9 ส.ค. 2021 เวลา 14:10 • ประวัติศาสตร์
คุณเคยเชื่ออะไรอย่างบ้าคลั่งไหมครับ
เชื่อจนไม่คิดว่าเฮ้ยเราเป็นอะไรไปนั่น หรือ
เชื่อจนลืมเป็นตัวของตัวเองไหมครับ
.
.
หากคุณมีความเชื่ออย่างนี้ก็ไม่ผิดอะไรหรอกครับ
.
.
ผมจะพาคุณไปสู่ยุคหนึ่งของยุโรป
(พอพูดยุโรปเชื่อว่าน่าจะเดาออกแล้วว่าผมจะเล่าถึงยุคสมัยไหนกันแล้วใช่ไหมครับ)
ยุคกลาง หรือเรียกอีกชื่อว่า ยุคมืด (Dark Age)
ยุคกลางของยุโรป ว่ากันว่าเป็นยุคที่มืดสนิทเลยก็ว่าได้ หากถามคำถามนี้กับเด็ก ๆ
เด็กน้อยก็จะตอบทันทีเลยว่า “เขาปิดไฟหรอครับ/คะ”
ซึ่งก็เป็นคำตอบแบบเด็ก ๆ นะครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เชื่ออะไรแบบหลงไหลไปกับมัน คุณลองมาทำความรู้จักและเข้าใจกับยุคนี้ดูครับ แล้วคุณจะรู้ว่ายุโรปเขาผ่านยุคนี้มาได้ยังไงกัน
เกริ่นมาเยอะแล้วครับ เริ่มเข้าสาระเลยแล้วกัน
ทำไมถึงได้ชื่อว่ายุคมืดของยุโรป นั่นเป็นเพราะว่าความเชื่อที่ไม่เหตุผลไงล่ะครับ ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้
ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในปี ค.ศ. 476 ยุโรปได้ก้าวเข้าสู่ยุคที่คนไม่รู้หนังสือเป็นคนส่วนใหญ่ การเข้ามาของพวกอนารยชนกลุ่มนี้ได้ทำให้ความเจริญก้าวหน้าของอารยธรรมคลาสสิค หรือ อารยธรรมกรีก-โรมัน ได้หยุดชงักลงด้วย
พวกอนารยชนเยอรมันกลุ่มนี้อพยพมาจากทางตอนเหนือของยุโรป ได้แก่ กลุ่มเยอรมันตะวันตก กลุ่มเยอรมันตะวันออก(กอธ) วิสิกอธ และออสโตรกอส กลุ่มอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากกลุ่มเยอรมัน เช่น กลุ่มลอมบาร์ด กลุ่มแวนเดิล กลุ่มแฟรงค์ กลุ่มแองเกิลส์และแซกซัน กลุ่มเบอร์กันดี และก็ยังมีกลุ่มที่มาจากเอเชีย เช่น กลุ่มฮั่น เป็นต้น
กลุ่มอนารยชนเหล่านี้เกี่ยวข้องอะไรกับคำว่ายุคมืดของยุโรป เป็นเพราะว่า คนส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ มีแต่ทักษะอย่างอื่น และมีศาสนาคริสต์ที่เป็นศูนย์รวม เป็นที่พึ่งให้กับประชาชน ซึ่งในยุคนี้ ศาสนาคริสต์มีอิทธิพลและบทบาทสำคัญมาก
การปกครองในยุคนี้เริ่มมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะมากขึ้น มีการปกครองที่เรียกกันว่า ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ ระบบนี้จะมีคน 2 กลุ่ม คือ เจ้า กับ ข้า คุณอ่านไม่ผิดหรอกครับ เพราะระบบศักดินาสวามิภักดิ์นั้นมีเจ้า(Lord)เป็นผู้ปกครองหรือเป็นเจ้าของที่ดินที่เรียกว่า แมนเนอร์ และข้า(Vassals)เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดินนั่นเอง ที่ดินจึงเป็นตัวกลางของความสัมพันธ์ระหว่างเจ้ากับข้า…ครับ
ภายใต้การปกครองของกลุ่มอนารยชน
+ ยุโรปเกิดการแตกแยกออกเป็นแคว้นต่าง ๆ เช่น อาณาจักรแฟรงค์ อาณาจักรเมโรแวงเจียน อาณาจักรคาโรแลงเจียน เป็นต้น
+ มีวิถีชีวิตตามชนบท
+ ชื่นชอบการทำสงคราม
+ ไม่สนใจทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
+ เชื่อมั่นในสิ่งศักดิ์สิทธิ์
+ ไม่เชื่อในกฎหมายและเหตุผล
+ เศรษฐกิจแย่
จะเห็นได้ว่ายุโรปเริ่มจะหันมาเชื่อในศาสนาคริสต์อย่าจริงจังและงมงายเมื่อกษัตริย์ต้องการอำนาจทางการเมืองจึงต้องได้รับการสนับสนุนจากทางศาสนาคริสต์ เช่นในสมัยของเปแปงที่ 3 แห่งราชวงศ์คาโรแลงเจียน ที่ได้นำอาณาจักรที่ตนยึดได้ไปถวายแก่สันตะปาปา และในสมัยของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ สันตะปาปาลีโอที่ 3 ทรงสวมมงกุฎให้ และได้ประกาศให้เป็นจักรพรรดิของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ศาสนาคริสต์เข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น
เมื่อจักรวรรดิแฟรงค์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน และการแบ่งดินแดนในครั้งนี้เป็นจุดกำเนิดของประเทศเยอรมันนีกับประเทศฝรั่งเศส ส่วนดินแดนที่กล่ยเป็นปัญหาคือแคว้นลอร์เรนในอิตาลี
ภายหลังจากที่ดินแดนถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามสนธิสัญญาแวร์ดัง ยุโรปก็ถูกรุกรานอีกครั้งจากกลุ่มแมกยาร์ กลุ่มมอสเล็ม กลุ่มนอร์ทเมน การรุกรานในครั้งนี้ก่อให้เกิดระบบการเมืองรูปแบบใหม่คือ ระบบฟิวดัล หรือ ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ และได้เริ่มแพร่หลายกันอย่างรวดเร็วเนื่องจากกษัตริย์ไม่สามารถดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนได้ จึงต้องให้ขุนนางมาช่วยดูแล
คำว่า ฟิวดัล (Feudal) มาจากคำว่า Feuda/Fiefs หมายถึง ที่ดินซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้ากับข้า
เจ้าของที่ดิน อาจเป็นกษัตริย์หรือขุนนางก็ได้ เรียกว่า เจ้า (Lord)
ผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน เรียกว่า ข้า หรือ วัสเซ้า (Vassals)
เกิดเป็นระบบชุมชนขึ้น เรียกว่า ระบบแมนเนอร์ (Mannor)ซึ่งประกอบด้วย ปราสาท เป็นศูนย์กลางของแมนเนอร์แต่ละแมนเนอร์ วัด บ้าน สถานที่เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ โรงตีเหล็ก เป็นต้น
กลับมาที่การมีอิทธิพลของศาสนาคริสต์ ในระบบฟิวดัลทำให้นักบวชหากินกับที่ดินของวัดทำให้พระกลายเป็นเจ้า(Lord) ในยุคนี้จะมีนักบวชเพิ่มมากขึ้นเพราะว่าระบบฟิวดัลจะให้บุตรชายคนโตได้รับมรดก ส่วนลูกชายคนอื่น ๆ จึงไปบวช การทำสงครามแย่งที่ดินในพวกขุนนางด้วยกันจะมีให้เห็นเป็นประจำ ส่วนคนที่ได้รับความเดือดร้อนคือประชาชน เป็นเหตุให้สันตะปาปาประกาศให้มีการพักรบชั่วคราว
Peace of God การประกาศสันติสุขแห่งพระผู้เป็นเจ้า เช่นในโบสถ์ หรือสำนักชี หรือคำประกาศการพักรบเพื่อพระผู้เป็นเจ้า (Truce of God) เป็นการห้ามทำสงครามตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดินวันพุธถึงพระอาทิตย์ขึ้นเช้าวันจันทร์ นอกจากนี้ยังมีการลงโทษทางศาสนาด้วยหากมีคนฝ่าฝืนคำสั่ง เช่นการขับไล่ออกนอกศาสนา ห้ามคนคบหา หรือเรียกว่า พวกนอกรีต การประกาศว่าเป็นดินแดนนอกศาสนา ห้ามทำพิธีกรรมทางศาสนา
ในยุคกลางอิทธิพลของศาสนาคริสต์ยังไม่หมดครับ เพราะในยุคนี้ถือว่าเป็นยุคทองของศาสนาคริสต์เลยก็ว่าได้ที่จะสั่งให้ใครทำอะไรก็ได้
- ประชาชนต้องเสียภาษีให้กับวัด
- วัดไม่ต้องเสียภาษีให้กษัตริย์ แต่เสียภาษีให้กับสันตะปาปาแทน
- ศาสนจักรสามารถลงโทษผู้ที่ไม่เชื่อฟังได้
- ศาสนจักรสามารถยับยั้งการทำสงครามได้
- สันตะปาปาต้องเป็นผู้สวมมงกุฎให้จักรพรรดิ
นี่คือความยิ่งใหญ่ของศาสนาคริสต์ที่มีเหนือสถาบันกษัตริย์ในยุโรป ในระยะต่อมาก็เกิดความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับสันตะปาปา ในเรื่องการแต่งตั้งพระชั้นหัวหน้าในดินแดนของตนเอง
เมื่อยุโรปอยู่ในยุคที่ศาสนจักรมีอำนาจเหนืออาณาจักร จึงก่อให้เกิดความขัดแย้งจนำไปสู่ความเสื่อมของยุค ยุโรปเริ่มต้นยุคใหม่ คือ ยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงในคริสตว่าศตวรรษที่ 15 เป็นยุคที่ประชาชนให้ความสนใจกับโลกภายหน้าน้อยลงและหันมาสนใจความเป็นปัจเจกชน คือเน้นความเป็นอิสระ ยึดมั่นในเสรีภาพ มีความเชื่อมั่นในตนเอง
ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านบทความ
โฆษณา