9 ส.ค. 2021 เวลา 09:03 • สุขภาพ
สรุป Covid-19 แบบง่ายๆ
📌ระบาดเมื่อไหร่
ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 เกิดที่ประเทศจีน
เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย เมื่อเดือน ธ.ค. 2562
📌ระบาดที่ไหน
มีข้อมูลว่า การระบาดครั้งแรกเกิดขึ้นที่ตลาดค้าสัตว์ป่าเมืองอู่ฮั่นหรือตลาดขายอาหารทะเลสด South China Seaboard เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากนั้นการแพร่ระบาดกระจายไปในหลายพื้นที่ และ กระจายไปทั่วโลก
📌ไวรัสโคโรน่ามีกี่สายพันธุ์
7สายพันธุ์
ไวรัสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์
ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ และได้มี สายพันธุ์ที่ 7 เกิดขึ้นมา มีชื่อว่าCovid-19
📌อาการ
อาการทั่วไปมีดังนี้
-มีไข้
-ไอแห้ง
-อ่อนเพลีย
อาการที่พบไม่บ่อยนักมีดังนี้
-ปวดเมื่อยเนื้อตัว
-เจ็บคอ
-ท้องเสีย
-ตาแดง
-ปวดศีรษะ
-สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส
-มีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
อาการรุนแรงมีดังนี้
-หายใจลำบากหรือหายใจถี่
-เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก
-สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว
📌การรักษา
สำหรับกรณีที่ไม่รุนแรง
-โทรหาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหรือสายด่วนโควิด-19 เพื่อหาสถานที่และเวลาเพื่อรับการตรวจ
-ให้ความร่วมมือตามขั้นตอนการติดตามผู้สัมผัสเพื่อหยุดการแพร่กระจายของไวรัส
-หากยังไม่ทราบผลตรวจหรือทราบแล้วให้อยู่บ้านกักตัวและอยู่ห่างจากผู้อื่นเป็นเวลา 14 วัน
-ขณะที่กักตัว อย่าออกไปไหนขอให้ผู้อื่นนำของอุปโภคบริโภคมาให้
-รักษาระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร
-สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น รวมถึงในกรณีที่คุณต้องเข้ารับการรักษา
-ล้างมือบ่อยๆ
-จัดให้ห้องมีอากาศถ่ายเทสะดวก
-สังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 14 วัน
โทรหาแพทย์ทันทีหากพบสัญญาณต่อไปนี้ ได้แก่
1หายใจลำบาก
2สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว
3แน่นหน้าอกหรือมีภาวะสับสน
สำหรับกรณีที่รุนแรง
แพทย์จะใช้วิธีการรักษาแบบประคับประคองที่ดีที่สุด ได้แก่ -การให้ออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง รวมถึงการดูแลระบบทางเดินหายใจขั้นสูงอื่นๆ เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤต
-ใช้เดกซาเมทาโซนเป็นคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ช่วยลดระยะเวลาใช้เครื่องช่วยหายใจ และช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรืออยู่ในภาวะวิกฤตได้
📌ยาที่ควรมีช่วงนี้
1. ยาประจำตัว สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว
2. ยาพาราเซตามอล
3. ยาฟ้าทะลายโจร
4. ยาแก้ไอแบบเม็ด Dextromethorphan
5. ยาลดน้ำมูก Chlorpheniramine หรือ CPM
6. ยาแก้แพ้ Fexofenadine
7. ผงเกลือแร่ ORS (Oral Rehydration Salts)
8. ยาสามัญประจำบ้านอื่น ๆ
📌การแพร่กระจาย
แพร่จากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองจาก จมูกหรือปากจะขับออกมาเมื่อผู้ป่วย ไอหรือจาม และเรารับเชื้อได้จากการ หายใจเอาฝอยละอองเข้าไปจากผู้ป่วย หรือจากการเอามือไปจับพื้นผิวท่ีมี ฝอยละอองเหล่านั้น แล้วมาจับตามใบหน้า
ระยะเวลานับจากการติดเชื้อและการแสดงอาการ มีตั้งแต่ 1-14 วัน
📌การตรวจหาเชื้อ COVID-19
1) Real-time PCR (Real Time Polymerase Chain Reaction) หรือเรียกสั้นๆ ว่า RT-PCR คือการตรวจหาเชื้อไวรัสโดยดูจากสารพันธุกรรม RNA ของไวรัสเป็นวิธีมาตรฐานสากล (Gold Standard) ใช้ตรวจตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยตรง เหมาะสำหรับการวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น และใช้ติดตามผลการรักษาได้วิธีตรวจคือ การใช้คอตตอนบัดสำหรับทำการ swab สอดเข้าทางโพรงจมูกหรือลำคอ ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วินาที เพื่อเก็บสารคัดหลั่งมาตรวจหาเชื้อไวรัส (Nasopharyngeal swab PCR)
2) Rapid Antigen Test จะมีขั้นตอนคล้ายกับวิธี RT-PCR คือการ Swab โพรงจมูกหรือลำคอ แต่วิธีนี้จะเป็นเพียงหยดด้วยน้ำยาเพื่อตรวจหาเชื้อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น ข้อดีคือใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็วทราบผลได้ภายใน 15 – 30 นาที ข้อเสียคือการตรวจวิธีนี้ไม่สามารถตรวจหาเชื้อโรคโควิดที่มีปริมาณน้อยได้ ผลตรวจไม่แน่นอน
📌การป้องกัน
1 .ใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ อย่างน้อย 30 วินาที หากไม่สะดวกควรใช้แอลกอฮอล์เจลหรือสเปรย์
2. พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8-9 ช.ม.ต่อวัน และเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม เพื่อเสริมภูมิต้านทาน
3. ทานอาหารปรุงสุก สะอาด และใช้ช้อนกลางทุกครั้ง
4. ทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผัก ผลไม้หลากสี รวมถึงอาหารเสริม
5. เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง, แออัด และมีคนจำนวนมาก
6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
7. ลดความเครียด เพราะความเครียดทำให้การทำงานของภูมิคุ้มกัน (NK Cell Activity) ลดลง
8. ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อตรวจการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (NK Cell Activity) ว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่
ก็จบลงแต่เพียงเท่านี้ครับ สำหรับบทความน่าอาจจัเป็นเรื่องวัคซีนหรือเรื่องอื่นๆก็รอติดตามได้ครับ
โฆษณา