนวัดแปรสภาพ
เป็นวัดที่เจริญรุ่งเรือง ทั้งโบสถ์ วิหาร
ศาลาการเปรียญ และเสนาสนะต่างๆ
ปีพ.ศ.2475 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าใน
ปีพ.ศ.2481 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลท่าพระยา
ปีพ.ศ.2490 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์
ปีพ.ศ.2499 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น
พระครูสัญญาบัตรที่พระครูสิริวุฒาจารย์
ทั้งนี้ หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน, หลวงพ่อเงิน
และหลวงพ่อเต๋ คังคสุวัณโณ วัดสามง่าม
ทั้งสามท่าน ในสมัยก่อนเคยออกธุดงค์ด้วยกันเสมอ
จึงสนิทสนมกันดี
มีเรื่องเล่ากันว่า ชาวบ้านในเขต ต.ท่าพญา นครชัยศรี
เดินทางไปขอวัตถุมงคลกับหลวงพ่อเงิน แต่หลวงพ่อเงิน
มักกล่าวกับผู้ที่เดินทางไปขอวัตถุมงคลกับท่านเสมอว่า
 
"คุณเลยของดีมาเสียแล้ว หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน
นั่นแหละของดีของจริง ไปเอาที่นั่นเถอะโยม"
หลวงพ่อห่วงมรณภาพในปี พ.ศ.2506 สิริอายุ
รวม 75ปี พรรษาที่ 56 ท่านได้รับการพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 23 ก.พ.2507
เครดิตข้อมูล
พระมหาไพบูลย์ วิปุโล (วัดท่าใน จ.นครปฐม)
คุณบอยจร้า นครชัยศรี
กลุ่มอนุรักษ์พระเครื่องพระครูสิริวุฒาจารย์
หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน
โฆษณา