10 ส.ค. 2021 เวลา 15:38 • หุ้น & เศรษฐกิจ
มีโอกาสไหม ที่ประเทศไทยจะ GDP ติดลบ 2 ปีติดกัน?
6
ช่วง 2-3 สัปดาห์ มีเพื่อนๆถามผมว่า เราจะหาทางออกจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ได้อย่างไร แล้วจนถึงตอนนี้ เป็นไปได้ไหมที่ไปๆมาๆ จะกลายเป็นว่า GDP ของประเทศไทยเราจะกลับไปติดลบอีกรอบ
3
ผมว่าเป็นคำถามที่น่าสนใจ ในฐานะนักลงทุนที่บริหารพอร์ต และรักษาเงินต้น หากมันมีความเสี่ยงแบบนั้นจริง ก็เตรียมกลยุทธ์รับมือกันไว้
2
1. อย่างที่เรารู้กันว่า สภาพัฒน์ได้มีการเปิดเผยตัวเลข GDP ปีที่แล้ว (ปี 2020) ออกมา หดตัว -6.1% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในรอบ 22 ปีนับจากวิกฤติต้มยำกุ้งเลยทีเดียว และแน่นอนว่าสาเหตุหลัก มันเป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจภายในประเทศ
3
2. ซึ่งตอนปลายเดือนธ.ค. ตอนนั้น กนง. ก็มองในแง่ดี ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2021คาดว่าจะฟื้นตัว 3.2% (แต่ก็ปรับลดจากที่คาดว่าจะอยู่ระดับ 3.6% ก่อนหน้านี้) สาเหตุหลักเป็นผลจาก การปรับลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งเดิมคาดว่าจะอยู่ที่ 9 ล้านคน แต่ประมาณการใหม่ปรับลดลงมาอยู่ที่ 5.5 ล้านคน จุดสำคัญคือ ตอนนั้น กนง. มองว่า จะเริ่มเห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มเดินทางเข้ามาในประเทศช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้
3. แต่พอเราเจอการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ กนง. ก็ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงอย่างต่อเนื่อง เดือนม.ค. ปรับลดเหลือ 2.8% เดือนเม.ย. ปรับลดเหลือ 2.3% จนมาเดือนมิ.ย. ออกมาคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะโตเหลือ 1.8%
1
4. ไม่ใช่แค่ กนง. ที่มองเห็นความเสี่ยงขาลงของเศรษฐกิจไทย เพราะเมื่อสิ้นเดือนก.ค. ที่ผ่านมานี้เอง ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังแถลงข่าวประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2021 ว่า "เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะขยายตัวที่ 1.3% (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 0.8% ถึง 1.8%)
5. ไปดูฟากเอกชนว่ามองเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างไรกันบ้าง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกรายงานเมื่อวันที่ 19 ก.ค. ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือโตแค่ 1% จากเดิมคาด 1.8% ให้เหตุผลว่า การระบาดของไวรัสโควิด-19 มีความรุนแรงขึ้น กระทบ ธุรกิจ-จ้างงาน ลามฉุด กำลังซื้อ-ความเชื่อมั่นผู้บริโภค
2
6. มาวันที่ 2 ส.ค. วิจัยกรุงศรี คาดการณ์ GDP ปีนี้จะขยายตัว 1.2% (เดิมคาด 2.0%) ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงและยาวนานกว่าคาด และจากแบบจำลองชี้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันจะลดลงต่ำกว่า 1,000 ราย ในเดือนพฤศจิกายน สะท้อนมาตรการควบคุมยังคงดำเนินต่อไปจนถึงเดือนตุลาคม นั่นแปลว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศจะยังคงซบเซาไปซักระยะ
6. ซึ่งเป็นความเห็นที่ตรงกันกับ KKP Research ที่ได้เปิดเผยบทวิจัยเมื่อวันที่ 22 ก.ค. ประเมินว่าการระบาดระลอกปัจจุบันของไทยจะต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์อย่างน้อย 3 เดือนกว่าสถานการณ์จะบรรเทาความรุนแรงลง ส่งผลให้การเติบโตของการบริโภคทั้งปีติดลบ และกระทบต่อการคาดการณ์ GDP ในปี 2021 จากการเติบโตที่ 1.5% เหลือเพียง 0.5% แม้ว่าการส่งออกจะสามารถขยายตัวได้ดีขึ้นก็ตาม
2
7. และล่าสุด สัปดาห์ที่แล้ว เมื่อวันที่ 4 ส.ค. มีการประชุม กนง. กัน คณะกรรมการฯ มีมติ 4 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ 0.50% ขณะที่ 2 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% แสดงให้เห็นว่า ในมุมมองผู้กำหนดนโยบาย ก็เห็นความเสี่ยงขาลงของเศรษฐกิจ
ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ กนง. หั่นคาดการณ์ GDP ปี 2021 เหลือโต 0.7% จากเดือน มิ.ย. ที่ 1.8% ลงมาด้วย จากผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 มากกว่าที่ประเมินไว้
8. จากข้อ 1. ถึง 7. จะเห็นว่า สำนักวิจัยทั้งภาครัฐฯและเอกชนแข่งกันปรับลดเป้า GDP ลงมาเรื่อยๆ จนล่าสุด แม้แต่แบงก์ชาติเองก็มองว่า ปีนี้มีโอกาสโตได้น้อยกว่า 1% เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมุมมองเศรษฐกิจที่น่ากังวลแบบนี้ ก็สะท้อนออกมาที่ตลาดหุ้นไทยเช่นเดียวกัน โดย SET Index ทำจุดสูงสุดของปีไว้ที่ 1,642 จุด เมื่อกลางเดือนมิ.ย. ก็แกว่งตัวเป็น Sideway Down มาตลอดหลังจากนั้น จนมาวันนี้อยู่ต่ำกว่า 1,550 จุด
3
9. นับตั้งแต่ต้นปี ต่างชาติขายสุทธิในตลาดไทยมาแล้วแตะ 100,000 ล้านบาท เฉพาะตั้งแต่ต้นเดือนส.ค. ถึงเมื่อวานนี้ ก็ขายสุทธิไปแล้ว 10,500 ล้านบาท และนี่ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่เราเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่ารุนแรง ต่ำกว่า 30 บาท/ดอลล่าร์ เมื่อเดือนก.พ. อ่อนมาขึ้นมาที่ 33.47 บาท/ดอลล่าร์ ในตอนนี้
2
10. ซึ่งถ้าไป Zoom In หุ้นใน SET Index ดู จริงๆ จะพบว่า ดัชนี sSET 1 ปีที่ผ่านมา บวกไปถึง 61.75% ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกัน SET50 และ SET100 บวกได้แค่ 8.01% และ 10.30% ตามลำดับ สะท้อนว่า เป็นหุ้นเล็กที่พยุงตลาดให้ยังยืนเหนือ 1,500 จุด อยู่แบบนี้ รวมถึงหุ้นกลุ่มส่งออกที่ยังพอได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่าในช่วงที่ผ่านมา
4
11. ความเสี่ยงข้างหน้าที่น่ากังวลคือ การระบาดรอบนี้นอกจากไปกระทบภาคการท่องเที่ยว และการบริโภค ที่หนักอยู่เป็นทุนเดิมแล้ว ยังมีความเสี่ยงไปสะดุดที่ภาคการผลิตด้วย เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระดับสูงในจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม (ระยอง ชลบุรี) ทำให้เกิดการชะลอกำลังการผลิต และดูเหมือนการกระจายวัคซีนไปยังจังหวัดเหล่านี้ เป็นการกระจายตามสัดส่วน มากกว่าการให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจในภาพรวม
2
12. งานวิจัยหลายงานวิจัยเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้จะฉีดวัคซีนครบโด๊สไปแล้ว ก็ยังจำเป็นที่ประชาชนยังต้องฉีด Booster Shot อยู่ ดังนั้น นี่ก็เป็นอีกปัญหาที่ทำให้ไทยเราจัดหาวัคซีนมาให้ได้ตามเป้าของภาครัฐฯยังไม่ได้ เพราะมีการกักตุนวัคซีนของฝั่งประเทศผู้ผลิตเอาไว้ฉีดคนในประเทศตัวเอง จนเป็นที่มาทีทำให้ WHO ขอร้องให้อย่ากักตุนวัคซีน และควรกระจายวัคซีนไปยังวงกว้าง โดยเฉพาะให้กับประเทศกำลังพัฒนาที่ต่อสู้กับสายพันธุ์เดลต้าในตอนนี้
3
13. แต่ความหวังก็ยังพอมี เพราะทางสหรัฐฯก็รับลูก WHO ไป ปธน.โจ ไบเดน ออกมาแถลงว่า ปลายเดือน ส.ค. นี้ สหรัฐฯ จะเริ่มทยอยจัดส่งวัคซีน Pfizer อีก 500 ล้านโดสให้กับ 100 ประเทศที่มีรายได้ต่ำ (หลังจากที่บริจาคไปแล้ว 110 ล้านโดส ก่อนหน้านี้) ตามแผนจะจัดส่งครบถ้วนภายในเดือน มิ.ย. 2022
2
14. ขณะที่ฝั่งจีน ก็ไม่ยอมน้อยหน้า ปธน. สี จิ้นผิง ออกมาประกาศสัปดาห์ที่แล้ว ว่าจะบริจาควัคซีนต้ให้ทั่วโลก 2 พันล้านโดสภายในปี 2021 นี้ และจะบริจาคเงินจำนวนราว 3,330 ล้านบาทให้กับโครงการจัดสรรวัคซีนเพื่อประเทศกำลังพัฒนา COVAX ส่วนวัคซีนเหล่านี้ จากทั้งสหรัฐฯ หรือ จีน จะมาไทยเท่าไหร่ ก็ต้องมาลุ้นกัน
1
15. แน่นอนว่า วัคซีนไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ก็บรรเทาอาการเจ็บป่วยได้จริงจากข้อมูลในหลายๆประเทศ ซึ่งก็แปลว่า ฉีดให้เยอะ ดีกว่าไม่ได้ฉีดเลย เพราะจะช่วยลดภาระของแพทย์ในแนวหน้า และลดอัตราการเสียชีวิตได้ เปิดโอกาสให้เราผ่อนปรนมาตรการล็อคดาว์น ทำให้ภาคการผลิตกลับมาผลิตและค้าขายได้อีกครั้ง ในยามที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าเป็นโอกาสให้ผู้ส่งออกในเวลานี้
1
หากเราพลาดโอกาสนี้ GDP ของไทยในปี 2021 อาจจะกลับไปติดลบอีกปีก็เป็นไปได้
1
16. สำหรับตลาดหุ้นไทยเรา คงมีหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าพอจะช่วย SET Index ได้บ้าง แต่ความท้าทายคือ นับตั้งแต่เดือนพ.ค. เป็นต้นมา SET Index ตัว EPS Revision หรือ ประมาณการกำไรของหุ้นไทย ถูกปรับในอัตราที่ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดหุ้นอย่างสหรัฐฯ , ยุโรป หรือ ญี่ปุ่น มีการปรับประมาณการดีขึ้นมาตลอด และ EPS คาดการณ์ของ SET Index ยังห่างจากจุดเดิมปี 2019 ก่อนสถานการณ์โควิด-19 อยู่พอสมควรเลย
4
SET Index EPS Revision (%) จาก Bloomberg
ดังนั้น ยิ่งถ้า SET Index วิ่งขึ้น จะยิ่งแปลว่า ดัชนีวิ่งห่างจากปัจจัยพื้นฐานและห่างจากสถานการณ์ที่เราเจออยู่ตอนนี้มากขึ้นไปทุกที จะมีอะไรมาให้ความหวังเราได้บ้าง ก็ได้แต่หวังว่า เราจะมีจุดเปลี่ยนนะครับ
3
SET Index กับ EPS Forecast ล่าสุด จาก Bloomberg
Mr.Messenger รายงาน
โฆษณา