10 ส.ค. 2021 เวลา 11:16 • สุขภาพ
แนวโน้มโควิด-19 ของไทย มีโอกาสติดเชื้อครบ 1 ล้านราย และเสียชีวิตครบ 1 หมื่นราย ภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้
9
จากสถานการณ์โควิดระบาดในประเทศไทย ต่อเนื่องกันมาสามระลอกนั้น
จะพบว่าระลอกที่หนึ่ง
ติดเชื้อ 4000 ราย
เสียชีวิต 60 ราย
เป็นไวรัสสายพันธุ์หลักเดิม
ระลอกที่สอง
ติดเชื้อ 24,000 ราย
เสียชีวิต 34 ราย
เป็นไวรัสสายพันธุ์หลักเดิมเช่นกัน
3
ระลอกที่สาม ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ 1 เมษายน 2564 เป็นไวรัสสายพันธุ์อัลฟ่าและตามด้วยไวรัสสายพันธุ์เดลต้าซึ่งแพร่ระบาดได้รวดเร็ว
วันที่ 10 สิงหาคม 2564
มีผู้ติดเชื้อสะสมระลอกที่สาม 767,088 ราย
เสียชีวิตสะสมระลอกที่สาม 6494 ราย
3
ถ้าคิดเป็นจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมดคือ 795,951 ราย ขาดอีก 204,049 ราย ก็จะครบ 1 ล้านราย
1
เมื่อนำวันที่เหลือก่อนจะถึงสิ้นเดือนนี้ 21 วัน ไปหาค่าเฉลี่ย ก็พบว่าถ้ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นวันละ 9716 ราย จะทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมเกินกว่า 1 ล้านราย
1
ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิต
สะสมระลอกสาม 6494 ราย
สะสมทั้งหมด 6588 ราย
ขาดอีก 3412 รายก็จะครบ 1 หมื่นราย
หรือเพิ่มอีกวันละ 162 ราย
สรุปว่า ไวรัสสายพันธุ์เดลต้ามีความสามารถในการแพร่ระบาดกว้างขวางและรวดเร็วมาก มากกว่าไวรัสสายพันธุ์อัลฟ่า 60%
และมากกว่าสายพันธุ์เดิมกว่าเท่าตัว
จึงทำให้การติดเชื้อทั่วโลก มีอัตราเร่ง และอัตราผู้เสียชีวิตสูงเป็นเงาตามตัว
สำหรับประเทศไทยของเรา ถ้ามีผู้ติดเชื้อเกินกว่าวันละ 9716 ราย ต่อเนื่องกันไปถึงสิ้นเดือนนี้ ผู้ติดเชื้อสะสมจะเกิน 1 ล้านราย
และจำนวนผู้เสียชีวิต ถ้าเพิ่มเกินกว่าวันละ 162 ราย จะมีผู้เสียชีวิตสะสมเกินกว่า 1 หมื่นราย
1
อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขดังกล่าวจะดูว่ามีค่อนข้างมาก แต่เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับประเทศในยุโรป ซึ่งมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกัน เช่น อังกฤษและฝรั่งเศส
2
ก็จะพบว่าตัวเลขของประเทศไทย ยังดีกว่ามาก เพราะอังกฤษและฝรั่งเศสติดเชื้อไปแล้วประเทศละ 6 ล้านราย และเสียชีวิตไปแล้วประเทศละกว่า 1 แสนราย
1
โดยฝรั่งเศส
ติดเชื้อ 6,310,933 ราย
เสียชีวิต 112,288 ราย
ประชากร 65.43 ล้านคน
1
ส่วนอังกฤษ
ติดเชื้อ 6,094,243 ราย
เสียชีวิต 130,357 ราย
ประชากร 68.27 ล้านคน
1
เมื่อเปรียบเทียบกับของประเทศไทย
ติดเชื้อ 795,951 ราย
เสียชีวิต 6588 ราย
ประชากร 69.99 ล้านคน
1
Reference
ศูนย์ข้อมูล โควิด-19
โฆษณา