9 ส.ค. 2021 เวลา 00:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
มารู้จัก VWAP เครื่องมือสำหรับสายเทรดสั้น ขยันซอย!
2
วันนี้แอดมาแนะนำ Indicator อีกตัวที่น่าสนใจ สำหรับสายเล่นสั้น นั่นก็คือ Value Weighted Average Price (VWAP) ซึ่งแอดเห็นชื่อ Indicator ตัวนี้ในกลุ่มไลน์ เลยสนใจและเพิ่งเคยใช้ มาลองดูกันว่ามันคืออะไร ทำอะไรได้บ้าง
🎯 VWAP คืออะไร?
Value Weighted Average Price (VWAP) คือ Indicator ที่แสดงราคาเฉลี่ย โดยใช้ราคาจริงของสินทรัพย์มาคำนวณกับปริมาณการซื้อขาย (Volume) ลักษณะคล้ายกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MA) เหมาะกับการใช้ในระยะสั้นๆ
1
VWAP เป็นจะเริ่มต้นใหม่เมื่อเปิดการซื้อขายใหม่ในแต่ละวัน การดู VWAP เฉลี่ยในช่วง 1วันขึ้นไป ค่าเฉลี่ยจะบิดเบี้ยว ดังนั้นมันจึงเหมาะกับการดูใน Time frame ระหว่างวัน
1
VWAP ต่างจาก MA ตรงที่ MA ไม่ได้คำนึงถึงปริมาณในการซื้อขาย แต่ VWAP ให้น้ำหนักที่ราคาในแต่ละวัน และปริมาณซื้อขายที่เกิดขึ้นในวันนั้นด้วย
1
💡 หากคุณยังไม่รู้จัก Indicator พื้นฐาน หรือต้องการหา Indicator อื่นๆ สามารถดูได้ที่นี่ 👇
1
🎯 มีอะไรบ้าง?
🟠 เส้น VWAP คือ ค่าเฉลี่ยราคาที่คิดร่วมกับปริมาณซื้อขาย โดยมาจากสูตรดังนี้
1. คำนวณราคาทั่วไป (Typical Price) ของช่วงเวลานั้น
สูตร: [ราคาสูงสุด + ราคาต่ำสุด + ราคาปิด) / 3]
1
2. นำ Typical Price คูณกับ Volume ของช่วงเวลานั้น ค่าที่ได้จะขอเรียกว่า “TPV”
สูตร: [Typical Price x Volume]
1
3. หาผลรวมสะสมของ TPV ในที่นี้ขอเรียกว่า “STPV”
สูตร: [ผลรวมของ TPV ก่อนหน้าทั้งหมดในข่วงของวันนั้น + TPV ปัจจุบันของวันนั้น]
3
4. หาผลรวมของ Volume ทั้งหมดในช่วงของวันนั้น ในที่นี้ขอเรียกว่า “SV”
สูตร: [ผลรวมของ Volume ก่อนหน้าทั้งหมดในข่วงของวันนั้น + Volume ปัจจุบันของวันนั้น]
5. สรุปค่า VWAP
VWAP = STPV / SV
🟠 เส้นขอบบน (Upper Band) และ เส้นขอบล่าง(Lower Band) คือเส้นที่แสดงความกว้างโดยอิงจากค่า VWAP เพื่อใช้กำหนดกรอบราคาซื้อขาย หรือแนวรับ-แนวต้านได้ ซึ่งเราสามารถกำหนดตัวเลขเพื่อให้ Indicator คำนวณกรอบราคาได้ แต่ไม่ควรกว้างเกินไป ค่าเริ่มต้นที่ให้มาคือ 1 จะคล้ายๆกับ Bollinger Bands
🎯 การนำไปใช้
สถาบันขนาดใหญ่และกองทุนรวมจะใช้ VWAP ในการซื้อขาย โดยจะพยายามซื้อต่ำกว่า VWAP หรือขายเมื่อสูงกว่านั้น ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ราคากลับมาอยู่ในค่าเฉลี่ยของ VWAP
🟠 ใช้ดูจุดซื้อขาย แนวรับ-แนวต้าน
สังเกตเมื่อราคาเกิดการทะลุ (Breakout) ที่เส้น VWAP
📈 หากก่อนหน้านี้ราคาอยู่ใต้เส้น VWAP แล้วเกิด Breakout ขึ้นที่ VWAP ก็อาจเป็นจุดซื้อที่น่าสนใจ
📉 หากก่อนหน้านี้ราคาอยู่เหนือเส้น VWAP แล้วเกิด Breakout ลงที่ VWAP ก็อาจเป็นจุดขายที่น่าสนใจ
นอกจากนี้เส้น VWAP, ขอบบน และขอบล่าง เป็นแนวรับ-แนวต้านเหมือน Indicator อื่นๆได้อีกด้วย
🟠 ใช้ร่วมกับ Indicator อื่นๆเพิ่มเติม
แน่นอนว่าเราสามารถนำไปซ้อนกับ Indicator อื่นๆ อย่าง Fibonacci เพื่อยืนยันแนวรับ-แนวต้าน หรือหาจุดที่มีนัยยะสำคัญที่ใกล้เคียงกันได้ ซึ่งอันนี้ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถ และความถนัดของแต่ละคน
คุณสามารถดูการปรับแต่ง Indicator นี้เพิ่มเติมได้ที่ 👇
1
⚠️ การใช้ Indicator ใดๆนั้น ไม่ได้มีความแม่นยำ 100% ดังนั้นจงใช้อย่างมีสติ และวางแผนทุกครั้ง
โฆษณา