8 ส.ค. 2021 เวลา 14:39 • สุขภาพ
นักวิจัยไทยขอถอนงานวิจัยฟ้าทะลายโจรกลับมาเป็นการชั่วคราว เนื่องจากพบข้อผิดพลาดเรื่องตัวเลขเล็กน้อย และจะเสนอกลับเข้าไปใหม่
1
จากกรณีที่ยังไม่มียาตัวใดเลย ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการว่า สามารถฆ่าไวรัสโคโรนา หรือรักษาโรคโควิด-19 ได้โดยตรง
จึงมีการทดลองและเก็บข้อมูลการใช้ยาชนิดต่างๆ ที่คาดว่าจะใช้รักษาโควิดได้ อาทิเช่น ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) เรมเดสซิเวียร์
(Remdesivir) และสมุนไพรไทยฟ้าทะลายโจร
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ทดลองใช้สารสกัดจากฟ้าทะลายโจร ในผู้ป่วยโควิดที่มีอาการเล็กน้อย
และมีแนวโน้มที่ได้ผลดี โดยเฉพาะลดการพัฒนาของโรคไม่ให้เดินหน้ารุนแรงขึ้นจนมีปอดอักเสบ
โดยทั่วไป การใช้สมุนไพรไทย จะมีงานวิจัยที่รองรับอย่างเป็นมาตรฐานและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติค่อนข้างน้อย
แต่ในครั้งนี้ ทีมนักวิจัยจากกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการทดลองการใช้สารสกัดฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโควิด
และเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ จนสามารถสรุปงานวิจัยเบื้องต้น และส่งไปรอตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติต่อไป
แต่แล้ว ก็มีข่าวออกมาว่า ทีมนักวิจัยมีความจำเป็นที่จะต้องขอถอนงานวิจัยที่รอการตีพิมพ์ดังกล่าวกลับออกมาก่อน
เนื่องจากพบจุดผิดพลาด เรื่องสถิติตัวเลขหนึ่งจุด ส่วนเรื่องอื่นๆในงานวิจัยนี้ คงเป็นเหมือนเดิมทุกประการ
และหลังจากปรับปรุงแล้ว จะได้ส่งกลับเข้าไปใหม่ เพื่อรอการตีพิมพ์ต่อไป
ลองมาติดตามงานวิจัยเรื่องนี้กันดู
เป็นการทดลองแบบสุ่มโดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบ ( Randomized Controlled Trial: RCT ) ใช้สารสกัดฟ้าทะลายโจร (APE : Andrographis paniculata extract) ในผู้ป่วย
โควิดอาการเล็กน้อย อายุ 18-60 ปีโดยยืนยันการตรวจพบเชื้อไวรัสด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR
ทำการแบ่งกลุ่มอาสาสมัครเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ใช้สารสกัดฟ้าทะลายโจร (29 ราย) และไม่ใช้ยาฟ้าทะลายโจรหรือใช้ยาหลอก (28 ราย)
โดยขนาดที่ใช้สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรคือ 180 มิลลิกรัมต่อวัน จำนวน 5 วันต่อเนื่องกัน โดยรับประทานครั้งละ 60 มิลลิกรัม วันละ 3 เวลา
ทำการตรวจเอกซเรย์ปอด ตรวจเลือดในวันที่ 1,3,5 โดยดูผลสำคัญสามประการได้แก่
1) ปอดอักเสบ
2) เชื้อไวรัสในวันที่ห้า
3) ระดับการอักเสบ (CRP)
ผลการทดลองพบว่า
1) ปอดอักเสบ
ไม่พบอาการปอดอักเสบเลยในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดฟ้าทะลายโจร 29 ราย แต่พบในกลุ่มยาหลอก 3 รายจาก 28 ราย คิดเป็น 10.7%
เมื่อคำนวนทางสถิติแล้ว ยังไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p = 0.112) ตรงนี้คือจุดผิดพลาดในการรายงานครั้งแรก ว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.03)
2) ตรวจไวรัสคงอยู่ในวันที่ 5
กลุ่มที่ได้รับสารสกัดฟ้าทะลายโจรพบ 10 รายจาก 29 ราย (34.5%) ส่วนในกลุ่มยาหลอกพบไวรัส 16 รายจาก 28 (57.1%)
1
3) ผู้ที่มีปอดอักเสบ 3 รายในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก มีการอักเสบเพิ่มขึ้น
4) การใช้สารสกัดฟ้าทะลายโจรดังกล่าว ไม่มีผลข้างเคียงต่อตับ ไต และระบบเลือด
1
ผลการทดลองสรุปว่า การศึกษาแสดงให้เห็นถึงศักยภาพหรือแนวโน้ม ที่สารสกัดดังกล่าวจะมีประสิทธิผล แต่เนื่องจากจำนวนตัวอย่างยังมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอจะทำให้เกิดความแตกต่างทางสถิติ และจำเป็นจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป ( It has high potential of efficacy , but the sample size is too small to detect the statistical significance difference by p-value < 0.05 )
1
เรื่องราวของการถอนงานวิจัยออกมาครั้งนี้ พอจะสรุปได้ดังนี้
1) ทีมนักวิจัยของไทย เป็นผู้ตรวจพบความผิดพลาดของสถิติหนึ่งจุดดังกล่าว และขอถอนงานวิจัยออกมาเอง ไม่ได้ถูกปฏิเสธหรือถูกส่งคืนกลับมาจากวารสารการแพทย์
2) ผลการวิจัย เนื้อหาเกือบทั้งหมดยังคงเป็นไปตามรายงานฉบับแรกที่ถอนกลับมา
1
3) เมื่อได้ปรับปรุงตัวเลขดังกล่าวให้ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ก็จะส่งกลับไปตีพิมพ์ที่วารสารเดิมต่อไป
นั่นแปลว่า สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรของไทย ยังมีแนวโน้มที่ดี ที่จะได้ผลในการป้องกันผู้ติดโควิดไม่ให้เกิดปอดอักเสบ และสามารถใช้งานต่อไปได้
2
Reference
1
นักวิจัยในทีมงานวิจัยของกรมการแพทย์แผนไทยฯ กระทรวงสาธารณสุข
3
โฆษณา